คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 3/2566 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 3/2566 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้อง 204 อาคารพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1.1 พัฒนาวิทยาลัยสู่อันดับ Top 50 ของมหาวิทยาลัยโลก ในสาขา Performing Arts จัดอันดับโดย QS World University Subject Rankings

1.2 โครงการพัฒนา Mahidol Music Connection

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

2.1 Health & Wellness

– Innovation in Health & Wellness โครงการดนตรี ผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Music Entrepreneurship and Innovation (MEI))

2.2 Structure & HR Resource

– การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โครงการพัฒนา Team Building สร้างทีมสัมพันธ์ ร่วมกันขับเคลื่อนวิทยาลัยสู่ TOP 50 และโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง Change Agent

2.3 แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

Inclusiveness โครงการส่งเสริมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ด้วยพลังดนตรีสร้างเสริมกิจกรรมและประสบการณ์ดนตรีที่หลากหลายเพื่อการขับเคลื่อนสังคมให้เข้มแข็งและสร้างสุขภาวะที่ดี ดนตรีเพื่อพัฒนาสุขภาวะทุกช่วงวัย

Sustainable City & Community (Climate change)

โครงการพัฒนาด้านดนตรีบำบัดสำหรับการฟื้นฟูสมรรภาพด้านการแพทย์

– โครงการสนับสนุนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองนครปฐมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สาขาดนตรี ของ UNESCO

– โครงการพัฒนา ส่งเสริมประสบการณ์ทางด้านดนตรี (Side by side , City Line Music Stations, Salaya Tiny young)

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

การศึกษา

  1. โครงการพัฒนาระบบทุนการศึกษา (ทุนเปรมดนตรี)

การวิจัย

  1. ศึกษาและวิจัยองค์ประกอบดนตรีที่มีผลต่อสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง และทดสอบองค์ประกอบดนตรีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงในเด็กและเยาวชน
  2. โครงการพัฒนา Artistic research

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. โครงการสนับสนุนความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองนครปฐมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สาขาดนตรีของ UNESCO

Campus Operations

  1. 1. โครงการพัฒนาการบริหารทรัพยากรกายภาพที่มีประสิทธิภาพและสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน