วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๖/๒๕๖๔ ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ (ปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔)
-
๑. ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย
– สร้าง MU –MRC และกลุ่มนักวิจัยสำเร็จรูปให้ได้ ๖ กลุ่ม (Flagship 1)
– พัฒนาและวางระบบศูนย์เครื่องมือวิจัยกลางศาลายา ให้รองรับการทำวิจัย โดยใช้เทคนิคระดับสูง โดยการเพิ่มเครื่องมือที่จำเป็นให้เพียงพอและทันสมัย คล่องตัว
– การเพิ่มการขอทุนจากต่างประเทศ
– แก้ไขระเบียบการบริหารเงินทุนวิจัย
๒. ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา
– สามารถเปิดหลักสูตรที่เป็น Flexi Education ได้สำเร็จ (Flagship 2)
– จัดทำ Mahidol University Credit Unit Bank System ได้แล้วเสร็จและสามารถวางระบบเชื่อมโยงกับทุกส่วนงานได้สำเร็จ (Flagship 2)
– วางระบบการพัฒนานักศึกษาให้เป็น Global Talent ผ่านแนวคิด MU-HIDEF ให้แล้วเสร็จ
– ร้อยละ ๑๕ ของหลักสูตรได้รับ International Accreditation
๓. ยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการ
– มี Platform ระบบบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย (Flagship 3)
– ผลักดันให้มีนโยบายชี้นำสังคมจากมหาวิทยาลัยมหิดล (Flagship 3)
– หน่วยบริการวิชาการที่ได้รับรองมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ
๔. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการยั่งยืน
– ผลักดันให้มหาวิทยาลัยได้ TQC Plus
– สร้าง Global Talent Platform ด้านการวิจัยให้แล้วเสร็จ (Flagship 4.1)
– อันดับ Green University Ranking ไม่ต่ำกว่าอันดับ ๘๐
– ได้รับการประเมิน ITA อยู่ในระดับ A
– ได้รับการจัดอันดับ THE Impact Ranking ไม่ต่ำกว่าอันดับ ๓๐๐
– Digital Convergence University มีความสำเร็จถึงร้อยละ ๗๐
– สร้างความเข้มแข็งให้กับ Joint Unit ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อตอบโจทย์ Multidisciplinary และ International
– Collaboration กับ Strategic Partner
– จัดตั้ง Mahidol Endowment Fund ให้สำเร็จ (Flagship 4.2)
– จัดตั้ง Ranking Unit
– จัดทำฐานข้อมูล BI ได้ร้อยละ ๖๐
– EBITDA เป็นบวกทุกส่วนงาน
เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า ได้แก่
๑. ผลักดันอันดับ Ranking ของมหาวิทยาลัยระดับโลก อยู่ในอันดับ ๑-๑๐๐ ของ Subject Ranking สาขา Medicine และ Pharmacy & Pharmacology อยู่ในลำดับที่ ๑๐๑-๒๐๐ ของ THE Impact Rankings
๒. สนับสนุนให้กลุ่มนักวิจัยสำเร็จรูปผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสูง และได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Q1
๓. สนับสนุนผลงานวิจัยตีพิมพ์ทางด้านสังคมศาสตร์ฯ
๔. ผลักดันให้หลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
๕. การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ตามเกณฑ์ MUPSF
๖. มาตรฐานที่ถูกสร้างโดยมหาวิทยาลัย
๗. การดำเนินการ Central Operating System
๘. ข้อมูลด้านการเงินแบบ Real time
๙. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Talent Management)
ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมอธิการบดี และทีมบริหารที่ร่วมแรงร่วมใจบริหารมหาวิทยาลัยได้ก้าวหน้าอย่างดียิ่งในทุกพันธกิจ และขอให้มหาวิทยาลัยปลูกฝัง Sustainable Development Goals เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกด้านให้แก่นักศึกษาและบุคลากรทุกระดับ และนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่สนใจของตลาดให้ทันต่อความต้องการ เช่น กระชายขาวต้านโควิด ชุดตรวจ Antigen Test Kit และวัคซีน covid-19 เป็นต้น รวมทั้ง การสร้างระบบ/กระบวนการความร่วมมือระหว่างส่วนงานเพื่อผลิตผลงานวิจัยและวิชาการร่วมกัน และดำเนินการแก้ปัญหาความล่าช้าการบริหารจัดการเงินทุนวิจัย พิจารณากฏระเบียบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล การนับอายุงานจริงตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย จัดตั้งโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษา เพื่อเป็นสวัสดิการการศึกษาแก่บุตรหลานของบุคลากร นอกจากนี้ สนับสนุนและเสนอการต่อยอดพัฒนา Application WE MAHIDOL ให้เป็น EDUCATION LIFE และผลักดันให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ควรเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งทางวิชาการให้มากยิ่งขึ้น