สภามหาวิทยาลัยมหิดล แสดงความยินดีแก่มหาวิทยาลัยมหิดล และส่วนงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ประจำปี 2566

วันที่ 20 มีนาคม 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีแก่ส่วนงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ประจำปี 2566 ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 602 ณ ห้อง Grand Auditorium คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

โดยในปี 2566 มีส่วนงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ประจำปี 2566 ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่น ด้านการปฏิบัติการ (Thailand Quality Class Plus : Operation) โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับมอบช่อดอกไม้ และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิงวิรงค์รอง เจียรกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับมอบช่อดอกไม้

พร้อมนี้ สภามหาวิทยาลัยมหิดลร่วมแสดงความยินดีแก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสที่ได้รับรางวัล Leadership Excellence Award จากสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

ประกาศรับสมัครการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย จากคณาจารย์ประจำ

  • ระเบียบการดำเนินการคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ พ.ศ. ๒๕๖๗
  • ประกาศคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับสมัคร และการลงคะแนน แบบออนไลน์ E-Vote พ.ศ. ๒๕๖๗
  • ประกาศคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ เรื่อง แก้ไขหลักเกณฑ์การรับสมัคร และการลงคะแนน แบบออนไลน์ E-Vote พ.ศ. ๒๕๖๗ (ฉบับแก้ไข)
  • ประกาศคณะกรรมการดำเนินการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ พ.ศ. ๒๕๖๗
  • ใบสมัครรับเลือกตั้ง
  • ใบสมัครรับเลือกตั้ง
  • โปสเตอร์ เชิญชวนลงคะแนนเลือกตั้งตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัย จากคณาจารย์ประจำ

ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดี แก่ นายกสภามหาวิทยาลัย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมแสดงความยินดี กับ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสที่เข้ารับพระราชทานปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปี พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 601 (2/2567) ณ ห้องประชุม Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง ESG เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (ด้านนวัตกรรม) ในโอกาสมาบรรยาย เรื่อง ESG เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 601 (2/2567) ณ ห้องประชุม Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Sustainable Development Goals กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Sustainable Development Goals กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 ซึ่งสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 8 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการโครงการฯ โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เกียรติเข้าร่วมงาน พร้อมด้วย บุคลากรของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานในสำนักงานอธิการบดี เข้าร่วมการอบรม จำนวนทั้งสิ้น 226 ราย ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ในการอบรมครั้งนี้ มีการบรรยายหัวข้อ “ยุทธศาสตร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล การบรรยายหัวข้อ “ความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน” โดย คุณสุกิจ อุทินทุ ผู้อำนวยการคนแรกขององค์กรรัฐมนตรีศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน หรือ SEAMEO SEPS และการบรรยายหัวข้อ “การจัดการองค์กรการศึกษาเพื่อความยั่งยืน” โดย ดร.ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์ นักวิชาการด้านการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute : TDRI) จากนั้น มีการเสวนา หัวข้อ “จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ Campus Operations” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา สุจริตกุล อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.พงษ์กรณ์ วีรพิพรรธน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณมนัสชาย ประเดิมชัย หัวหน้างานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับในช่วงท้ายเป็นการทำ Workshop แบ่งกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ความรู้พื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน “ทำไมต้องยั่งยืน/Road to Sustainable Organization” ESG กลุ่มที่ 2 ความยั่งยืน “การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสังคม/ความยั่งยืนในกรอบ ESG/ประเด็นความท้าทายของการพัฒนาที่ยั่งยืน” กลุ่มที่ 3 ระดมไอเดีย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มที่ 4 สรุปประเด็นที่ผู้เข้าอบรมสนใจ และกลุ่มที่ 5 พัฒนาโครงการ

การอบรมฯ ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายของสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (From Vision to Action) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสร้างเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมสร้างศักยภาพและองค์ความรู้เพื่อสามารถเชื่อมโยงกับพันธกิจที่เกี่ยวข้องในระดับหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง สามารถจัดทำโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนงาน มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ