คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 6/2566 ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 6/2566 ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมกระแส ชนะวงศ์ ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. หลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ได้รับ Global Accreditation (AUN-QA)
  2. จัดตั้ง ASEAN Primary Health Care Research and Information Centre (APRIC) เพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัยและฐานข้อมูลด้านการพัฒนา PHC ในภูมิภาคอาเซียน
  1. ขับเคลื่อนการทำงานภารกิจสุขภาพโลกมหิดลอย่างเป็นรูปธรรม (MUGH) และสนับสนุน ให้เกิด School of Global Health and Health Policy (SGHP)
  1. จัดตั้ง Mahidol Active Ageing Policy Watch Centre (MAPC) และเสนอนโยบายฯ เพื่อสุขภาพ Active Ageing ในนามของมหาวิทยาลัยมหิดล
  1. สนับสนุนให้เกิดการใช้เครื่องมือ Healthy University Rating System (HURS) ที่ริเริ่มโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ในเครือข่ายสมาชิกของ ASEAN University Network–Health Promotion Network (AUN-HPN) และระดับนานาชาติ
  1. ผลักดัน Journal of Public Health and Development ของสถาบันฯ ให้อยู่ใน Scopus

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health

  • เปิด Global Health Special Track ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะนี้มีนักศึกษาปริญญาเอกจำนวน 2 คน ที่มาศึกษาในหลักสูตร โดยได้รับทุน MUGH
  • เปิดรายวิชา Digital Health และ Climate Change Adaptation ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเปิดสอนในภาคเรียนที่ 2/2566

2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

  • สถาบันฯ จะร่วมสอนในหลักสูตร Health & Wellness

3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

  • เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการด้วยแผน Strategic HR ปรับอัตราบุคลากรให้เหมาะสมกับภาระงาน

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Capacity Building

  • พัฒนากำลังคนด้าน Primary Health Care ในประเทศ CLMV และกลุ่ม Ethnics โดยสนับสนุนทุนการศึกษาจาก International Partner

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

การศึกษา

  1. พัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สอดคล้องกับ SDGs

การวิจัย

  1. มุ่งเน้น Issue Based เรื่อง Primary Health Care Management and Global Health

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. สำนักงานเลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN ดำเนินการโครงการ “การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ” เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน
  2. การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในระบบสุขภาพเพื่อการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ “การเพิ่มสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยการเรียนรู้ร่วมกัน ในการปฏิบัติท่ามกลางความเป็นจริง

Campus Operations

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรและมีหลักธรรมาภิบาล