คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 12/2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 12/2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. มุ่งหมายเป็นอันดับหนึ่งด้านวิจัยวิทย์ของประเทศ เพื่อชี้นำสังคม รวมถึงสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ
      2. มุ่งสร้างบัณฑิตที่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สร้างการศึกษา One Mahidol Science Education ทั้งนักศึกษา วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาหลักสูตรผ่านการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และหลักสูตรยืดหยุ่นระดับปริญญาตรี โดยมีระบบการสอบ AI-based aptitude test
      3. การสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะและใช้ความรู้เพื่อประโยชน์สังคม เพิ่มรายได้จากนวัตกรรม การบริการวิชาการ
      4. Digital Transformation สู่องค์กรที่บริหารจัดการโดยข้อมูลทั้งการศึกษา วิจัยและการดำเนินการ มุ่งจะได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2565 และมีการบริหารจัดการแบบ SDGs-oriented operations
      5. นำ Digital Technology มาใช้เพื่อการศึกษาแบบ hybrid พัฒนาระบบการสอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์
      6. Mahidol Downtown Campus เป็นพื้นที่รวมนวัตกรรมและวิทยาการของคณะวิทยาศาสตร์และพันธมิตร

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Structure & HR Resource
1.1 การปรับโครงสร้าง
      – การบริหารองค์กรรูปแบบใหม่ ลดระดับชั้น มีแผนการปรับโครงสร้างเพื่อความยั่งยืนขององค์กร เช่น ให้มีงานพัฒนาทุนมนุษย์ งานยุทธศาสตร์องค์กร งานการเงิน งานเอกชนสัมพันธ์ และสังคมสัมพันธ์ เป็นต้น การสร้างระบบองค์กรให้สนับสนุนกันและกัน เกิดวัฒนธรรมความร่วมมือ
1.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ให้เป็นมืออาชีพ มีบทบาทในการพัฒนาตนและขับเคลื่อนองค์กร ปรับเพิ่มความสามารถทางภาษาของบุคลากรตั้งแต่แรกรับ และนโยบาย Global Talent ในองค์กรให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย
      – การให้โอกาสและการสร้างคนเพื่อสืบทอดตำแหน่งงาน
      – พัฒนา “คน” เพื่อสร้างองค์นวัตกรรม Innovative organization

2. Social Enterprise
2.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – Mahidol Science Corporate Engagement and Innovation การพัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทเอกชน องค์กรภาครัฐ และการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อผลิตภัณฑ์/บริการเพื่อสังคม เช่น ผลิตภัณฑ์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร พืช และสมุนไพรต่าง ๆ

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
3.1 Inclusiveness
      – One Education Science
      – Disability Facilities ทั้งคณะวิทยาศาสตร์ พญาไท และศาลายา เช่น ห้องน้ำ ลิฟต์ ทางลาด รถเข็นไฟฟ้า การสื่อสารโดยใช้ภาษามือ
      – กิจกรรม Pride Month เพื่อความเท่าเทียมทางเพศสภาพ กิจกรรมนักเรียนผู้มีความพิการทางการได้ยิน
3.2 Capacity Building
      – MUSES: Mahidol University Science Education Space เพื่อสนับสนุน/พัฒนาด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์
      – โครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การจัดกิจกรรมเพื่อนักเรียนและครูระดับมัธยม เช่น Sci-Access, MAS camp, STEM workshop รวมถึง Mahidol Science School Network
      – โครงการสื่อสารวิทยาศาสตร์ Mahidol Science Communication ผ่าน Plain-Language Summary
      – การส่งเสริมการศึกษา/วิจัย ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เช่น การอบรม การศึกษาต่อ การทำวิจัยร่วม
3.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – การอบรมเชิงปฏิบัติการ “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน
      – พลังงานยั่งยืน Solar roof @ Faculty of Science

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – SDG4 Quality education: การจัดตั้ง MUSES เพื่อจัดการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาอย่างเป็นระบบร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นระบบ Adaptive aptitude test, Mahidol online test center, hybrid biosafety training/ coding for all เป็นต้น
      – SDG10 ลดความไม่เสมอภาค โดยการให้ทุนนักศึกษาในกลุ่มขาดแคลน

การวิจัย
      – สนับสนุนกลุ่มงานวิจัยที่ตอบสนอง SDGs โดยเฉพาะ SDG3 Good health and well-being, SDG7 Clean and affordable energy, SDG14 Life below water, SDG15 Life on land, SDG13 Climate Action เป็นต้น

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – SDG8 Decent work and economic growth โดยสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมยางธรรมชาติและพลาสติก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหารและสมุนไพร เป็นต้น

Campus Operations
      – SDG3 Good health and well-being ความปลอดภัย สุขภาพ และคุณภาพชีวิตในองค์กร SDG 5 บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ SDG7 Affordable and clean energy SDG10 ลดความไม่เสมอภาค การจ้างงานผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้พิการ SDG11/17 Sustainable cities and communities/Partnership for the goals ความร่วมมือกับภาคสังคม เช่น การอบรมรุกขกรปฏิบัติการ และโครงการ City Nature Challenge 2023