คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 13/2566 ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 13/2566 ของคณะเภสัชศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. ผลงานวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เรื่อง/คน/ปี และมีจำนวนการอ้างอิงเฉลี่ย 10 ครั้ง/เรื่อง
      2. ผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่ท้องตลาดทั้งโดยตรงและผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่บนความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ และให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย
      3. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก AUNQA และ ACPE เป็นหลักสูตรแรกของไทย
      4. หลักสูตร PharmD (International) เริ่มดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2566
      5. โรงงานยาของคณะเริ่มเปิดดำเนินการปี พ.ศ. 2566
      6. ร่วมกับส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – การบูรณาการฐานข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์ร่วมกับสารสนเทศทางการสาธารณสุข สำหรับการป้องกันการแพ้ยาที่รุนแรง ในการให้บริการในระบบสาธารณสุข (ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) เพื่อนำไปใช้กับ application หมอพร้อม
1.2 Global Health Governance
      – Health Technology Assessment to support universal health coverage across the globe

2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – ร่วมประชุมกับมหาวิทยาลัยในการจัดทำหลักสูตร Health & Wellness และพร้อมส่งมอบอาจารย์และรายวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยจะจัดทำ

3. Social Enterprise
3.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน (ลพบุรี กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ)

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
4.1 Healthy Foods
      – กลุ่มโครงการอาหารทางการแพทย์ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าว
4.2 Inclusiveness
      – โครงการศึกษาสถานการณ์การจัดบริการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดระบบข้อมูลเพื่อการให้บริการของประเทศไทย และต่างประเทศ
      – การสำรวจค่าใช้จ่ายการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทยและภาวะวิกฤตทางการเงินต่อผู้ป่วยและครอบครัวแบ่งตามระดับความยากจน
4.3 Capacity Building
      – Capacity Building Training on Health Technology Assessment for Low-to-middle-income countries (LMIC)
4.4 Sustainable City & Community (Climate change)
      – โครงการ “น่าน Sandbox” ผลักดันสมุนไพรสู่การสร้างเศรษฐกิจเพื่อลดความยากจนและรักษาสิ่งแวดล้อม
      – กลุ่มโครงการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านและการใช้พืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทยและจากชั้นตะกอนดินในแหล่งโบราณคดี

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – การพัฒนาวิชาการศึกษาทั่วไป “สมุนไพรในชีวิตประจำวัน” สำหรับนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยที่สนใจ (ปัจจุบันแล้วเสร็จไป 2 modules)
      – รายวิชา “สมุนไพรในชีวิตประจำวัน” บน Platform MUx เพื่อสนับสนุน life-long learning ของประชาชน

การวิจัย
      – การวิจัยเพื่อสนับสนุน universal health coverage และ reimbursement policies ของไทยและกลุ่มประเทศ Low-to-middle-income countries (LMIC)
      – การวิจัยเพื่อการกำหนดมาตรฐานสมุนไพรไทยสนับสนุนการขยายตัวของ Thai Herbal Pharmacopoeia และเพิ่มจำนวนสมุนไพรในบัญชียาสมุนไพรแห่งชาติ
      – โครงการฐานข้อมูล chromatographic fingerprint สมุนไพรและตำรับยาสมุนไพรไทย ด้วยเทคนิค LC-MS/MS
      – โครงการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาเชื้อดื้อยาและการจัดการ

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการ Herbal Appreciation (เผยแพร่ความรู้เรื่องสมุนไพร เพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับพืชสมุนไพร และให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยพืชสมุนไพร)
      – การผลักดันให้ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายสมุนไพร) ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC: 17025:2017 เพื่อยกระดับการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
      – ฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก (ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
      – ฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน