นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๔ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์

วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๔ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสัตวแพทยศาสตร์ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สนับสนุนการผลิตสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ให้กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
๒. โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร และ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน มุ่งสู่มาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๓. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้ประกันคุณภาพระดับ AUN-QA และมุ่งสู่การได้รับ AVBC
๔. การเปิดหลักสูตร Residency Training ทางด้าน Veterinary Medicine
๕. สนับสนุนงานวิจัยที่มี Impact ในทุกมิติ
๖. การดำเนินโครงการ OIE Twinning Program ร่วมกับ The USGS-National Wildlife Health Center
๗. โครงการพัฒนาด้าน Infrastructure

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ผลักดันหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา อย่างน้อย ๑ หลักสูตรให้ได้การรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA
๒. ส่งเสริมความเป็นนานาชาติผ่านกิจกรรมทั้งรูปแบบ online และ onsite ให้แก่นักศึกษา
๓. โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร และ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน มุ่งสู่มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 และมาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๔. ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ และศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025
๕. พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลและเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (I-med) เพื่อเชื่อมข้อมูล ๒ โรงพยาบาลสัตว์ และ ๒ ศูนย์
๖. พัฒนาการใช้พื้นที่และเพิ่มศักยภาพบริการวิชาการเพื่อเพิ่มรายได้ และสนับสนุนงานวิจัยและการเรียนการสอน

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมแนวทางการดำเนินงานของคณะสัตวแพทยศาสตร์ในด้านต่างๆ ซึ่งมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และมีเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ อาทิ สร้างความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์เพื่อเพิ่มบทบาทด้าน One Health ในระดับนานาชาติ กำหนดยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลสัตว์ให้ชัดเจน เพื่อสร้างรายได้ และเป็นแหล่ง Training Program ทั้งในระดับประเทศและอาเซียน ดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เกี่ยวกับสัตว์ และการทดลองในสัตว์ใหญ่ รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจน เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน