นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. จัดตั้ง Secretariat Office for Asia Pacific Regional Technical Facility on Social Health Protection (CONNECT)
๒. สนับสนุน AUN-HPN จัดทำ Healthy University Rating System
๓. พัฒนาวารสาร Journal of Public Health and Development เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. หลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ได้รับ Global Accreditation (AUN-QA, ILO, องค์กรประกันคุณภาพด้านการศึกษา
๒. จัดตั้ง ASEAN Primary Health Care Research and Information Centre (APRIC) เพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัยและฐานข้อมูลด้านการพัฒนา PHC ในภูมิภาคอาเซียน
๓. ขับเคลื่อนการทำงานภารกิจสุขภาพโลกมหิดลอย่างเป็นรูปธรรม (MUGH) และสนับสนุนให้เกิด School of Global Health and Health Policy (SGHP)
๔. จัดตั้ง Mahidol Active Ageing Policy Watch Centre (MAPC) และเสนอนโยบายฯ เพื่อสุขภาพ Active Ageing ในนามของมหาวิทยาลัยมหิดล
๕. สนับสนุนให้เกิดการใช้เครื่องมือ Healthy University Rating System (HURS) ที่ริเริ่มโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในเครือข่ายสมาชิกของ ASEAN University Network – Health Promotion Network (AUN-HPN) และระดับนานาชาติ
๖. ผลักดัน Journal of Public Health and Development ของสถาบันฯ ให้อยู่ใน Quartile ระดับสูง

ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยมหิดล ชื่นชมสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนว่ามีการพัฒนาทั้งด้านการวิจัย วิชาการ โดยสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเสนอให้สถาบันฯ เพิ่มความร่วมมือกับ UNICEF, UNESCO และ ASEAN Centre for Active Ageing and Innovation (ACAI) นอกจากนี้ สถาบันฯ มีจุดเด่นและความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยและงานบริการวิชาการ จึงเสนอแนะให้ทำวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ (Outside In) สร้างผลงานที่ชี้นำสังคม เพื่อไปสู่การเป็นผู้นำทางด้าน Health Policy ในระดับอาเซียนต่อไป ในส่วนหลักสูตรของสถาบันฯ สภามหาวิทยาลัยฯ เสนอให้ผลักดันหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเสพติด ให้เป็น Master of Science (MSc) และควรกำหนดนโยบายการรับนักศึกษาในภูมิภาคอาเซียนเพื่อเข้าศึกษาใน School of Global Health and Health Policy (SGHP) ให้ชัดเจน และให้สร้างความร่วมมือกับ Prince Mahidol Award เพื่อสร้างเครือข่าย รวมทั้งควรกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs โดยให้มีการดำเนินงานเรื่อง SDGs ร่วมกับวิทยาลัยการจัดการ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๖/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์

วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๖/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี  ดร. ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
  1. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล
  2. พัฒนา City of Music เพื่อเสนอเข้าเป็น Creative Cities ตามหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO)
  3. ส่งเสริมนวัตกรรม ดนตรีบำบัด และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดนตรี
  4. The International Benchmarking Exercise (IBE) ซึ่งดำเนินงานร่วมกับสถาบันดนตรีแนวหน้าระดับนานาชาติ
เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
  1. พัฒนาวิทยาลัยสู่อันดับ Top ๕๐ ของมหาวิทยาลัยโลก ในสาขา Performing Arts จัดอันดับโดย QS World University Subject Rankings
  2. โครงการพัฒนา Mahidol Music Connection
ทั้งนี้ ทางสภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้ชื่นชมวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ที่สามารถสร้างเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าวิทยาลัยฯ ได้รับการจัดอันดับทางด้าน Performing Arts อยู่ในอันดับที่ ๕๑-๑๐๐ ของโลก (QS World University Ranking by Subject 2021)  พร้อมทั้ง เสนอการผลักดันดนตรีไทยไปสู่ระดับนานาชาติ และเปิดโอกาสการเข้าถึงดนตรีไทยผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ และการเปิดสอนหลักสูตรให้นักศึกษาไทยและต่างชาติสามารถเก็บหน่วยกิต เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา นอกจากนี้ การที่วิทยาลัยฯ มีผลงานลิขสิทธิ์จำนวนมาก สามารถนำผลงานดังกล่าวมาสร้างรายได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนแก่วิทยาลัยฯ และเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทางสภาฯ แนะให้วิทยาลัยฯ กำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขอบคุณภาพประกอบข่าว (เพิ่มเติม) จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑.ผลักดันหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ให้ได้รับการรับรอง AUN-QA
๒. สนับสนุนบุคลากรในส่วนงานให้เข้าสู่ตําแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น
๓. ทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ
๔.ผลักดัน Startup / Business Development Unit (BDU) โดยขยายขอบเขตการดำเนินงานไปสู่ AI Robot, Neuroscience, Transformative Education ซึ่งจะทําให้มี Short Course เพิ่มขึ้นอีก ๒ หลักสูตร ภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ (หลักสูตร Neuro Leadership, หลักสูตร Neuro Marketing)
๕. Modular Course Design จํานวน ๒ วิชา ภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ เช่น วิชา Measurement and Evaluation in Education และ วิชา Psychology and Philosophy for Education

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. พัฒนาหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกภาคพิเศษแบบออนไลน์
๒. ผลักดันให้เกิดหลักสูตรแบบ Double Degree จำนวน ๒ หลักสูตร
๓. ผลักดันงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศให้มากขึ้น
๔. พัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้
๕. พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) แบบออนไลน์
๖. ปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของอาคารศูนย์ศาลายา ให้เป็น Digital Innovative Learning Complex

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ในเรื่องการจัดอันดับจากผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ให้อยู่ในอันดับ ๑ ของประเทศ ติดต่อกัน ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๓) พร้อมทั้งเสนอให้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการเรียนรู้ สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศและส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารของคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ณ Innogineer Maker Studio ชั้น ๑ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Webex Meeting

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สามารถดำเนินโครงการ Salaya Start Up Town เพื่อมุ่งสู่การเชื่อมโยงและส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ Medical Device, Robotics and Automation, AI and Digital และ Biorefinery ซึ่งรองรับนโยบาย BCG และ EEC
๒. มีการพัฒนายกระดับขีดความสามารถทางด้านหลักสูตรการศึกษาให้ทัดเทียมและแข่งขันได้ในระดับสากล และมุ่งสู่การได้รับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET)
๓. ร่วมสนับสนุนและรองรับแผนพัฒนา EEC โดยช่องทางโครงการ EECi ของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้แก่ ความร่วมมือกับ อมตะ คอร์ป

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า ได้แก่
๑. Salaya Smart Liveable City
๒. ABET: The 1st ABET Engineering Education in Thailand
๓. MUEG and EECi / Amata Corp Collaboration for EEC National Strategy
๔. Mahidol Engineering: The Leading of Council of Engineering Deans toward Thailand Engineering Platform
๕. World RoboCup 2022: A Mega Event for Promoting Mahidol and International Industrial Collaboration
๖. Healthcare and Medical Innovation Hub: Policy, R&D, Standard and Testing, and Commercialization
๗. Interdisciplinary Education for New Generation Engineers and Innovators

ทั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้ชื่นชมการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้รับการจัดอันดับที่ ๓ (Engineering and Technology) ของประเทศไทย จาก Times Higher Education 2021 และเป็นตัวอย่างที่ดีของมหาวิทยาลัยในด้านการสร้างความร่วมมือกับหลายส่วนงาน และมีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมให้ข้อเสนอแนะ อาทิ ให้มีหลักสูตรปริญญาโทควบปริญญาเอกมากขึ้น เพิ่มการมีส่วนร่วมกับ EEC รวมทั้งมีนโยบายที่ชัดเจนในการมีส่วนร่วมกับ Yothi-Medical-Innovation-District เป็นต้น

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยนานาชาติ

วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยนานาชาติ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สามารถสร้างความยั่งยืนขององค์กร และ ความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอน
๒. มีการพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ตอบสนองผู้เรียนยุคใหม่
๓. สามารถนำศักยภาพและความเชี่ยวชาญของบุคลากรมาบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน
๔. ได้ดำเนินการสร้าง Pathway Programs และความร่วมมือกับต่างประเทศ

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ความยั่งยืนขององค์กร: ส่งเสริมด้านสุขภาพ (Health) และความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) สร้าง Global Talent พัฒนาองค์โดยใช้ SDG principles สร้าง Value chain of iHE และ Data-driven Organization
๒. เป็นเลิศทางการเรียนการสอน – สร้างนวัตกรรมทางการศึกษา (Innovative Curriculum) เสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ของนักศึกษา และสร้าง Online courses (MUIC CONNECT)
๓. งานวิจัยและความร่วมมือ – สร้างจิตวิญญาณ ความมุ่งมั่น และความร่วมมือภายในวิทยาลัยในการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานวิจัย และกิจกรรมแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมแนวทางการดำเนินงานของวิทยาลัยฯ ในด้านต่างๆ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ อาทิ การรักษาศักยภาพความเป็น International College ชั้นนำของประเทศและภูมิภาค การพัฒนาหลักสูตรเป็น Flexible Education Platform และมุ่งดำเนินการทั้งในรูปแบบ Hybrid (Online/On campus และการฝึกประสบการณ์นอกห้องเรียน) สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ของบัณฑิตวิทยาลัย

วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ของบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงพัชรีย์ เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑.บัณฑิตวิทยาลัย สามารถผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. ๒๕๕๘
๒.สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ (อาเซียนและเอเชีย) มากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ
๓.มีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน จัดทำหลักสูตร Short Course Trainings และ MAP Soft Skills
๔.นำระบบดิจิทัล มาใช้ดำเนินการด้านการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา
๕.ปรับการบริหารจัดการระบบภายในส่วนงาน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑.มีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการผลิตหลักสูตรและบัณฑิต ที่ตรงกับความต้องการ
๒.ขยายการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาไปยังประเทศอาเซียน
๓.ขยายการดำเนินการ ด้านการจัด Short Course Trainings ในทุกสาขาวิชา
๔.ดำเนินการพัฒนา และจัดอบรม 21st Century Skills ให้นักศึกษาอย่างเป็นระบบ
๕.ระบบบริหารจัดการด้านการศึกษา มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น และเป็นระบบดิจิทัลมากกว่า ร้อยละ ๙๕
๖.บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย มากกว่าร้อยละ ๘๐ มีความพร้อมรับมือกับนโยบายและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการสร้างจุดเด่นของหลักสูตรบัณฑิตศึกษา เช่น ปรับรูปแบบ Internship เพิ่ม Short courses Online Degree /Non-degree และสามารถสะสม Credit ได้ เป็นต้น

Website MU : https://mahidol.ac.th/th/2021/council-visit-grad-2/

ติดตามข่าวสารบัณฑิตวิทยาลัย เพิ่มเติมที่ : www.graduate.mahidol.ac.th

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีบทบาทสำคัญระดับประเทศ ซึ่งคณะฯ กำลังดำเนินการถอดบทเรียน การบริหารจัดการ และการรับมือสถานการณ์ดังกล่าว
๒. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สืบสานพระราชปณิธานของรัชกาลที่ ๕ ในการเป็นโรงพยาบาลของผู้ยากไร้ โดยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และชี้นำสังคมได้อย่างโดดเด่น เช่น Smart Hospital อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา ระบบขนส่งสาธารณะภายใต้โครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช ฯลฯ
๓. เพิ่มการสื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบผลการดำเนินงานของศิริราชมากยิ่งขึ้น
๔. ในอนาคตคณะฯ สามารถเพิ่มรายได้จากนวัตกรรม ด้วยความพร้อมทั้งบุคลากรและผลงานวิจัยระดับสูง โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล จะสร้างความร่วมมือเพื่อผลักดันให้นักวิจัยได้เข้าใจกระบวนการของนวัตกรรมต่อไป

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
๒. ระบบสารสนเทศบริหารการศึกษา SiCMS
๓. Siriraj Research Sandbox
๔.โครงการศิริราชสัปปายสถานเพื่อ การบริรักษ์
๕. โครงการอาคารรักษาพยาบาล และสถานีศิริราช

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะที่เป็นต้นแบบในทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย ประเทศชาติ และได้ยกระดับมาตรฐานไปสู่ระดับนานาชาติ

Website: https://mahidol.ac.th/th/2021/pa-visit-si-2/

ติดตามข่าวสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ www.uc.mahidol.ac.th ติดตามข่าวคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพิ่มเติมที่ www.si.mahidol.ac.th

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงผลสำเร็จของงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง “Cold Chain Logistics: การพัฒนาโซ่ความเย็นของวัคซีน COVID-19

๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงผลสำเร็จของงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง “Cold Chain Logistics: การพัฒนาโซ่ความเย็นของวัคซีน COVID-19 เพื่อควบคุมอุณหภูมิและติดตามสอบย้อนกลับในการขนส่งและเก็บรักษา” ในการแถลงข่าว เรื่อง “วิจัยและนวัตกรรมนำไทยสู้ภัย COVID-19” จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมใช้ และถูกนำไปใช้ประโยชน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แล้วในหลายด้าน ณ ห้องโถงชั้น ๑ อาคารอุดมศึกษา ๒ สำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา) ภายหลังการแถลงข่าว ได้มีพิธีส่งมอบนวัตกรรม “ห้อง ICU ความดันลบเคลื่อนที่สำหรับติดตั้งในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม” ให้แก่ ๕ องค์กรภาครัฐ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรมการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นผู้รับมอบ

Facebook: https://www.facebook.com/53202464011/posts/10161253625439012/

Website: https://mahidol.ac.th/th/2021/cold-chain-logistics/

ติดตามข้อมูลคณะวิศวกรรมศาสตร์เพิ่มเติม https://www.eg.mahidol.ac.th

การประชุมคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของอธิการบดี ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔

การประชุมคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของอธิการบดี ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ วันอังคารที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ ณ ห้อง ๕๑๕ สำนักงานอธิการบดี ชั้น ๕ มหาวิทยาลัยมหิดล

นายกรัฐมนตรี ฉีดวัคซีนโควิด 19 แอสตร้าเซนเนก้า หลัง WHO ยืนยันไม่เกี่ยวกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด

นายกรัฐมนตรี และอาจารย์แพทย์อาวุโส ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า หลังได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลกไม่เกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด พร้อมฉีดให้คณะรัฐมนตรีตามความสมัครใจ สร้างความมั่นใจประชาชน วันนี้ (16 มีนาคม 2564) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอาจารย์แพทย์อาวุโส รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเจรจาได้วัคซีนมาใช้ในระยะเร่งด่วนสำหรับฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 117,300 โดส พร้อมคณะรัฐมนตรีที่สมัครใจรับการฉีดวัคซีน นายอนุทินกล่าวว่า ในวันนี้ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำประเทศ แสดงเจตจำนงค์ที่จะรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน หลังได้รับการยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดจากองค์การอนามัยโลกและหน่วยงานกำกับคุณภาพยาของอียู โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมวัคซีนทั้งจากแอสตร้าเซนเนก้า และซิโนแวค เพื่อฉีดให้กับคณะรัฐมนตรีที่สมัครใจ และอาจารย์แพทย์อาวุโส อาทิ ศ.คลิกนิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นพ.ยง ภู่วรวรรณ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา นพ.โสภณ เมฆธน ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ให้กับผู้นำประเทศ และคณะรัฐมนตรี เนื่องจากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง มีการเดินทางและพบปะผู้คนจำนวนมาก ป้องกันการป่วยรุนแรง ลดโอกาสรับเชื้อและแพร่เชื้อ โดยมีทีมแพทย์จากสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค ให้บริการฉีดวัคซีนตาม 8 ขั้นตอนของระบบกระทรวงสาธารณสุข เริ่มจากการลงทะเบียนตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต คัดกรองความเสี่ยง รับการฉีดวัคซีน พักสังเกตอาการหลังฉีดเป็นเวลา 30 นาที มีแพทย์ประจำ และกรมการแพทย์ได้จัดรถพยาบาลพร้อมส่งต่อไปโรงพยาบาลราชวิถีในกรณีเหตุฉุกเฉิน มีการบันทึกชนิดวัคซีน ติดตามอาการหลังฉีดในวันที่ 1, 7 และ 30 การแจ้งเตือนการรับวัคซีนโควิดเข็มที่ 2 ทาง Line Official Account “หมอพร้อม” นายอนุทินกล่าวต่อว่า เมื่อคนในประเทศได้รับการฉีดวัคซีนมากขึ้นเท่าไหร่ประเทศจะยิ่งมีความปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ระบุไว้ว่า “Nobody is safe until everybody is safe จะไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าทุกคนปลอดภัย” และเป้าหมายของรัฐบาลคือทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนตามความสมัครใจ โดยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์จนถึงวันนี้ มีผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 1 แล้วกว่า 50,000 ราย ใน 13 จังหวัด คาดว่าจะฉีดครบร้อยเปอร์เซนต์ในสัปดาห์นี้ตามเป้าหมาย และจะได้รับวัคซีนมาเพิ่มเป็นระยะ ฉีดให้ครบ 63 ล้านโดส ภายในปี 2564 รวมทั้งได้มีการเจรจาขอซื้อวัคซีนซิโนแวคอีก 5 ล้านโดส ขอเชิญชวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายมารับการฉีดวัคซีนตามนัด สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อให้ประเทศปลอดภัย เศรษฐกิจเดินหน้าได้ทุกคนกลับมายิ้มด้วยกันอีกครั้ง ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโควิด 19 กล่าวว่า สำหรับแผนการกระจายวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เบื้องต้นจะเริ่มจาก 5 จังหวัดที่มีการฉีดให้กับประชาชนแล้ว คือจังหวัดสมุทรสาคร นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ เพื่อนำไปฉีดให้กับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีทุกกลุ่ม ทั้งประชาชน ผู้มีโรคประจำตัว บุคลากร ทางการแพทย์ และอสม. โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณา และจะขยายไปจังหวัดอื่นๆ ต่อไป ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีรายชื่อผู้ที่รับการรักษาในโรงพยาบาล และจากการสำรวจโดย อสม./ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถตรวจสอบรายชื่อเพื่อนัดหมายรับการฉีดจาก Line Official Account หมอพร้อม หากไม่พบรายชื่อ ในช่วงนี้ ให้แจ้งอสม. หรือสอบถามจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งวัคซีนจะทยอยส่งให้โรงพยาบาลเป็นล็อตๆ ตลอดปีนี้