สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2565 (วันที่สอง)

วันที่ 10 ตุลาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และประกาศนียบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันสมทบ ประจำปีการศึกษา 2565 เป็นวันที่สอง โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กราบบังคมทูลเบิก นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เข้ารับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2565 (วันแรก)

วันที่ 9 ตุลาคม 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันสมทบ ประจำปีการศึกษา 2565 เป็นวันแรก โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กราบบังคมทูลเบิกผู้ทรงคุณวุฒิเข้ารับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จำนวน 3 ราย ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ประเสริฐ โศภน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (กายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง) ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ ทันตแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อมร ลีลารัศมี แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (โรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน) พระราชทานเกียรติบัตรแก่ผู้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 4 ราย พระราชทานเกียรติบัตรแก่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ และศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ จำนวน 7 ราย พระราชทานปริญญาบัตรแก่พระสงฆ์ 11 รูป บัณฑิตกลุ่มพิเศษ จำนวน 4 ราย และผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล รอบเช้า จำนวน 1,665 ราย ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศึกษา วิทยาลัยการจัดการ วิทยาลัยราชสุดา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด และรอบบ่าย จำนวน 1,575 ราย ประกอบด้วย วิทยาลัยนานาชาติ คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และโครงการร่วมผลิตกระทรวงสาธารณสุข ภายหลังพิธีพระราชทานปริญญาบัตร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาทแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชื่อชุด ใจกว้างใหญ่ทั่วขอบฟ้าไท ซึ่งเป็นการแสดง Body Percussion ผสมกับดนตรีจีนและภาษามือประกอบการแสดง

พิธีมอบครุยวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2565

วันที่ 7 ตุลาคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีมอบครุยวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 256ณ ห้องบรรยาย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ปีการศึกษา 2565 มีผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน  4 ท่าน ได้แก่
1ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ ปริญญาทันตแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
2ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อมร ลีลารัศมี ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (โรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน)
3. นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงบุษณี วิบุลผลประเสริฐ ป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธี
4ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ประเสริฐ โศภณ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (กายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง)

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2565 จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2566 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิด Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานอำนวยการ Sustainability Expo 2023 กล่าวเปิดงาน และดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ Decade of Action” ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน คณะ​แพทยศาสตร์​โรงพยาบาล​รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล​ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง คณะ​แพทยศาสตร์​โรงพยาบาล​รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ​และรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทกร ทองแตง รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษเเละองค์กรสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมในพิธีเปิดด้วย ณ SX Grand Plenary Hall ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

งาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) โดยน้อมนำพระปฐมบรมราชโองการ ตามพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา ต่อยอด มาเป็นแนวทางในการจัดงาน มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ภายในงานประกอบด้วยการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน การเสวนาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และกิจกรรมอื่นๆ สำหรับเยาวชน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เข้าร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานและนวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม ประจำปี 2566 MUSEF 2023 Low Sodium Festival ภายใต้แนวคิด มาร่วมสร้างสังคมไทยสุขภาพดี ด้วยการลดบริโภคโซเดียม” Categories

วันที่ 26 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม ประจำปี 2566 MUSEF 2023 Low Sodium Festival ภายใต้แนวคิด “มาร่วมสร้างสังคมไทยสุขภาพดี ด้วยการลดบริโภคโซเดียม” และ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงาน คณาจารย์ อาสาสมัครชุมชน คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนวัดสาลวัน โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์ เข้าร่วมงาน ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และรับชมการถ่ายทอดผ่าน Facebook Live: MUSEF Conference

ภาคเช้า มีพิธีมอบรางวัล Low Sodium Awareness Video Competition 2023 และ รางวัล Low Sodium Hackathon 2023 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้มอบรางวัล การเปิดตัว MUSEF Brand Ambassador 2023 เพื่อเป็นผู้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนงานของ Mahidol University Social Engagement Forum ให้เป็นที่รู้จักสู่สาธารณะอย่างแพร่หลาย และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัย จากนั้น เป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง โภชนาการกับโรค NCDs โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล อดีตผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาชิกวุฒิสภา การเสวนาเรื่อง ลดโซเดียม ห่างไกลโรค NCDs โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม คุณณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคุณพล ตัณฑเสถียร เชฟชื่อดัง และเจ้าของช่อง YouTube: PHOLFOODMAFIA Talk ดำเนินรายการโดย คุณพัทธ์ ชนภัณฑารักษ์

พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องใน “วันมหิดล” ประจำปี 2566 ณ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

วันที่ 24 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องใน “วันมหิดล” ประจำปี 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลา พร้อมด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงาน บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสนี้ มีหน่วยงานภายนอกบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะฯ ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

จากนั้น เป็นพิธีเปิดนิทรรศการ “สีสันอัตลักษณ์แห่งองค์กรในมหาวิทยาลัยมหิดล : Color Palettes of Mahidol U.” โดย ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นเนื่องใน “วันมหิดล” ประจำปี 2566 โดยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสีสันอัตลักษณ์ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล

“วันมหิดล” เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี ด้วยพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงวางรากฐานแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของไทยให้เจริญก้าวหน้า บุคลากรทางการแพทย์ การสาธารณสุข จึงได้ถือให้วันนี้เป็นวัน “มหิดล” เพื่อถวายราชสักการะ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย”

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล วาระพิเศษ : การพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 7 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล วาระพิเศษ : การพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมรองอธิการบดีทุกฝ่าย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์

โอกาสนี้ ได้มีการนำเสนอ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567 – 2570) โดยมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมระดมความคิดเห็น และนำเสนอในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

การประชุมวาระพิเศษครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อร่วมพิจารณาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ รวมถึงรับฟังข้อเสนอแนะจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถวางทิศทางและนโยบายอีก 4 ปี ข้างหน้าได้ชัดเจนขึ้น

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 41/2566 ของวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ของวิทยาลัยศาสนศึกษา ครั้งที่ 41/2566 และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี อาจารย์ ดร.พิบูลย์ ชุมพลไพศาล คณบดีวิทยาลัยศาสนศึกษา พร้อมผู้บริหาร ฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมน้ำทอง คุณวิศาล วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ มีประเด็นดังต่อไปนี้

1. ผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1. ปฏิรูปให้มีความมั่นคงแข็งแกร่งทั้งในด้านบุคลากร การเงิน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

2. พัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเน้นพัฒนาทั้งนักศึกษาและบุคลากรอย่างคู่ขนานตามแนวทาง Small but Smart

3. พัฒนางานบริการวิชาการทั้งในด้านการเผยแพร่องค์ความรู้และการบริการด้านศาสนศึกษา

4. สร้างผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ และสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

2. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

– โครงการสัมมนาระดับนานาชาติ MU-CRS Seminar

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการพระบัณฑิตอาสา

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 40/2566 ของบัณฑิตวิทยาลัย

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 40/2566 ของบัณฑิตวิทยาลัย และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 408 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 มีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการผลิตหลักสูตรและบัณฑิตที่ตรงกับความต้องการ

1.2 ส่งเสริมความเป็นนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษา

1.3 ขยายการดําเนินการ ด้านการจัด Short Course Trainings ในทุกสาขาวิชา

1.4 ดําเนินการพัฒนา และจัดอบรม 21st Century Skills ให้นักศึกษาอย่างเป็นระบบ

1.5 ระบบบริหารจัดการด้านการศึกษา มีความยืดหยุ่นสูงยิ่งขึ้น เพื่อเป็นระบบบริหารจัดการแบบดิจิทัล

1.6 บุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย มีความพร้อมรับมือกับนโยบายและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Innovation in Health & Wellness

1.1 สร้างแพลตฟอร์มการจัดการศึกษาร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันร่วมผลิตที่มาจากภาครัฐและเอกชนในลักษณะร่วมกันรับผิดชอบ (Shared responsibility) และร่วมสร้างสรรค์ (Co-creation)

– หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาการขั้นสูงทางชีวการแพทย์และการสร้างสรรค์ธุรกิจสุขภาพ)  (หลักสูตรภาคพิเศษ)

– หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานวัตกรรมสุขภาพและสุขภาวะองค์รวม) (หลักสูตรภาคพิเศษ)

1.2 จัดการศึกษาให้รองรับการศึกษาตลอดชีพ และการบริการวิชาการ ที่สามารถสะสมหน่วยกิต ได้แก่ ระบบ MAP-C, Microcredentials สอดคล้องกับ Flagship 1 การศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต

2. Structure & HR Resource

2.1 การปรับโครงสร้าง

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– LEAN MANAGEMENT & REORGANIZATION เพื่อ Alignment และ Integration ร่วมกับส่วนงานต่าง ๆ และยุทธศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัย และคู่ความร่วมมือภายนอก

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

– Inclusiveness การสนับสนุนทุนเกี่ยวกับการศึกษา/สนับสนุนวิจัยแก่นักศึกษา (สอดคล้องกับ SDGs 1, 4, 10)

(สอดคล้องกับ SDGs 1, 4, 10) (ช่วงปีการศึกษา 2564 จำนวน 243 ทุน)

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1.การศึกษา

– ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ Learning Management System (LMS) เพื่อสนับสนุนการพัฒนา และจัดตั้ง Mahidol Continuing Education Center เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ และการเรียนรู้

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 39/2566 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 39/2566 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมประชาสังคมอุดมพัฒน์ (101) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. ส่งเสริมการต่อยอดการทำงานของ HAPPINOMETER และโครงการที่เกี่ยวข้องกับ HAPPINOMETER โดยเน้นกิจกรรมแบบออนไลน์/Hybrid และสร้างศักยภาพนักสร้างสุข
  2. ส่งเสริม TPAK ให้เป็น ASEAN Population and Physical Activity Center และ WHOCC
  3. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาผ่านการประเมิน AUN-QA 3.0 และ ASEAN 4.0
  4. พัฒนา Mahidol Migration Center (MMC) เป็นศูนย์วิจัยร่วม (Joint Research Unit) ในระดับนานาชาติ
  5. ผลักดันให้ Asian Population Association (APA) เป็นภาคีดำเนินงาน (Implementing Partner) ของ UNFPA
  6. พัฒนาความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างวิจัยขอแหล่งทุนต่างประเทศโดยมีเป้าหมายให้กาญจนบุรีเป็นพื้นที่ศึกษาและเป็น Social lab
  7. ผลักดันให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) โดยใช้งานวิจัยของสถาบันฯ เป็นกรอบในการขับเคลื่อน

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Global Health Governance

-MMC-JRU จัดการอบรมระยะสั้นระดับนานาชาติ เรื่อง International M&E training in public health for migrant workers (22 participants จาก 7 ประเทศ คือ Myanmar, Indonesia, Thailand, India, Nepal, South Korea, Gambia; 35 hours, May 22-26, 2023) และกำลังพัฒนาโครงร่างเพื่อนขอรับทุนจาก MU IR เพื่อจะจัดการอบรมระยะสั้นนี้ในระดับประเทศในปี 2024

2. Health & Wellness

2.1 Innovation in Health & Wellness

-โครงร่างวิจัยเรื่อง Training for migrant workers in elderly care ส่งขอทุน MU Rising funding, 2023-2024; working with Thailand Professional Qualification Institute (TPQI), Migrant Working Group (pending funding from Health Systems Research Institute  (HSRI-สวรส)

3.  แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

3.1 Healthy Foods

-โครงการวิจัยติดตามและประเมินสภาพแวดล้อมทางอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มในประชากรไทยทั่วไปและกลุ่มเฉพาะ

-โครงการการวิเคราะห์ระบบอาหารของประเทศไทย

-โครงการการวิเคราะห์และประเมินผลโยบายและมาตรการด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย

3.2 Inclusiveness

-การพัฒนาชุดข้อมูลและเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนไทย

-โครงการให้บริการทางวิชาการ: การสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขด้วยเครื่องมือ HAPPINOMETER (ศูนย์วิจัยความสุขคนทำงานแห่งประเทศไทย)

3.3 Capacity Building

-สนับสนุนให้นักวิจัยโครงการสมัครรับทุนเรียนดีระดับปริญญาเอกด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของสปอว.ในสาขาที่เป็นความต้องการของสถาบันฯ เพื่อทดแทนอาจารย์เกษียณและสร้างอาจารย์รุ่นใหม่

3.4 Sustainable City & Community (Climate Change)

-โครงร่างวิจัยเรื่องการฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุเพื่อเป็นแนวทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยระบบนิเวศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสนอขอทุนภายใต้โครงการ e-ASIA Joint Research Program (e-ASIA JRP) ประจำปี 2567 (FY2024) ด้านสิ่งแวดล้อม ประเด็นสังคมคาร์บอนต่ำ

-พัฒนาโครงร่างวิจัยเรื่องการรับรู้และนำแนวคิดแนวคิด Circular economy ไปใช้ในกลุ่มประชากรทั่วไปและกลุ่มเปราะบาง

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

-ปรึกษาหารือกับหลักสูตรถึงแนวทางในการสอดแทรกเนื้อหาเรื่อง SDGs ในรายวิชาสำคัญของสถาบันฯ เพื่อปลูกฝังการมี mindset SDGs ให้กับผู้เรียน (แผน)

2. การวิจัย

-สนับสนุนให้โครงการวิจัยของสถาบันฯ นำข้อค้นพบจากการวิจัยไปใช้ต่อยอดเพื่อตอบสนอง SDGs และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในงานวิจัยของสถาบันฯ ตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการทำวิจัย (สร้างความต่อเนื่อง และเพิ่มความเข้มแข็ง)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

-สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ โดยเฉพาะชุมชนและท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง (สร้างความต่อเนื่อง และเพิ่มความเข้มแข็ง)

4. Campus Operations

-ปลูกฝัง mindset SDGs ให้กับบุคลากรของสถาบันฯ ทุกประเภท (แผน)