คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 28/2566 ของคณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 28/2566 ของคณะพยาบาลศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมจันทนา นิลวรางกูร ชั้น 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 ขยายความร่วมมือและผลักดัน The MU-JHU NCDs Research Collaborative Center เป็นศูนย์กลางการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลในการควบคุมและจัดการโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับ WHOCC ใน SEARO และสถาบันการศึกษาใน 3 ทวีป (อเมริกาเหนือ เอเชีย ออสเตรเลีย)

1.2 เปิดให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร่วมเป็นเครือข่ายร่วมให้บริการของ สปสช. ในปี 2565

1.3 หลักสูตรบัณฑิตศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากลอย่างน้อย 2 หลักสูตร

1.4 พัฒนาห้องปฏิบัติการเสมือนจริง

1.5 พัฒนาหลักสูตร double degree

1.6 ขับเคลื่อนคณะฯ สู่ TQC+

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Digital Health

– “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาพใจวัยรุ่น: ผลงานวิจัยสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง (แผนงานการพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่น)

– แผนงานแพลตฟอร์มการจัดการและติดตามการใช้ยาวอร์ฟารินทางไกลสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

– Asthma Bot for Kid

1.2 Global Health Governance

– โครงการความร่วมมือThe MU-JHU NCDs Research Collaborative Center กับ WHOCC SEARO เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางสุขภาพในการควบคุมและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

– พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการวิจัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภายใต้โครงการ D43 Post-Doctoral Traineeship in NCD Research, University of Michigan

2. Health & Wellness

2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– การจัดการศึกษาปริญญาตรีควบปริญญาโท หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม

– หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต ปริญญาตรีควบปริญญาโท

3. Structure & HR Resource

3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– โครงการ NS Transformation (การบริหารรายได้และรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ: การเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน) โดยการพัฒนาแผนงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านคณะฯ สู่ความยั่งยืน (Develop transformation roadmap)

– คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งฝึกในการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการพัฒนาความเชี่ยวชาญของอาจารย์

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Healthy Foods

– โครงการการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการจัดบริการมุมนมแม่ในสถานประกอบการ (SDG 2, 3)

– โครงการ Health Literacy in Pregnant Women (โครงการการพัฒนากลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ 270 วันแรกแห่งชีวิต) (SDG 2, 3, 4, 5, 10, 17)

4.2 Inclusiveness

– โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยและยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร (SDG 3, 4, 10)

– โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติแบบบูรณาการบริการวิชาการและวิจัย (SDG 3, 4, 10)

– โครงการการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ดีของสามเณรวัดไผ่ดำ จังหวัดสิงห์บุรี (SDG 3)

4.3 Capacity Building

– โครงการ Integrated care for older people (ICOPE) Short course training:  A person centered care model (SDG 3, 17)

– Short Course Training (Hypertension, Diabetes, CKD) (SDG 3, 17)

– โครงการ Intensive training for continuing care system in high-risk pregnancy in LAO PDR (SDG 3, 4, 17)

– แผนงานต้นแบบชุมชนร่วมพลังร่วมใจรองรับสังคมผู้สูงวัยเขตเมือง (SDG 3, 4)

– หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง (16 สาขา) (SDG 3)

– หลักสูตรการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์

– หลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง (SDG 3, 4)

4.4 Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการ “We Change to Stop Climate Change” (SDG 13)

– โครงการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste)

– โครงการจัดทำระบบจัดการน้ำเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ

– โครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า (ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร ศาลายา และเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นแบบแยกส่วนชนิด Inverter อาคารพระศรีพัชรินทร บางกอกน้อย)

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย  

1. การศึกษา

– โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน

– โครงการส่งเสริมการเรียนแบบสหสาขาวิชาชีพ

– โครงการพัฒนาสถาบันการศึกษาพยาบาลในการจัดทำหลักสูตรมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือ Outcome Based Education, OBE (SDG 4)

– โครงการพัฒนาหลักสูตร Double Degree for PhD Program คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ National Cheng Kung University (NCKU), Taiwan (SDG 4, 17)

2. การวิจัย

– โครงการวิจัยความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัยในประเทศไทย (SDG 3, 4)

– โครงการวิจัยต้นแบบชุมชนร่วมพลังร่วมใจรองรับสังคมผู้สูงวัยเขตเมือง (SDG 3, 4, 11)

– โครงการ Long COVID (SDG 3, 4, 10)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการพัฒนาคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้เป็นคลินิกต้นแบบในเขตชุมชนเมือง (SDG 3)

– โครงการพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์เป็นสถาบันรับรองมาตรฐานสถานประกอบการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (SDG 2, 3)

– โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยและยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร (SDG 3, 4)

– โครงการความร่วมมือกับ Mombie เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (SDG 3)

– โครงการความร่วมมือกับ Young Happy เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (SDG 3)

4. Campus Operations

– โครงการสถานศึกษาปลอดภัย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 27/2566 ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 27/2566 ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 เปิดหลักสูตรร่วมกับสถาบันที่มีชื่อเสียง ทำความร่วมมือทางวิชาการกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตามโครงการวิทยาศาสตร์การกีฬา-จฉพ. (เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์)

1.2 ผลักดันหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น

1.3 สร้างความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม

1.4 งานวิจัยมุ่งเป้า เพื่อความเป็นเลิศเฉพาะทางแต่ละประเภทกีฬา เพิ่มศักยภาพทางการกีฬา-นักกีฬา และลดการบาดเจ็บ สุขภาวะของประชาชน

1.5 จัดตั้งคลินิกการกีฬาให้ผู้มาตรวจรักษาสามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลมาเบิกได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

1.6 ปรับโครงสร้างทางกายภาพห้องเรียน รองรับการเรียนการสอนรูปแบบ Online และสนามกีฬารองรับการออกกำลังกาย เพื่อนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก ได้ใช้สถานที่ออกกำลังกาย

1.7 วิเคราะห์โครงสร้างอัตรากำลังบุคลากร จัดทำแผนระยะสั้น ระยะยาวในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Digital Health

– โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

2. กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

–  โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

3. สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

– โครงการวิจัยในผู้สูงอายุ (ทุนสนับงานวิจัยเกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ exercise is medicine)

– แอปพลิเคชันสำหรับการประเมินสมรรถภาพและช่วยในการเรียนรู้การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

4. Innovation in Health & Wellness

– โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

– Physical Activity Promotional Plan for Children and Youth

– โครงการวิจัยในผู้สูงอายุ (ทุนสนับงานวิจัยเกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ exercise is medicine)

– แอพพลิเคชั่นสำหรับการประเมินสมรรถภาพและช่วยในการเรียนรู้การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

– โครงการการพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายหน้าเสาธงด้วยท่ามวยไทยในเด็กวัยเรียน (อายุ 9-12 ปี)

– โครงการการพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยสู่การพัฒนาสุขภาวะคนไทยในเด็กและผู้ใหญ่ เฟส 2

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

– Sustainable City & Community (Climate Change) : Physical Activity Promotional Plan for Children and Youth

 

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1.การศึกษา

– มาตรฐานหลักสูตรในระดับสากล

– พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสังคมปัจจุบัน

– พัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ

2.การวิจัย

– โครงการ Cryotherapy with Tasaki

– โครงการพัฒนาและการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมิน วิเคราะห์ ป้องกันการบาดเจ็บ และเจ็บป่วยทางการกีฬา สำหรับประเทศไทย

– ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟนในการประเมินสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ

– การสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

– โครงการวิทยาศาสตร์การกีฬากับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD

– โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชน

– โครงการ Exercise and Fitness Clinic

4. Campus Operations

– การสร้าง และพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายต่างประเทศ ด้านการศึกษา วิจัย และวิชาการ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 26/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 26/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารโครงการฯ เข้าร่วมประชุม ณ โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 พัฒนาแผนธุรกิจ และวางระบบบริหารจัดการโครงการจัดตั้งฯ ให้สามารถรองรับการดำเนินการตามแผนธุรกิจได้อย่างให้ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง คล่องตัว รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

1.2 พัฒนาและบริหารสินทรัพย์ (พื้นที่/อาคารสถานที่) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างรายได้ให้โครงการจัดตั้งฯ ตามแผนธุรกิจได้

1.3 พัฒนาสวนและภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีการปลูก/ขยายพันธ์/ดูแลพืชสมุนไพรที่เป็นระบบ ถูกต้องตามหลักวิชาการและเกษตรอินทรีย์ ฟื้นฟูระบบนิเวศของอุทยานฯ ให้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

1.4 พัฒนาศูนย์อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์พืชสมุนไพรและเครื่องยาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เชื่อม Functions ของพิพิธภัณฑ์พืช ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อาคารเพาะชำ และการปลูกพืชสมุนไพรในอุทยานฯ ให้ทำงานได้ครบวงจร)

1.5 สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ (เน้นการ Pool Resources เพื่อสร้าง Shared Value) เพื่อให้โครงการจัดตั้งฯ สามารถดำเนินงานภายใต้ความจำกัดของทรัพยากรได้ อย่างยั่งยืน

 

2.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1.การศึกษา

  1. การพัฒนาอุทยานฯ ให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ Inspire Change towards SDGs (SDG 3, SDG 4)

2. การวิจัย

  1. โครงการพัฒนาต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้แบบรวมในสวนประสาทสัมผัสเพื่อสุขภาวะของเด็กพิการ (SDG 3, SDG 4, SDG 10, SDG 17)
  2. โครงการศึกษา Systematics and Taxonomy of Zingiberaceae (SDG 15, SDG 17)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. กิจกรรมสาธิตต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีของทุกชีวิต เน้นการ Apply & Translate Knowledge ให้กับคนทุกกลุ่มใน
  2. ชุดกิจกรรม DIY ด้านสมุนไพรและพฤกษศาสตร์ แบบ ‘Inclusion for All’ เพื่อการเรียนรู้เชิง Authentic Learning สำหรับทุกคน (SDG 4, SDG 10)
  3. ศูนย์อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์พืชสมุนไพรและเครื่องยา (การจัดการตัวอย่าง/ข้อมูลพรรณไม้แห้งและเครื่องยา,​ การอบรมเชิงปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร, สิรีพฤกษศิลป์) (SDG 4, SDG 15)
  4. ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยมหิดล (สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน & ฐานทรัพยากรท้องถิ่น) (SDG 15, SDG 17)
  5. การพัฒนากลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (นำร่องเทศบาลนครอ้อมน้อย และเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน) (SDG 3, SDG 4, SDG 17)
  6. 6. กิจกรรมงานวันเด็ก และกิจกรรมงานวันแม่แห่งชาติที่เน้น Partnership ภายใต้ Themes ด้าน SDGs (SDG 3, SDG 4)

4. Campus Operations

  1. การพัฒนาอุทยานฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนตามแนวคิด SDGs (รวม Universal Design & Inclusion) ในด้านสมุนไพร ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พฤกษศาสตร์ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ (SDG 3, SDG 4, SDG 10, SDG 15, SDG 17)
  2. การจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 แห่ง พ.รบ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (สนับสนุนโดยกลุ่มเซ็นทรัล) (SDG 8, SDG 10, SDG 17)

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา 28 กรกฎาคม 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์ ศาลายา จำนวน 30 รูป จากนั้น มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะ พิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นพนักงานที่ดี และพลังของแผ่นดิน โอกาสนี้ มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 25/2566 ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 26 กรกฎาคม ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 25/2566 คณะกายภาพบำบัด และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมาย ที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด พร้อมผู้บริหาร ฯ เข้าร่วมการประชุม โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.การศึกษา

– การรับรองหลักสูตรทุกหลักสูตรทั้งปริญญาตรีและหลังปริญญาให้ได้ตามมาตรฐานสากล เช่น WCPT, WFOT, AUN-QA

– นวัตกรรมด้านการศึกษาแบบยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบทุกที่ทุกเวลา เช่น E-learning, MAPC, Microcredit, Credit Bank

2.การบริการสุขภาพและบริการวิชาการ

– เพิ่มคลินิกเฉพาะทาง Women health, Active Aging และ Vojta เพื่อเตรียมความพร้อมเป็น Healthcare Hub ด้านกายภาพบำบัดแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

– Telehealth service ผ่าน Web Application เพื่อเอื้อให้ผู้รับบริการทั่วประเทศเข้าถึงการรับบริการ

– การรับรองมาตรฐานวิชาชีพของศูนย์กายภาพบำบัดจากสภากายภาพบำบัด ทั้งสาขาเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและศาลายา

3.วิจัยและนวัตกรรม

– รับทุนงานวิจัยต่อเนื่องจาก IOM เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวและชุมชน

– จดลิขสิทธิ์คู่มือและคลิปวีดิทัศน์งานวิจัยและงานบริการสุขภาพ และพัฒนาเครื่องมือแบ่งปันความรู้ใน KM Masterclass และสื่อออนไลน์ เพื่อบุคคลภายนอก

– ประโยชน์จากงานวิจัยสู่นโยบายทางสุขภาพกับสังคมโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

– นวัตกรรมสู่ภาคธุรกิจ เช่น อุปกรณ์ดามต้นทุนต่ำจากเทอร์โมพลาสติกและยางพารา

4.การบริหารงานเพื่อความยั่งยืน

– ขอยื่นรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)

 

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Digital Health

– HealthcaRe Tele-delivery Service (HeaRTS-กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัดทางไกล)

2. Health & Wellness

2.1  กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– หลักสูตร Ph.D. (Health and Wellness)

– หลักสูตรปริญญาตรี สาขา Wellness

– หลักสูตรระยะสั้นกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ

– โครงการอบรมทางการกีฬา

2.2 Innovation in Health & Wellness

– HeaRTS@Home (กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดเยี่ยมบ้าน) และ HeaRTS

3. Structure & HR Resource

3.1 การปรับโครงสร้าง

– การปรับโครงสร้างสำนักงานคณบดี

– การปรับโครงสร้างศูนย์กายภาพบำบัด เป็นPhysical Therapy Excellence Center

3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– MU talent

4. Social Enterprise จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน -Start-up HeaRTS

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

5.1 Capacity Building

– Research and Innovation Center of Human Movement Science

 

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

– โครงการ MUx, Microcredit และ MAP-C เพื่อผลักดัน SDG 4 และ 17

2. การวิจัย  

– โครงการ Innovative splint และ โครงการ HeaRTS เพื่อผลักดัน SDG 9 และ 17

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการคลินิกชุมชนสัญจร, โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น (4 เดือน) สาขาวิชากายภาพบำบัดชุมชน, โครงการ HeaRTS, โครงการคลินิกเฉพาะทางเพื่อผลักดัน SDG 3 และ 17

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 24/2566 ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลและทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 24/2566 ของคณะศิลปศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. นำหลักสูตรบันฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน AUN-QA
  2. พัฒนาและเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวิทยาเสรี (Liberal Studies)
  3. เพิ่มกิจกรรมความร่วมมือกับ Hankuk University of Foreign Studies, Republic of Korea และ Busan University of Foreign Studies
  4. ยกระดับการทำกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับ Fudan University
  5. ร่วมมือกับ Macquarie University เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยมีการดำเนินการกิจกรรมทางการศึกษาร่วมกัน เช่น Double Degree และ Cotutelle Programs
  6. การพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
  7. การเพิ่มสัดส่วนผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติให้สูงขึ้น
  8. การเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

คณะฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม ดังนี้

– บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศิลปศาสตร์ กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565

– บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศิลปศาสตร์ กับวิทยาเขตกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

– ข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาควบปริญญาตรี ระหว่าง คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566

– คณะฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงภายนอกมหาวิทยาลัย คือ Agreement on a Double-Degree Program for Master Courses in Applied Linguistics between Faculty of Liberal Arts, Mahidol University, Thailand and Graduate School of Humanities, Osaka University, Japan เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565

2.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

2.1 Inclusiveness

 โครงการพัฒนาทักษะชีวิตบ้านมุทิตาสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

– โครงการศึก-ศาสตร์-ศิลป์: MULA & SDGs

– โครงการ Train the Trainers: Teaching English to Students with Hearing Impairment

2.2 Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการสถานศึกษาปลอดภัย (กิจกรรม Green Office)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 23/2566 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 23/2566 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมประชุม ณ ห้อง Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
      1.1 พัฒนาสถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดลให้เป็นสถาบันที่โดดเด่น สร้างผลงานที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าสูงต่อมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
      1.2 สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ให้เข้มแข็งและยั่งยืน
      1.3 พัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับคู่ความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกันและยกระดับความสามารถในการวิจัยของคณะฯ
      1.4 พัฒนาหลักสูตรให้เป็น Flexi Program ที่ทันสมัยคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน เป็นที่ต้องการของผู้เรียน และผู้ใช้บัณฑิต
      1.5 พัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพเป็นบัณฑิตที่พร้อมทำงานจริงได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา โดยมีการเรียนรู้จากการทำงานจริงกับภาคอุตสาหกรรม (Authentic Learning)
      1.6 สร้างสภาพแวดล้อมและส่งเสริมให้นักศึกษาคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
      1.7 สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์กับนักศึกษาทุกชั้นปี คณาจารย์ และบุคลากรของคณะฯ เพื่อให้เกิดความผูกพันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอดไป
      1.8 ให้บริการวิชาการหลักสูตรอบรมที่ทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม โดยพัฒนาร่วมกับคู่ความร่วมมือภาคเอกชน/องค์กรชั้นนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
      1.9 จัดทำและร่วมดำเนินการบริการวิชาการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามเป้าหมายที่ 3 , 4 และ 13
      1.10 จัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Digital Technology เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศอย่างต่อเนื่อง
      1.11 ส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรมีการพัฒนาตนเองเพิ่มพูนความรู้และทักษะใหม่ ๆ เพื่อพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุค Disruption
2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1.Health & Wellness
1.1 Innovation in Health & Wellness
      – Visually Impaired Smart Service System (VIS4ION-Thailand)
      – MIRU mosquito sensors
      – Integrated Federated Learning Platform for Radiology Clinical Workflow with Standard Annotation
3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การวิจัย
      1. Visually Impaired Smart Service System for Spatial Intelligence and Onboard Navigation (VIS4ION-Thailand)
      2. Network of Excellence in Advanced Information Technology for Tropical Medicine: Dengue, Malaria and Pandemic Preparedness IT Systems
      3. โครงการวิจัยพัฒนาระบบกรอบงานอัตโนมัติ เพื่อการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์แบบสหพันธรัฐสำหรับรูปภาพทางการแพทย์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 22/2566 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 22/2566 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 503 วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1. จัดอยู่ใน 300 อันดับแรกของสถาบันที่จัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject: Business & Management Studies

2. ยื่นขอการประเมินและได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)

3. พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ และร่วมมือจัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับพันธมิตรที่แข็งแกร่งทั้งในมหาวิทยาลัยมหิดลและกลุ่มธุรกิจชั้นนำ

4. เพิ่มจำนวนกลุ่มวิจัย (Research Clusters) ร่วมกับพันธมิตรในสาขาที่วิทยาลัยมีศักยภาพ อาทิ Sustainable Leadership หรือ Sustainable Supply Chain รวมถึงต่อยอดและขยายความร่วมมือด้านการเรียนรู้ตลอดจนด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่างวิทยาลัยศูนย์อาเซียน เพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และหน่วยงานอื่น ๆ

5. เพิ่มโครงการพัฒนาองค์กรและบุคลากรตามกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มีความโปร่งใส และคำนึงถึงส่วนรวม ได้แก่ โครงการวิทยาลัยสีเขียว (Green CMMU) การพัฒนาโครงการวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบโจทย์หรือเกื้อกูลสังคม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รวมถึงการสร้างสายสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือในเชิงปฏิบัติระหว่างวิทยาลัยกับทุกภาคส่วน

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) สาขา Healthcare & Wellness Management หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ไทย) สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ

2. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

2.1 Capacity Building

โครงการ CMMU องค์กรคาร์บอนต่ำ

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

การศึกษา

1. เพิ่มเนื้อหาเรื่อง SDGs ลงในวิชาแกนของหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติและไทย)

การวิจัย

1. โครงการ 2022 Scientific Development of an Integrative Organizational Well-beings and Engagement Survey for Corporate Sustainability (บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด)

2. โครงการ Empirical Research and Survey Analysis of Organizational Well-being and Engagement for Corporate Sustainability (บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด)

3. โครงการ “การพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรอย่างยั่งยืน” (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.))

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

1. รางวัล ESG Award เป็นกิจกรรมทางวิชาการร่วมระหว่างวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวลส์ และสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา สื่อสาร และส่งเสริมการนำกรอบแนวคิด ESG (Environment, Social Issues, and Governance) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบการเพื่อความยั่งยืนของบริษัทในประเทศไทย

2. Sustainability Consortium (December 2566) งานที่บูรณาการผลงานด้านความยั่งยืนของนักศึกษา อาจารย์ และพนักงานของวิทยาลัยการจัดการ ที่ผสานการนำเสนอผลงานวิชาการ และการถอดรหัสบทเรียนด้านความยั่งยืนจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทย

Campus Operations

กิจกรรม Workshop: CMMU WAY

CMMU WAY #1 หัวข้อ Sustainable CMMU: Why and how?

CMMU WAY #2 หัวข้อ Sustainable CMMU: Circular Economy Workshop at Home

CMMU WAY #3 หัวข้อ Workshop: CMMU Green

CMMU WAY #4 หัวข้อ CMMU GOES GREEN: How to be a Net Zero Business School

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 21/2566 ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 21/2566 ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและและวิทยาเขตกาญจนบุรี พร้อมผู้บริหารวิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมนิลกาญจน์ ชั้น 3 อาคารเรียนรวมวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1. ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐาน ESPReL ของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 100 มีการรับรองในรูปแบบ Peer valuation ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพิ่มขึ้น มีหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเอก เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3 หลักสูตร และมีหลักสูตร Non-degree Programs
2. จัดตั้งกลุ่มวิจัย Research Cluster หรือ Mini – Research Cluster เพิ่มขึ้นเป็น 2 กลุ่ม
3. มีการประเมิน Cost-Effectiveness ด้านการจัดฝึกอบรมและการรับตรวจวิเคราะห์
4. พัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Structure & HR Resource

      – การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คาดว่าจะดำเนินการ Digital Transformation of Holistic HR Approach

2. Social Enterprise
      – จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม (Social Enterprise)

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development GoalsSDGs
      – Healthy Foods โครงการพัฒนา Functional Food
      – Inclusiveness โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง
      – Capacity Building โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ภายใต้ MOU ระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      – Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการติดตามเฝ้าระวังเพื่อสนับสนุนการป้องกันหรือจัดการต้นกำเนิด ฝุ่น PM 2.5

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมสวมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา โครงการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
      1.1 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีประยุกต์เพื่อความยั่งยืนของโลก (ภาษาอังกฤษ) Master of Science in Technology Intervention for Global Sustainability
      2.2 ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีประยุกต์เพื่อความยั่งยืนของโลก (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy in Technology Intervention for Global Sustainability

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม (Social Enterprise)

3. Campus Operations
      – โครงการพัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 20/2566 ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 20/2566 วิทยาลัยนานาชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมจรินทร์ยารัศมิ์ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. ความยั่งยืนขององค์กร ส่งเสริมด้านสุขภาพ (Health) และความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) สร้าง Global Talent พัฒนาองค์กรโดยใช้ SDG principles สร้าง Value chain of iHE และ Data-driven Organization
2. เป็นเลิศทางการเรียนการสอน สร้างนวัตกรรมทางการศึกษา (Innovative Curriculum) เสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ของนักศึกษา และสร้าง Online courses (MUIC CONNECT)
3. งานวิจัยและความร่วมมือ สร้างจิตวิญญาณ ความมุ่งมั่น และความร่วมมือภายในวิทยาลัยในการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานวิจัย และกิจกรรมแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Health & Wellness กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness สาขาวิชาโท Health Innovation Design
2. Innovation in Health & Wellness โครงการจัดตั้ง MUIC Inspire Center จัดแข่งขันวิชาการโดยใช้โจทย์จากภาคอุตสาหกรรม (Student Think Tank)
3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
3.1 Healthy Foods การจัดตั้ง Culinary Science and Food Innovation Center ผลักดันด้าน Healthy foods เช่น Plant based food สร้างความยั่งยืนทางอาหารสำหรับประชากรโลก
3.2 Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการติดตั้ง EV Charging Station ที่อาคารเรียนของวิทยาลัยนานาชาติ

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
1. การศึกษา มีรายวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs จำนวน 1,198 รายวิชา แบ่งเป็นรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี 1,167 รายวิชา และหลักสูตรปริญญาโท 31 รายวิชา เช่น รายวิชา Practical Field Ecology and Conservation ที่ตอบเป้าหมาย SDG 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก เป็นต้น
2. การวิจัย โครงการส่งเสริมการผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับ SDGs
3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement Service-Learning courses การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการวัด pre-impact และ post-impact ที่เกิดขึ้นกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุง ซึ่งรายวิชาดังกล่าวจะเปิดสอนต่อเนื่องทั้งปี
4. Campus Operations SDGs-driven Project -Waste to Zero / Waste management project – การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED – กิจกรรมส่งเสริม SDGs ในหลักสูตร Short term program – สร้างฐานข้อมูลของรายวิชาส่งเสริม Green university – พัสดุใช้วัสดุ Recycle