คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 9/2566 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 9/2566 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมพิทยา จารุพูนผล อาคารเทพนม เมืองแมน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
1. การพัฒนา Flexi Education หลักสูตร MD MPH ออนไลน์ (ปีการศึกษา 2565)
2. การพัฒนาศูนย์บริหารจัดการสร้างสุขภาพและควบคุมโรคในชุมชนเขตพญาไท ราชเทวี ร่วมกับ ย่านนวัตกรรมโยธี (พ.ค. – ก.ย. 2564)
3. การพัฒนาโครงร่างวิจัยที่เป็น Frontier and Digital Public Health (พ.ค. – ก.ย. 2564)
4. การพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ Health Literate and Healthy District สู่การเป็น Balancing Public Health (ปี 2564-2565)
5. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมนานาชาติที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ด้าน Megacity Health and Global Health (ปี 2564-2565)
6. การเพิ่มรายได้ด้วยการจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบและกลุ่มพระสงฆ์ (ปี 2564-2565)
7. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรม ด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพิ่มร้อยละ 10 (ปี 2564-2565)
8. การพัฒนานักศึกษาให้ได้คุณภาพเพื่อเป็นบัณฑิตพร้อมใช้ และผ่าน MUHIDEF (Health Literacy, English) ร้อยละ 80 (ปี 2564-2565)

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแชทบอทอินเทนท์สำหรับใช้ในการสนับสนุนแชทบอทน้องยูซีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
      – การจัดทำ E-learning ศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรเพื่อการควบคุมยาสูบ
      – การพัฒนาแอนิเมชั่นเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรที่เป็น กลุ่มโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
      – The project entitled the development and evaluation of a deep-learning based chest X-ray computer- aided diagnosis software for the detection and follow-up of tuberculosis

1.2 Global Health Governance
      – การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาทผู้จัดการระบบสุขภาพในชุมชน
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
      – 2/2-GEO Health Hub: Improving Agricultural Health in Southeast Asia-Thailand
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – หลักสูตร Ph.D. wellness leadership
      – หลักสูตรฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านส่งเสริมสุขภาพและด้านอาหารและโภชนาการ
2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การอบรมความปลอดภัยและมาตรฐานของผู้สัมผัสอาหาร
      – การพัฒนาสถานประกอบการ/สถานบริการ ให้รองรับมาตรฐาน wellness
      – การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาทผู้จัดการระบบสุขภาพในชุมชน
      – แผนยุทธศาสตร์เขตนวัตกรรมการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส ประเทศไทยเพื่อเป็นนโยบายของรัฐบาล
2.3 Innovation in Health & Wellness
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
      – การวิจัยและออกแบบตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
      – การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแชทบอทอินเทนท์สำหรับใช้ในการสนับสนุนแชทบอทน้องยูซีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
      – The project entitled the development and evaluation of a deep-learning based chest X-ray computer-aided diagnosis software for the detection and follow-up of tuberculosis
      – การพัฒนาแอนิเมชั่นเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรที่เป็นกลุ่มโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
      – การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจของนักเรียน โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
      – 2/2-GEO Health Hub: Improving Agricultural Health in Southeast Asia-Thailand

3. Structure & HR Resource
3.1 การปรับโครงสร้าง
3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – การบริหารจัดการโดยใช้ระบบ Lean and Co-Working Space

4. Social Enterprise
4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – Public health field study in Thailand (หลักสูตรฝึกอบรม)

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Inclusiveness
      – การส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรไทย ต่อต้าน Hate Speech และ Bullying (SHSB)
      – คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาสำหรับบุคลากร และนักศึกษา
      – การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจของนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
5.2 Capacity Building
      – การจัดสัมมนา โดยเชิญศาสตราจารย์วุฒิคุณ จากประเทศต่าง ๆ
      – การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ
5.3 Sustainable City & Community (Climate Change)
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
      – การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพแบบบูรณาการ
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำและกากตะกอน การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาท

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – Wellness for Industry
การวิจัย
      – ทุกโครงการวิจัยมีส่วนร่วมผลักดัน SDGs
การบริการวิชาการและส่งเสริม Community Engagement
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
Campus Operations
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

พิธีลงนามความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงระหว่าง HeaRTS (HealthcaRe Tele-delivery Services) และบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รองประธานกรรมการศิริราชมูลนิธิ และประธานกรรมการบริหารบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด พร้อมด้วย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร กรรมการบริหารบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ Chief Operating Officer บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด นายแพทย์ทวิราป ตันติวงษ์ Chief Operating Officer บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กภ.ภครตี ชัยวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานกรรมการบริหาร HeaRTS ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือในบันทึกข้อตกลง “โครงการเยี่ยมบ้านทางกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด และการบริการดูแลผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดทางไกล” ระหว่าง HeaRTS (HealthcaRe Tele-delivery Services) และบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด โดยมี ผู้บริหารส่วนงาน ผู้แทนส่วนงาน เข้าร่วมพิธี ณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและเพิ่มความสะดวกสบายของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย (Home Health Services) โดยนักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด และการบริการดูแลผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดทางไกล (HealthcaRe Tele-delivery Service: HeaRTS) และเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลให้ได้ประโยชน์สูงสุด

บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด ก่อตั้งโดย ศิริราชมูลนิธิ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่เป็นองค์กรสาธารณกุศล รับบริจาคเงินและทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือการรักษาผู้ป่วยยากไร้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมไทย (Social Enterprise) สร้างโอกาสการเข้าร่วมกับภาคเอกชน ในการพัฒนานวัตกรรม งานบริการ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สร้างความคล่องตัวเพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันทางธุรกิจ และนำนวัตกรรมของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และอื่น ๆ ออกสู่ท้องตลาดในเชิงพาณิชย์

HealthcaRe Tele-delivery Service: HeaRTS กายภาพบำบัดกิจกรรมบำบัดทางไกล บริการด้วยใจ เข้าถึงง่าย ทุกที่ ทุกเวลา ออกแบบมาเฉพาะคุณ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้บริการการกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดทางไกล (HealthcaRe Tele-delivery Service) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงการรักษาทางกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้รับบริการที่มีเวลาจำกัดหรือไม่สะดวกในการเดินทาง โดยผู้รับบริการสามารถรับคำปรึกษาทางกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด จากนักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้รับบริการจะได้รับการประเมินปัญหาทางกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด พร้อมได้รับคำแนะนำเบื้องต้น โดยเปิดให้บริการให้คำปรึกษา ดังนี้ กายภาพบำบัดทางระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัดทางระบบประสาท กายภาพบำบัดทางเด็ก กิจกรรมบำบัดทางเด็ก กิจกรรมบำบัดในผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 8/2566 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 8/2566 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ประชุม 4228 ศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล (อาคาร 4) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้


1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน 
University Council Visit ครั้งที่ 2

  1. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรอง ASEAN AUN-QA อย่างน้อย 1 หลักสูตร พัฒนาการเรียน การสอนระดับบัณฑิตวิทยาลัยในรูปแบบ MAP-C ให้บุคคลทั่วไปเลือกเรียนได้ตามความสนใจและพัฒนาการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรร่วมกับ GISTDA
  2. พัฒนาและขับเคลื่อนกลุ่มวิจัย งานวิจัยที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ และเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
  3. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล SCIE ใน ISI Web of Science และการขอรับการรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จำนวน 2 พารามิเตอร์ (ตะกั่ว และแมงกานีส) รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี ตามมาตรฐาน ESPReL ครบทั้ง 10 ห้องปฏิบัติการ และพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ จ.ลำปาง
  4. ติดตั้งสถานถาวรในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และติดตั้งและพัฒนาเครือข่ายระบบ นำทางด้วยดาวเทียม ณ ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม

 2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Health & Wellness
1.1
กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

  • เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)

2.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
2.1 Sustainable City & Community (Climate change)

มีโครงการด้าน Climate Change ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน ดังนี้

  • โครงการวิจัย 6 โครงการ
  • โครงการบริการวิชาการ 5 โครงการ
  • โครงการฝึกอบรม 6 โครงการ
  • โครงการที่ร่วมกับชุมชน 2 โครงการ

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

  1. แผนงานการศึกษากลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยวบนความยั่งยืน
  2. การพัฒนาเครือข่ายการวิจัยสภาพภูมิประเทศแบบคาสต์ ระบบถ้ำ และการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศธรณีใน จ.แม่ฮ่องสอน
  3. โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมเพื่อความยั่งยืนตามภูมินิเวศ: การจัดทำผังพื้นที่อนุรักษ์แหล่งศิลปกรรมรายประเภท และการจัดทำผังภูมินิเวศแหล่งธรรมชาติรายประเภทในพื้นที่ภาคเหนือ (ตอนล่าง)
  4. โครงการติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564
  5. โครงการศึกษาข้อมูลบัญชีรายการและการใช้ประโยชน์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ แนวโน้มและศักยภาพการใช้ประโยชน์
  6. โครงการจัดทำหนังสือคู่มือการติดตามและประเมินผลพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  7. การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติ ในระดับพื้นที่
  8. การใช้พื้นที่ซ้อนทับระหว่างช้างป่า (Elephas maximus) และชุมชน และการพัฒนาระบบเตือนภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย
  9. นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
  10. การติดตามนิเวศวิทยาประชากรและการเติบโตของวัวแดง (Bos javanicus) ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จ.ชลบุรี
  11. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล
  12. การปรากฏและการกระจายของละองละมั่งภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี
  13. การศึกษาช้างป่าแบบบูรณาการเพื่อลดผลกระทบความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าภาคตะวันออกอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  14. โครงการวิเคราะห์ความเข้มข้นก๊าซเรือนกระจก
  15. การประเมินการกักเก็บคาร์บอนและการผลิตออกซิเจนของต้นไม้ในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน และลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
  16. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลต่อพลวัตป่าชายเลนสิ่งแวดล้อม และมนุษย์ ในสมัยโฮโลซีน: นัยที่เกี่ยวเนื่องกับการกักเก็บคาร์บอนระยะยาวของชายฝั่งอันดามัน ประเทศไทย
  17. การพัฒนาเครื่องมือวัดอัตราการสังเคราะห์แสงของพืชในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยายกาศ
  18. การประเมินทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา จ.พิจิตร
  19. โครงการขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม
  20. การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพาราภาคตะวันออก
    ของประเทศไทย
  21. โครงการ Climate Action Leader Forum
  22. เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  23. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน
  24. การพัฒนากระบวนการผลิตพลังงานทดแทน พลาสติกชีวภาพ และปุ๋ยอัดเม็ดจากน้ำกากส่าร่วมกับกากยีสต์
  25. สถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ.2563
  26. ผลของไฟต่อคุณสมบัติทางเคมี-กายภาพ และจุลชีววิทยาของดินในพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนบริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
  27. แนวทางป่าประชารัฐในการฟื้นฟูป่าดิบชื้นเพื่อลดการเกิดและลุกลามของไฟป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง
  28. ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำและประมาณการผลผลิตแบบแม่นยำสำหรับการปลูกอ้อย
  29. การพัฒนาอากาศยานไร้นักบินเพื่อรองรับเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายระบบ 5G เพื่อการจัดการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
  30. พฤติกรรมเชิงลึกของเกษตรกรและคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนเกษตรปลอดการเผา
  31. การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรใน พื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จ.ลำปาง
  32. การจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ระยะยาว 3 ปี (2564-2566)
  33. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อสร้างความสามารถในการหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  34. โครงการสำรวจความหลากหลายและภูมิปัญญาสมุนไพรสำหรับสุขภาพระดับชุมชน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
  35. การพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 จ.ลำปาง
  36. การจัดทำบัญชีการระบายมลพิษแอมโมเนียซึ่งเป็นสารตั้งต้นทุติยภูมิก่อให้เกิด PM2.5 จากกิจกรรมของมนุษย์ในเขตพื้นที่กทม.
  37. โครงการประเมินความสามารถในการรองรับมลพิษที่จะระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
  38. การใช้วิธีพืชร่วมกับแบคทีเรียเฉพาะถิ่นเพื่อเป็นแนวป้องกันสีเขียวในการป้องกันการแพร่กระจายโลหะหนักจากพื้นที่กำจัดขยะชุมชน
  39. การพัฒนากระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพจากน้ำทิ้งจากกระบวนการย่อยสลายไร้อากาศโดยสาหร่ายขนาดเล็ก
  40. การพัฒนาวัสดุนาโนโลหะออกไซต์เพื่อผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากน้ำเสียในกระบวนการสังเคราะห์แสงเทียม
  41. โครงการทดสอบการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและสาหร่ายของแผ่นฟิล์ม
  42. นวัตกรรมต้นแบบถังดักไขมันเพื่อกำจัดไขมันจากการแปรรูปอาหารและอาหารเหลือทิ้ง
  43. การศึกษา และวิเคราะห์เชิงระบบของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีผลต่อการหนุนเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG
  44. โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  45. โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลำปาง
  46. ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินสถานการณ์และคาดการณ์พิบัติภัยน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำน้ำแม่สาย-น้ำรวก
  47. โครงการรัฐสภาสีเขียว : เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  48. โครงการพัฒนาและตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) : กฟภ. กฟน. โรงพยาบาลค่ายสุรนารี บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง
  2. การสื่อสารเพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เผชิญปัญหาหมอกควัน
  3. การจัดการความรู้การทำนาแปลงใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ
  4. แผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง
  5. การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
  6. มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)
  7. การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer
  8. การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล
  9. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ “ผู้แทนชุมชนเกาะลัดอี แท่น จ.นครปฐม” “เทศบาลเมืองไร่ขิง” “สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย”ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นฯ
  10. การอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
  11. การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนชุมชนเกษตรในเมืองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน:มิติความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรน้ำ-พลังงาน-อาหาร-คน
  12. การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว Green Office
  13. การตรวจประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
  14. โครงการนำร่องการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของการยางแห่งประเทศไทย
  15. การประเมินคาร์บอนสะสมในพื้นที่สวนยางพาราโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (geo-informatics)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 7/2566 ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 7/2566 ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 515 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1.1 RILCA R&D Sandbox โครงการ Sandbox My Q-My H ควบคู่ MU Talents & RILCA Talents

1.2 เครือข่ายการวิจัยและการศึกษาแบบครบวงจรในลักษณะ Strategic partner ทั้งการวิจัยร่วมและการพัฒนาหลักสูตร Double Degree (หลักสูตรนานาชาติ) กับ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อมุ่งยกระดับ Subject ranking ด้านภาษาและวัฒนธรรม

1.3 สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในมิติภาษา วัฒนธรรม พหุวัฒนธรรม และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมผ่านการทำงานวิจัยที่มีการต่อยอด การสร้างนวัตกรรม การสร้างผลกระทบต่อสังคมและการชี้นำทางนโยบาย รวมทั้งการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น และการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในและนอกดิจิทัลแพลตฟอร์ม

1.4 RILCA Smart Language and Cultural Diversity on Digital Platform

1.5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรม-พหุภาษา ภายใต้แนวคิด MU Cultural Quarter

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

     2.1 Inclusiveness

  • Mother Tongue-Based Multilingual Education and Intercultural Education project in Koh Lanta (MTBMLE-ICE) (Phrase2)
  • การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
  • โครงการผลิตสารคดีชุด “Some One หนึ่งในหลาย”

     2.2 Capacity Building

  • RILCAs Empowerment: Creating Refugees, Migrants as agents of Positive Change
  • พหุวัฒนธรรมเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอาเซียน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 6/2566 ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 6/2566 ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมกระแส ชนะวงศ์ ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. หลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ได้รับ Global Accreditation (AUN-QA)
  2. จัดตั้ง ASEAN Primary Health Care Research and Information Centre (APRIC) เพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัยและฐานข้อมูลด้านการพัฒนา PHC ในภูมิภาคอาเซียน
  1. ขับเคลื่อนการทำงานภารกิจสุขภาพโลกมหิดลอย่างเป็นรูปธรรม (MUGH) และสนับสนุน ให้เกิด School of Global Health and Health Policy (SGHP)
  1. จัดตั้ง Mahidol Active Ageing Policy Watch Centre (MAPC) และเสนอนโยบายฯ เพื่อสุขภาพ Active Ageing ในนามของมหาวิทยาลัยมหิดล
  1. สนับสนุนให้เกิดการใช้เครื่องมือ Healthy University Rating System (HURS) ที่ริเริ่มโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ในเครือข่ายสมาชิกของ ASEAN University Network–Health Promotion Network (AUN-HPN) และระดับนานาชาติ
  1. ผลักดัน Journal of Public Health and Development ของสถาบันฯ ให้อยู่ใน Scopus

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health

  • เปิด Global Health Special Track ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะนี้มีนักศึกษาปริญญาเอกจำนวน 2 คน ที่มาศึกษาในหลักสูตร โดยได้รับทุน MUGH
  • เปิดรายวิชา Digital Health และ Climate Change Adaptation ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเปิดสอนในภาคเรียนที่ 2/2566

2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

  • สถาบันฯ จะร่วมสอนในหลักสูตร Health & Wellness

3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

  • เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการด้วยแผน Strategic HR ปรับอัตราบุคลากรให้เหมาะสมกับภาระงาน

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Capacity Building

  • พัฒนากำลังคนด้าน Primary Health Care ในประเทศ CLMV และกลุ่ม Ethnics โดยสนับสนุนทุนการศึกษาจาก International Partner

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

การศึกษา

  1. พัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สอดคล้องกับ SDGs

การวิจัย

  1. มุ่งเน้น Issue Based เรื่อง Primary Health Care Management and Global Health

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. สำนักงานเลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN ดำเนินการโครงการ “การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ” เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน
  2. การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในระบบสุขภาพเพื่อการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ “การเพิ่มสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยการเรียนรู้ร่วมกัน ในการปฏิบัติท่ามกลางความเป็นจริง

Campus Operations

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรและมีหลักธรรมาภิบาล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 5/2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 5/2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารวิทยาเขตฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมนิภาธรรมวงศ์ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ จำนวน 39 เรื่องบนพื้นฐานของปัญหาในพื้นที่ และส่งเสริมผลิตนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในท้องถิ่นอย่างน้อย 1 เรื่อง
  2. พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีให้เป็น Flexible education : micro credential ภายใต้มาตรฐาน AUN-QA และพัฒนาหลักสูตรให้เป็น upskill/reskill และรายวิชาในระบบ MUx
  3. ศูนย์การแพทย์ฯ วางแผนพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร รองรับปัญหาของผู้สูงอายุระยะ Post-acute และขยายการให้บริการทางการแพทย์ตามความต้องการของพื้นที่ ภายในปีงบประมาณ 2565 โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่
  4. พัฒนา MUNA Farm ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นต้นแบบให้กับชุมชนในการทำเกษตรแนวใหม่ รวมถึงผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไป และเป็นแหล่งฝึกงานภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาหลักสูตรวท.บ.เกษตรกรปราชญ์เปรื่อง และส่งเสริมงานวิชาการเพื่อสังคม
  5. ศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญาธรรมชาตินครสวรรค์ เตรียมความพร้อมในการสร้างระบบนิเวศน์ทางวิชาการทางฟิสิกส์ทฤษฎีและการประยุกต์กับศาสตร์อื่น ๆ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ผลิตผลงานวิจัยระดับสูงทางฟิสิกส์ทฤษฎี จักรวาลวิทยา และองค์ความรู้รากฐานในศาสตร์อื่น ๆ โดยผลิตผลงานวิจัย ปีละ 2 เรื่องต่อคน และเตรียมความพร้อมในการเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญาธรรมชาติ
  6. พัฒนาองค์กรเป็น Mindful Campus ร่วมกับศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และขยายสู่สังคมและชุมชนโดยรอบในจังหวัดนครสวรรค์

 

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

  • แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจังหวัดนครสวรรค์ด้านเป็นศูนย์กลาง Medical Hub และแผนพัฒนาสถานพยาบาล Wellness center for Aging เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและความงาม และดูแลมาตรฐานผลิตภัณฑ์

2Structure & HR Resource

2.1 การปรับโครงสร้าง

  • การเตรียมความพร้อมการปรับโครงสร้างการบริหารงานออกเป็นวิทยาเขตนครสวรรค์

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

  • การสรรหาอาจารย์/นักวิจัย ศักยภาพสูงมาปฏิบัติงาน ภายใต้โครงการรับอาจารย์หรือนักวิจัยศักยภาพสูง (Global Talent) ปีงบประมาณ 2566 บรรจุอาจารย์ศักยภาพสูง ระดับ 2 expert 1 ท่าน (ดร.สมพงศ์ โอทอง)

3. Social Enterprise

3.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
       • โครงการการยกระดับคุณภาพดินตะกอนบึงบอระเพ็ดด้วย วัชพืชน้ำตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model)
       • โครงการปุ๋ยเพื่อชุมชนภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Healthy Foods

  • โครงการ MUNA Farm สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • เครือข่ายเมล็ดพันธุ์

4.2 Sustainable City & Community (Climate change)

  • การขับเคลื่อนเครือข่ายบึงบอระเพ็ด
  • การขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการน้ำ
  • ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ด
  • พัฒนาศักยภาพและทักษะการผลิตพืช แบบพึ่งพาตนเอง
  • การจัดการขยะต้นทางแบบมีส่วนร่วมชุมชนต้นแบบ หมู่ 1 ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัยจังหวัดนครสวรรค์
  • โครงการจัดการขยะชุมชน ที่ต้นทาง และปลายทาง

 

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

การศึกษา

  1. โครงการ MUNA Farm สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. 10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
  2. กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
  3. มาตรฐาน MU Organic
  4. การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย Campus Operations
  5. การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
  6. โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน
  7. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
  1. โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
  2. โครงการการยกระดับคุณภาพดินตะกอนบึงบอระเพ็ดด้วยวัชพืชน้ำตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model)
  3.   โครงการปุ๋ยเพื่อชุมชนภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

Campus Operations

1. การเปิดรับนักศึกษาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

2. การให้ทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษา โครงการสานฝันทายาทเกษตร โครงการสานฝันเกษตรพันธุ์ใหม่ และโครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์

3. โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

4. การกำหนดราคาอาหารที่เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์และข้อตกลงเบื้องต้น ประจำปีการศึกษา 2565

5. การจัดการขยะภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 4/2566 ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 4/2566 ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบัน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 109 อาคารปัญญาพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 พัฒนาหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกภาคพิเศษแบบออนไลน์

1.2 ผลักดันให้เกิดหลักสูตรแบบ Double Degree จำนวน 2 หลักสูตร

1.3 วิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ

1.4 พัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ 1 ชิ้น เช่น Board Game

1.5 พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) แบบออนไลน์ 1 หลักสูตร

1.6 ปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของอาคารศูนย์ศาลายา (เดิม) เป็น Digital Innovative Learning Complex

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluste r: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

2.1 Structure & HR Resource

การปรับโครงสร้าง – ทบทวนการปรับโครงสร้าง

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ – ทบทวนอัตรากำลัง / พัฒนาขีดความสามารถบุคลากร

2.2 Social Enterprise

จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

โครงการจัดตั้ง IL Business Development Unit

2.3 แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

Healthy Foods โครงการวิจัยและพัฒนา Board game ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับ Consumption for good health

Inclusiveness โครงการจิตตปัญญาศึกษาเพื่อปรับฐานใจให้ครูในโรงเรียนนำร่อง จังหวัดสมุทรสาคร

Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการวิจัยและพัฒนา Board game ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับ Climate change

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

3.1 การวิจัย – โครงการส่งเสริมการทำวิจัยเชื่อมโยงกับประเด็น SDGs

3.2 Campus Operations – การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อน SDGs ของส่วนงาน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 3/2566 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 3/2566 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้อง 204 อาคารพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1.1 พัฒนาวิทยาลัยสู่อันดับ Top 50 ของมหาวิทยาลัยโลก ในสาขา Performing Arts จัดอันดับโดย QS World University Subject Rankings

1.2 โครงการพัฒนา Mahidol Music Connection

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

2.1 Health & Wellness

– Innovation in Health & Wellness โครงการดนตรี ผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Music Entrepreneurship and Innovation (MEI))

2.2 Structure & HR Resource

– การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โครงการพัฒนา Team Building สร้างทีมสัมพันธ์ ร่วมกันขับเคลื่อนวิทยาลัยสู่ TOP 50 และโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง Change Agent

2.3 แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

Inclusiveness โครงการส่งเสริมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ด้วยพลังดนตรีสร้างเสริมกิจกรรมและประสบการณ์ดนตรีที่หลากหลายเพื่อการขับเคลื่อนสังคมให้เข้มแข็งและสร้างสุขภาวะที่ดี ดนตรีเพื่อพัฒนาสุขภาวะทุกช่วงวัย

Sustainable City & Community (Climate change)

โครงการพัฒนาด้านดนตรีบำบัดสำหรับการฟื้นฟูสมรรภาพด้านการแพทย์

– โครงการสนับสนุนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองนครปฐมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สาขาดนตรี ของ UNESCO

– โครงการพัฒนา ส่งเสริมประสบการณ์ทางด้านดนตรี (Side by side , City Line Music Stations, Salaya Tiny young)

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

การศึกษา

  1. โครงการพัฒนาระบบทุนการศึกษา (ทุนเปรมดนตรี)

การวิจัย

  1. ศึกษาและวิจัยองค์ประกอบดนตรีที่มีผลต่อสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง และทดสอบองค์ประกอบดนตรีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงในเด็กและเยาวชน
  2. โครงการพัฒนา Artistic research

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. โครงการสนับสนุนความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองนครปฐมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สาขาดนตรีของ UNESCO

Campus Operations

  1. 1. โครงการพัฒนาการบริหารทรัพยากรกายภาพที่มีประสิทธิภาพและสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน

     

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Sustainable Development Goals กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” Categories

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Sustainable Development Goals กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารสินทรัพย์ กล่าวรายงานการอบรม โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายหัวข้อ “SDG101 และการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานสภา มหาวิทยาลัยมหิดล กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม กองแผนงาน กองทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากรของแต่ละส่วนงานเข้าร่วมการอบรม จำนวนทั้งสิ้น 119 ราย ณ ห้อง 217 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566

จากนั้น เป็นการเสวนา หัวข้อ “ESG กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และคุณสุกิจ อุทินทุ ผู้อำนวยการคนแรกของ องค์กรรัฐมนตรีศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (SEAMEO SEPS) และคุณพจนาพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการกลุ่มขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและกรอบพหุพาคี กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการเสวนา ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) และประธานสาขาการจัดการที่ยั่งยืน (Managing for Sustainability) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายของสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (From Vision to Action) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนงาน มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ

สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวาย พระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด้จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2566

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม จำนวน 30 รูป จากนั้น มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และพิธีถวายพระพรชัยมงคล โอกาสนี้ มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีและร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสดุดีจอมราชา ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวาย พระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด้จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา