นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๕/๒๕๖๔ ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา

วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๕/๒๕๖๔ ของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔–๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารศูนย์ฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สร้างสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้+จิตตปัญญาวาส มหาวิทยาลัยมหิดล
๒. พัฒนาหลักสูตรให้เป็น Flexible Education
๓. จิตตปัญญาศึกษาควบรวมกับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ (แนว PPPO)

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ปรับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ในการดำเนินการ มุ่งเป้าที่จะดำเนินการเชิงรุกด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม โดยการนำแก่นจิตตปัญญาศึกษา เข้าไปบูรณาการร่วมกับการทำงานผ่านโครงการวิจัยและบริการวิชาการ เช่น (๑) โครงการหยั่งรากจิตตปัญญา สู่สังคมแห่งความสุข (๒) การทำงานผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในการใช้การประเมินเพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation) การศึกษาของเด็กนอกระบบ (๓) โครงการที่ดำเนินการร่วมกับศูนย์คุณธรรม ในการศึกษาและพัฒนากระบวนการรับรององค์กรส่งเสริมคุณธรรม และการศึกษาและพัฒนาโมเดลการสร้างระบบนิเวศมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมในสังคมไทย และ (๔) เผยแผ่ศาสตร์จิตตปัญญาศึกษาผ่านการวิจัย การเรียนการสอน การฝึกอบรมระยะสั้นผ่าน Map Ex, Map C และการบริการวิชาการในลักษณะอื่น ๆ
๒. ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ดำเนินการให้วิทยาเขตนครสวรรค์เป็น Mindful Campus ขยายสู่สังคมและองค์กรโดยรอบ
๓. ขับเคลื่อนศูนย์จิตตปัญญาโดยใช้โอกาสการครบรอบ ๑๕ ปี ของศูนย์ ด้วยแนวคิด สู่การผลิบาน นำความรู้ประสบการณ์ และการพัฒนาคน/เครือข่ายที่ผ่านมา ขับเคลื่อนสังคมวงกว้าง ผ่านกิจกรรมหลัก ๕ กิจกรรม คือ (๑) กิจกรรมครบรอบ ๑๕ ปี ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา (๒) กิจกรรมชวนให้คนมาภาวนาร่วมกัน ภายใต้ชื่อ “๑๕ ปี จิตตปัญญา พาใจกลับบ้าน” (๓) กิจกรรม Mindful Education เป็นการต่อยอดการขับเคลื่อนงานจิตตปัญญาศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ผ่านกิจกรรมการสร้างเวทีการแลกเปลี่ยนและเครือข่าย Mindful Education (๔) ขยายเครือข่ายการทำงาน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการศึกษาและการวิจัยด้าน Contemplative/ Mindful Education ในระดับภูมิภาค ผ่านกิจกรรมการประชุมเสวนาออนไลน์ และ (๕) การจัดงานประชุมวิชาการประจำปีในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ ควรปลูกฝังและสร้างการรับรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษา ตั้งแต่วัยเด็ก และนำองค์ความรู้ที่มีจัดทำเป็น VDO clip เผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความตื่นรู้ในตนเอง ยอมรับและเข้าใจผู้อื่น อีกทั้งยังสามารถช่วยลดความตึงเครียดในสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ในปัจจุบันได้ รวมทั้งสอดแทรกและบูรณาการองค์ความรู้ด้านจิตตปัญญาศึกษาในทุกหลักสูตร เนื่องจากเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกศาสตร์ควรมีซึ่งนำไปสู่การสร้างสังคมที่ดีได้ต่อไป

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๔/๒๕๖๔ ของโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๔/๒๕๖๔ ของโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิริยา ชินวรรโณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตนานาชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารโรงเรียน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco Webex Meetings โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. การพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม โดยพัฒนาห้องเรียน ห้องประกอบการ และปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น
๒. การเพิ่มรายวิชาที่ทันต่อยุคสมัย
๓. การพัฒนาความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ทั้งการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ เช่น แข่งขันโอลิมปิก วิชาการ โครงการเพชรยอดมงกุฏ เป็นต้น
๔. การพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. พัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
๒. สร้างกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มนักเรียนให้มีความสุขกับการเรียนการสอนที่โรงเรียนจัดให้
๓. การปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียมการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
๔. จัดหาแผนคุ้มครองสวัสดิภาพ-อุบัติเหตุสำหรับนักเรียนและผู้ปฏิบัติงานโรงเรียน
๕. พัฒนาระบบ IT Infrastructure ในการรับสมัครนักเรียน เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของโรงเรียนสาธิตนานาชาติ ในการสอนทักษะความรู้ควบคู่กับทักษะชีวิต การเชื่อมโยงความร่วมมือด้านต่างๆ กับมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงความสำเร็จของนักเรียนที่สอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ๑๐๐% (ในสาขาวิชาที่หลากหลาย) พร้อมทั้งเสนอแนะให้สร้างความร่วมมือด้านโรงเรียนสาธิตฯ กับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในการขยายหลักสูตรระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุตรบุคลากร และเสนอให้ทำ Feasibility Study สนับสนุนการวางแผนและการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนแบบผสมผสาน จัดการแนะแนววิชาที่เรียนให้กับนักเรียน เพื่อจะได้ทราบว่าเรียนจบไปแล้วสามารถทำงานอะไรได้ในอนาคต โดยที่ มหาวิทยาลัยสามารถช่วยอำนวยความสะดวกแก่โรงเรียน ในการเชื่อมโยงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบ Virtual และการปรับตัวให้ล้ำหน้าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเรียนรู้ที่จะอยู่กับ COVID-19 แบบ New Normal

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๔ ของวิทยาเขตอำนาจเจริญ

วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๔ ของวิทยาเขตอำนาจเจริญ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔–๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี นายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาเขตเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑.ได้รับการไว้วางใจจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จังหวัดอำนาจเจริญ (AIC :Agritech and Innovation Center) เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดอำนาจเจริญ “เมืองธรรมเกษตร”
๒. การบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอน และงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการในพื้นที่ และมีนวัตกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยของนักศึกษาในเวทีประชุมวิชาการทั้งในระดับจังหวัดและระดับเขต ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันเขตต่อเนื่อง ๓ ปี ได้รับรางวัลในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับรางวัลการสอนออนไลน์ ประจำปี ๒๕๖๓
๓. พัฒนาคุณภาพงานวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในระดับสากล ในปี ๒๕๖๓ ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารคุณภาพระดับ Quartile 1 (Top10) จำนวน ๓ เรื่อง (ร้อยละ ๒๕) โดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และกองบริหารงานวิจัย
๔. เป็นหน่วยปฏิบัติการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมส่วนหน้า จังหวัดอำนาจเจริญ โดยคำสั่งของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีภารกิจหลักในด้านวิชาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่
๕. ความก้าวหน้าของบุคลากรสายวิชาการ ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน ๔ คน

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ด้านการวิจัย สนับสนุนทุนวิจัยแก่บุคลากรในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้มีผลงานวิจัยทีสอดคล้อง ต่อการพัฒนาพื้นที่ คุณภาพชีวิตประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญ และเป็นสากล
๒. ด้านการเรียนการสอน การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาโดยการบูรณาการการเรียนการสอนแบบสหสาขา และสนับสนุนส่งเสริมให้มีรายวิชาที่เป็น Flexible Program และ Credit Bank พัฒนาหลักสูตรภายใต้มาตรฐาน AUN-QA
๓. ด้านการบริการวิชาการ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวในการเสริมสร้างความคิดเชิงบริหารสำหรับเด็ก (Executive Function) ในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนฯ และจัดทำแผนพัฒนาด้านเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม อาทิเช่น การวิจัยผลิตกระชายขาว เป็นต้น
๔. การสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังประเทศในแถบลุ่มแม่นํ้าโขงด้านวิชาการและการวิจัย เช่น วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Quang TriMedical College, Hue University, The University of Danang

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของวิทยาเขตอำนาจเจริญที่ดำเนินทุกพันธกิจได้เป็นอย่างดีและมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ และสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ประชุมได้เสนอแนะให้วิทยาเขตเป็น Hub โดยสร้าง “Complete Eco System” เพื่อดึงดูดงบประมาณและเชื่อมโยงความร่วมมือจากภาคเอกชน และภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งด้านการวิจัย ขอให้ดำเนินการเสนอโจทย์ปัญหาสุขภาพเชิงพื้นที่ การศึกษาด้านสังคมภูมิศาสตร์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ICT เพื่อไปสู่การเป็น Smart Farm รวมทั้งการของบประมาณจากแผนงานบูรณาการ Eastern Economic Corridor (EEC) และเสนอการมุ่งเป้าที่ชัดเจน จังหวัดอำนาจเจริญมีจุดเด่นที่จะเป็นเมืองแห่งการศึกษา ด้วยมีทุนสังคมวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผนวกจุดเด่นต่าง ๆ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้นแบบ (Model) สร้างผลงานที่มีคุณค่าพัฒนาไปสู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยพร้อมสนับสนุนทุกพันธกิจ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๔ ของคณะทันตแพทยศาสตร์

วันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๒/๒๕๖๔ ของคณะทันตแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA : 1 หลักสูตร ในระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ในปี ๒๕๖๓ และพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน AUN-QA ในระดับหลังปริญญาอย่างน้อยหนึ่งหลักสูตร และหลักสูตร ท.บ.นานาชาติรวมถึงการพัฒนาต่อเนื่องให้ได้รับ International Standard และพัฒนาทุกหลักสูตรให้ได้รับมาตรฐาน AUN-QA
๒. มุ่งเป้าหมายเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน Thailand Quality Class (TQC) และ HA ขั้นที่ ๓ ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร และสร้างมาตรฐานการบริการทางทันตกรรมระดับชาติ
๓. Online Courses ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากและสุขภาพผู้สูงอายุ
๔. ร่วมมือด้านการทำงานวิจัยกับสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ
๕. WHO CC (Center for Continuing Education and Research) : Minamata Convention; Prevention of Oral Disease

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA จำนวน ๔ หลักสูตร
๒. ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาล ๒ โรงพยาบาล และสร้างศูนย์ความเป็นเลิศทางการให้บริการทางทันตกรรม และ digital healthcare
๓. ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) ภายในปี ๒๕๖๖
๔. Double degree หลักสูตรปริญญาตรี ทบ. + ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ + (ปริญญาโท CMMU)
๕. พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพและต่อยอดเชิงพาณิชย์
๖. เสริมพลังเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ
๗. Smart Dental Hospital
๘. จัดหารถทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อการบริการทางทันตกรรมที่เข้าถึงประชาชนได้สะดวกยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมผลงานที่ชัดเจนทั้งมาตรฐานสากลของหลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัย และ การบริการทันตกรรม Smart Dental Hospital โดยสนับสนุนให้คณะฯ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ผลงานให้สังคมได้รับทราบมากขึ้น เช่น การจัดทำ Clip VDO นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้มีการปลูกฝังจิตสำนึกให้นักศึกษาในด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ส่งเสริมการวิจัยสหวิทยาการ นวัตกรรมทันตกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และเพิ่มจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ และขยายสู่ประโยชน์เชิงพาณิชย์ยิ่งขึ้น เช่น การทำยาสีฟันผสมสมุนไพร เป็นต้น รวมทั้ง ด้านสารสนเทศ เพื่อการบริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร (ศาลายา) และขอให้คณะฯ ร่วมมือระหว่างส่วนงานบูรณาการด้านการดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง เช่น คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เป็นต้น

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๔ ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๑/๒๕๖๔ ของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ผลิตผู้นำการทำงานเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สันติภาพ และการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งโดยสันติวิธีทั้งในประเทศและทวีปเอเชีย เป็นผู้ประสานงานหลักสูตร MA in Human Rights and Democratization ภายใต้ Global Campus of Human Rights ในระดับภูมิภาค Asia-Pacific ตั้งแต่ปี ๑๕๕๙ เป็นต้นมา
๒. คณาจารย์ได้รับทุนโครงการวิจัยจากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างนวัตกรรมและผลักดันนโยบายสำคัญของประเทศและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการพัฒนาประชาธิปไตย กระบวนการสันติภาพ และการคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง มีนวัตกรรมที่จดแจ้งลิขสิทธิ์เป็นสื่อการสอนเรื่องการป้องกันการค้ามนุษย์
๓. มีบทบาทสำคัญในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจระหว่างศาสนาและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคม ได้แก่ การส่งเสริมการรวมตัวของชาวพุทธ และการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมและพรรคการเมืองในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๔. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลนอร์เวย์ และเดนมาร์คให้ดำเนินการจัดฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาให้กับคณาจารย์และผู้สอนสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในภูมิภาค ASEAN โดยมีการขยายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา
๕. ได้รับความไว้วางใจให้เป็นสำนักเลขาฯ ของเครือข่ายต่างๆ ในระดับภูมิภาค คือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการศึกษาสิทธิมนุษยชน (ASEAN University Network-Human Rights Education: AUN-HRE) ; โครงการ Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in ASEAN/Southeast Asia (SHAPE-SEA) และโครงการศาสนาเพื่อสันติภาพ สภาศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Religions for Peace, Interreligious Council of Thailand)

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มุ่งพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบ outcome-based education ในระดับบัณฑิตศึกษา และมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในวงกว้าง โดยมีแผนปรับปรุงวิชาเลือกระดับปริญญาตรีให้บรรจุอยู่ในหลักสูตร MUGE ของมหาวิทยาลัย
๒. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้แก่ เป้าหมายที่ ๔, ๕,๑๐ และ ๑๖
๓. ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา ขยายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรทางการศึกษาชาวเมียนมาร์ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานขนาดเล็กที่มีศักยภาพสูง มีความมุ่งมั่นในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาอย่างเต็มที่ สามารถทำงานขนาดใหญ่ได้ดี มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานในระดับนานาชาติ รวมทั้งมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs และเสนอเพิ่มการดำเนินงานให้ครอบคลุมมิติของ SDGs ยิ่งขึ้น และบูรณาการองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาเข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น Health Science/Science and Technology เนื่องจากเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกวิชาชีพควรมี รวมทั้งควรหาคู่ความร่วมมือกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างผลงาน/นโยบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคมและประเทศชาติ และเผยแพร่งานวิชาการและนำผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา จัดทำเป็น VDO clip เผยแพร่สู่สาธารณะ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๔ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๓๐/๒๕๖๔ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. การวิจัยเชิง Comparative Studies ในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียและอื่นๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
๒. การวิจัยที่เป็น Social Innovation (สหสาขาวิชาและใช้ประโยชน์เพื่อสังคม)
๓. ส่งเสริมให้ HAPPINOMETER เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติให้มากขึ้น
๔. อย่างน้อย ๑ หลักสูตรได้รับการประเมิน AUN-QA ในระดับมหาวิทยาลัย (3.0) และระดับ ASEAN (4.0)
๕. งานวิชาการสำหรับวาระครบรอบ ๕๐ ปีการสถาปนาสถาบันฯ (๑๔ พ.ย. ๒๕๖๔)
๖. การจัดตั้งศูนย์วิชาการ ASEAN Population and Physical Activity

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ส่งเสริมการต่อยอดการทำงานของ HAPPINOMETER และโครงการที่เกี่ยวข้องกับ HAPPINOMETER โดยเน้นกิจกรรมแบบออนไลน์/hybrid และสร้างศักยภาพนักสร้างสุข
๒. ส่งเสริม TPAK ให้เป็น ASEAN Population and Physical Activity Center และ WHOCC
๓. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาผ่านการประเมิน AUN-QA 3.0 และ ASEAN 4.0
๔. พัฒนา Mahidol Migration Center (MMC) เป็นศูนย์วิจัยร่วม (joint research unit) ในระดับนานาชาติ
๕. ผลักดันให้ Asian Population Association (APA) เป็นภาคีดำเนินงาน (Implementing partner) ของ UNFPA
๖. พัฒนาความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างวิจัยขอแหล่งทุนต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายให้กาญจนบุรีเป็นพื้นที่ศึกษาและเป็น Social lab
๗. ผลักดันให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy workplace) โดยใช้งานวิจัยของสถาบันฯ เป็นกรอบในการขับเคลื่อน

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ที่มีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิจัยระดับนานาชาติ และสถาบันฯ ได้ดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งเสนอการสร้างความร่วมมือกับส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดผลงานที่มี Impact สูง รวมถึงเสนอการมีบทบาทชี้นำเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้าน Ageing Society เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย และสนับสนุน HAPPINOMETER ที่ได้รับการยอมรับจากหลายองค์กร และเสนอให้นำไปใช้เพื่อสร้างเสริมความสุขให้บุคลากรในสถานพยาบาล อีกทั้งการเสนอการนำ AI และการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยสนับสนุนในการเก็บข้อมูลการวิจัย ซึ่งปัจจุบันสถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ดำเนินการแล้ว

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๔ ของคณะเภสัชศาสตร์

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๔ ของคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. เปิด Joint Unit ร่วมกับ Institute of Aging and Chronic Disease, U. of Liverpool เพื่อสร้างความเป็นผู้นำการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์การชะลอวัยในระดับภูมิภาค
๒. ขยายผลความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาคเอกชนสู่การนำความรู้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์
๓. ผลักดันให้วารสารของคณะฯ เข้าสู่ฐานข้อมูล Web of Sciences
๔. นำหลักสูตรปริญญาตรีเข้าสู่การรับรองทั้งในระดับภูมิภาค (AUN-QA) และระดับโลก (Accreditation Council of Pharmacy Education – ACPE) เป็นหลักสูตรแรกของไทย
๕. เปิดหลักสูตร PharmD (International) เพื่อรองรับการขยายตัวของการศึกษานานาชาติในประเทศและภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่ international visibility และความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
๖. เป็นผู้นำทางวิชาการด้านการพัฒนามาตรฐานคุณภาพยาโดยการทำงานร่วมกับองค์กรระดับโลก (United States Pharmacopoeia – USP) ในโครงการ Promoting Quality Medicine Plus
๗. จัดตั้ง ASEAN PharmNet Secretariat Office เพื่อความเป็นผู้นำทางเภสัชศาสตร์ในระดับภูมิภาค และสร้างงานวิจัยที่มี impact ระดับโลกและรวมไปถึงการดึงแหล่งทุนระดับโลกเข้าสู่เครือข่ายและคณะฯ

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า ได้แก่
๑. ผลงานวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น ๑.๕ เรื่อง/คน/ปี และมีจำนวนการอ้างอิงเฉลี่ย 10 ครั้ง/เรื่อง
๒. ผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่ท้องตลาดทั้งโดยตรงและผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่บนความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ และให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย
๓. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก AUN-QA และ ACPE เป็นหลักสูตรแรกของไทย
๔. หลักสูตร PharmD (International) เริ่มดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. ๒๕๖๖
๕. โรงงานยาของคณะเริ่มเปิดดำเนินการปี พ.ศ. ๒๕๖๖
๖. ร่วมกับส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมศักยภาพของคณะเภสัชศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการเชื่อมโยงการวิจัยพื้นฐานสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ และได้รับความไว้วางใจจากภาคเอกชนและอุตสาหกรรม เพื่อการผลักดันเชิงพาณิชย์และนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและประชาชน ด้วยยา ซึ่งเป็นความมั่นคงและความหวังของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการยกระดับและเพิ่มมูลค่าของพืชสมุนไพรที่สำคัญ เพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG และอุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศ เสนอให้มีการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการเปิดโรงงานยาให้แล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการให้เกิดรายได้ ซึ่งคณะฯ มีแผนเจรจาร่วมทุนกับภาคเอกชน และขอให้คณะฯ จัดทำองค์ความรู้และผลิต Clip Video เพื่อสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการใช้สมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร และกระชายขาว การพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัยและทุกภาคส่วน วางแผนบริหารการจัดการต้นทุนและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๔ ของคณะวิทยาศาสตร์

วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๘/๒๕๖๔ (Council Visit) ของ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สร้างหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตบุคลากรที่มีทักษะการวิจัย เป็นที่ยอมรับในสากล/มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
๒. สนับสนุนนักวิจัย คณาจารย์ ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๕ ของจำนวนบุคลากรสายวิชาการ และผลิตผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในการแก้ปัญหาของสังคม จำนวน ๒ เรื่อง ภายในปี ๒๕๖๔
๓. Digital Transformation บริหารจัดการองค์กร ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทุกด้าน และสร้างศักยภาพในการเติบโต
๔. ตั้งศูนย์ MUSC solutions เพื่อสร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม จำนวน ๑๐ โครงการ/กิจกรรม ภายในปี ๒๕๖๔
๕. จัดทำผังแม่บท และปรับปรุงด้านการจัดการกายภาพและสิ่งแวดล้อม แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๔ และได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี ๒๕๖๕

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. มุ่งเป็นอันดับหนึ่งด้านวิจัยวิทย์ของประเทศ เพื่อชี้นำสังคม รวมถึงสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ
๒. มุ่งสร้างบัณฑิตที่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สร้างการศึกษา One Mahidol Science Education ทั้งนักศึกษาวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาหลักสูตรผ่านการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และหลักสูตรยืดหยุ่นระดับปริญญาตรี โดยมีระบบการสอบ AI-based aptitude test
๓. การสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะและใช้ความรู้เพื่อประโยชน์สังคม เพิ่มรายได้จากนวัตกรรม การบริการวิชาการ
๔. Digital Transformation สู่องค์กรที่บริหารจัดการโดยข้อมูลทั้งการศึกษา วิจัยและการดำเนินการ มุ่งจะได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2565 และมีการบริหารจัดการแบบ SDGs-oriented operations
๕. นำ Digital Technology มาใช้เพื่อการศึกษาแบบ hybrid พัฒนาระบบการสอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์
๖. Mahidol Downtown Campus เป็นพื้นที่รวมนวัตกรรมและวิทยาการของคณะวิทยาศาสตร์และพันธมิตร

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ด้วยความร่วมมือของทุกคนในคณะฯ ทำให้เห็นถึงศักยภาพและผลงานที่ชัดเจน ทั้งในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้และงานวิจัยสู่ประชาชน ที่ประชุมได้เสนอแนะเพิ่มเติมในการเชื่อมโยงโจทย์วิจัยร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการและการใช้ประโยชน์ของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เช่น การผลักดันผลิตภัณฑ์ชุดตรวจ COVID-19 ที่เป็นงานวิจัยของคณะฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น มีการเสนอให้ยกระดับการวางแผนในโครงการที่โดดเด่นเพื่อให้เกิด Impact สูง และผลตอบแทนในระยะยาว การดึงอาจารย์นักวิจัยผู้ใหญ่เข้ามาเป็น Mentor ร่วมกับนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อขยายเครือข่าย เป็นต้น

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๔ ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๗/๒๕๖๔ ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดี ฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. ผู้สำเร็จการศึกษารหัส ๖๓ เป็นต้นไป มีคุณสมบัติเป็น Global Citizen ตาม Mahidol HIDEF ร้อยละ ๑๐๐
๒. ส่งเสริมและพัฒนาผลงานวิจัยสู่ระดับสากล โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ใน Q1 เทียบกับผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ และคณาจารย์/นักวิจัย ได้รับรางวัลทางวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ อย่างน้อย ๑ คน
๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศมากขึ้น : Kyoto University, Myanmar, Russia และเพิ่มจำนวน Inbound และ Outbound
๔. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานในประเทศ เช่น จัดตั้งศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ประจำภาคกลางตอนล่าง ๑ จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม และจัดตั้งศูนย์ GLOBE เป็นต้น
๕. พัฒนา ECO & Smart Campus ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันโดยการใช้พลังงานทางเลือกและเน้นการนำ IoT, QR Code, RFID, AR/VR มาใช้

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐาน ESPReL ของมหาวิทยาลัย ๑๐๐ % มีการรับรองในรูปแบบ Peer evaluation ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพิ่มขึ้น มีหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเอก เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ๓ หลักสูตร และมีหลักสูตร Non-degree Programs
๒. จัดตั้งกลุ่มวิจัย Research Cluster หรือ Mini – Research Cluster เพิ่มขึ้นเป็น ๒ กลุ่ม
๓. มีการประเมิน Cost-effectiveness ด้านการจัดฝึกอบรมและการรับตรวจวิเคราะห์
๔. พัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของวิทยาเขตกาญจนบุรี ที่ร่วมดำเนินงานและผลักดันให้เกิดผลงานที่โดดเด่นมากมาย สร้างความภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยและจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้วิทยาเขตฯ สามารถดึงทุกภาคส่วนเข้าร่วมดำเนินการได้อย่างดีทั้งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ เป็นตัวอย่างในด้านการบูรณาการให้กับส่วนงานต่างๆ ได้อย่างดียิ่ง และดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ในแต่ละด้านอย่างชัดเจนเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีองค์ความรู้ ในด้านการพัฒนาพื้นที่ และสามารถนำองค์ความรู้เผยแพร่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน รวมทั้งจังหวัดกาญจนบุรีมีทรัพยากรจำนวนมาก ที่ประชุมได้เสนอแนะให้วิทยาเขตนำทรัพยากรที่มีในพื้นที่มาพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ BCG Model เช่น สร้างวิทยาเขตให้เป็น “Sai Yok Velley” และเสนอการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ และเป็นต้นแบบการดำเนินงานในด้านต่างๆ (Role Model) ให้ส่วนงานในมหาวิทยาลัย

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๔ ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน

วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๔ ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัย ระดับ ๓ หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับสูง
๒. ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Training course) เต็มรูปแบบและพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก ๒ หลักสูตร
๓. ระบบ Smart Hospital นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการประชาชน ทั้งด้านความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัย
๔. เป็นศูนย์กลางรองรับการเป็น EC Secretariat ของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yo-thi Medical Innovation District: YMID)
๕. ปรับหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ให้สามารถรับแพทย์ชาวต่างชาติมาศึกษาให้หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านฯ ดังกล่าวได้

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ปี ๒๕๖๔ วางระบบ เตรียมความพร้อม และปี ๒๕๖๕ เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัย ระดับ ๓ หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยี ความปลอดภัยระดับสูง ให้บริการทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกคณะฯ
๒. พัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก ๒ หลักสูตร
๓. เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการเสนอขอทุนต่างประเทศ เพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อปี เช่น ทุน NIH, Wellcome Trust, EU, etc.
๔. จัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM)
๕. ศูนย์วิชาการและวิจัยด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวของประเทศไทย

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งเป็นต้นแบบให้กับส่วนงานต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม มีผลงานวิจัยจำนวนมาก ตอบโจทย์สังคม และสามารถช่วยประเทศชาติในยามวิกฤตจากสถานการณ์ COVID-19 โดยมีการดำเนินงานที่สอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีศักยภาพ และความเชี่ยวชาญ มีการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้ง การจัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM) ซึ่งจะผลิตงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ และขอให้คณะฯ ส่งต่อวัฒนธรรมความเป็นเลิศ เพื่อสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง การตั้งโจทย์วิจัยจากความต้องการของผู้ใช้งาน (Market-in) และการพยากรณ์การอุบัติของโรค เพื่อสามารถดำเนินการในเชิงรุกมากขึ้น โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายทั้งด้านการศึกษา การวิจัย กฎระเบียบ ที่ประชุมได้เสนอให้คณะฯ เชื่อมโยงข้อมูลด้าน Telemedicine ระหว่างโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนกับโรงพยาบาลระดับท้องถิ่น เพื่อต่อยอดการนำระบบเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ หลังจากช่วง Post Covid-19 ขอให้คณะดำเนินการขยายบริการสุขภาพด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และการจัดทำ Clip เพื่อเผยแพร่ผลงานที่โดดเด่นต่อสังคม และเพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพของคณะฯ