คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 22/2566 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 22/2566 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 503 วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1. จัดอยู่ใน 300 อันดับแรกของสถาบันที่จัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject: Business & Management Studies

2. ยื่นขอการประเมินและได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)

3. พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ และร่วมมือจัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับพันธมิตรที่แข็งแกร่งทั้งในมหาวิทยาลัยมหิดลและกลุ่มธุรกิจชั้นนำ

4. เพิ่มจำนวนกลุ่มวิจัย (Research Clusters) ร่วมกับพันธมิตรในสาขาที่วิทยาลัยมีศักยภาพ อาทิ Sustainable Leadership หรือ Sustainable Supply Chain รวมถึงต่อยอดและขยายความร่วมมือด้านการเรียนรู้ตลอดจนด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่างวิทยาลัยศูนย์อาเซียน เพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และหน่วยงานอื่น ๆ

5. เพิ่มโครงการพัฒนาองค์กรและบุคลากรตามกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มีความโปร่งใส และคำนึงถึงส่วนรวม ได้แก่ โครงการวิทยาลัยสีเขียว (Green CMMU) การพัฒนาโครงการวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบโจทย์หรือเกื้อกูลสังคม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รวมถึงการสร้างสายสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือในเชิงปฏิบัติระหว่างวิทยาลัยกับทุกภาคส่วน

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) สาขา Healthcare & Wellness Management หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ไทย) สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ

2. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

2.1 Capacity Building

โครงการ CMMU องค์กรคาร์บอนต่ำ

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

การศึกษา

1. เพิ่มเนื้อหาเรื่อง SDGs ลงในวิชาแกนของหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติและไทย)

การวิจัย

1. โครงการ 2022 Scientific Development of an Integrative Organizational Well-beings and Engagement Survey for Corporate Sustainability (บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด)

2. โครงการ Empirical Research and Survey Analysis of Organizational Well-being and Engagement for Corporate Sustainability (บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด)

3. โครงการ “การพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรอย่างยั่งยืน” (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.))

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

1. รางวัล ESG Award เป็นกิจกรรมทางวิชาการร่วมระหว่างวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวลส์ และสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา สื่อสาร และส่งเสริมการนำกรอบแนวคิด ESG (Environment, Social Issues, and Governance) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบการเพื่อความยั่งยืนของบริษัทในประเทศไทย

2. Sustainability Consortium (December 2566) งานที่บูรณาการผลงานด้านความยั่งยืนของนักศึกษา อาจารย์ และพนักงานของวิทยาลัยการจัดการ ที่ผสานการนำเสนอผลงานวิชาการ และการถอดรหัสบทเรียนด้านความยั่งยืนจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทย

Campus Operations

กิจกรรม Workshop: CMMU WAY

CMMU WAY #1 หัวข้อ Sustainable CMMU: Why and how?

CMMU WAY #2 หัวข้อ Sustainable CMMU: Circular Economy Workshop at Home

CMMU WAY #3 หัวข้อ Workshop: CMMU Green

CMMU WAY #4 หัวข้อ CMMU GOES GREEN: How to be a Net Zero Business School

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 21/2566 ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 21/2566 ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและและวิทยาเขตกาญจนบุรี พร้อมผู้บริหารวิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมนิลกาญจน์ ชั้น 3 อาคารเรียนรวมวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1. ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐาน ESPReL ของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 100 มีการรับรองในรูปแบบ Peer valuation ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพิ่มขึ้น มีหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเอก เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3 หลักสูตร และมีหลักสูตร Non-degree Programs
2. จัดตั้งกลุ่มวิจัย Research Cluster หรือ Mini – Research Cluster เพิ่มขึ้นเป็น 2 กลุ่ม
3. มีการประเมิน Cost-Effectiveness ด้านการจัดฝึกอบรมและการรับตรวจวิเคราะห์
4. พัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Structure & HR Resource

      – การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คาดว่าจะดำเนินการ Digital Transformation of Holistic HR Approach

2. Social Enterprise
      – จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม (Social Enterprise)

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development GoalsSDGs
      – Healthy Foods โครงการพัฒนา Functional Food
      – Inclusiveness โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง
      – Capacity Building โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ภายใต้ MOU ระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      – Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการติดตามเฝ้าระวังเพื่อสนับสนุนการป้องกันหรือจัดการต้นกำเนิด ฝุ่น PM 2.5

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมสวมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา โครงการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
      1.1 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีประยุกต์เพื่อความยั่งยืนของโลก (ภาษาอังกฤษ) Master of Science in Technology Intervention for Global Sustainability
      2.2 ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีประยุกต์เพื่อความยั่งยืนของโลก (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy in Technology Intervention for Global Sustainability

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม (Social Enterprise)

3. Campus Operations
      – โครงการพัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 20/2566 ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 20/2566 วิทยาลัยนานาชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมจรินทร์ยารัศมิ์ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. ความยั่งยืนขององค์กร ส่งเสริมด้านสุขภาพ (Health) และความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) สร้าง Global Talent พัฒนาองค์กรโดยใช้ SDG principles สร้าง Value chain of iHE และ Data-driven Organization
2. เป็นเลิศทางการเรียนการสอน สร้างนวัตกรรมทางการศึกษา (Innovative Curriculum) เสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ของนักศึกษา และสร้าง Online courses (MUIC CONNECT)
3. งานวิจัยและความร่วมมือ สร้างจิตวิญญาณ ความมุ่งมั่น และความร่วมมือภายในวิทยาลัยในการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานวิจัย และกิจกรรมแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Health & Wellness กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness สาขาวิชาโท Health Innovation Design
2. Innovation in Health & Wellness โครงการจัดตั้ง MUIC Inspire Center จัดแข่งขันวิชาการโดยใช้โจทย์จากภาคอุตสาหกรรม (Student Think Tank)
3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
3.1 Healthy Foods การจัดตั้ง Culinary Science and Food Innovation Center ผลักดันด้าน Healthy foods เช่น Plant based food สร้างความยั่งยืนทางอาหารสำหรับประชากรโลก
3.2 Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการติดตั้ง EV Charging Station ที่อาคารเรียนของวิทยาลัยนานาชาติ

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
1. การศึกษา มีรายวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs จำนวน 1,198 รายวิชา แบ่งเป็นรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี 1,167 รายวิชา และหลักสูตรปริญญาโท 31 รายวิชา เช่น รายวิชา Practical Field Ecology and Conservation ที่ตอบเป้าหมาย SDG 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก เป็นต้น
2. การวิจัย โครงการส่งเสริมการผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับ SDGs
3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement Service-Learning courses การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการวัด pre-impact และ post-impact ที่เกิดขึ้นกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุง ซึ่งรายวิชาดังกล่าวจะเปิดสอนต่อเนื่องทั้งปี
4. Campus Operations SDGs-driven Project -Waste to Zero / Waste management project – การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED – กิจกรรมส่งเสริม SDGs ในหลักสูตร Short term program – สร้างฐานข้อมูลของรายวิชาส่งเสริม Green university – พัสดุใช้วัสดุ Recycle

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 19/2566 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 19/2566 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม R-114 อาคาร 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ และระบบออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. Salaya Smart Liveable City
2. ABET: The 1st ABET Engineering Education in Thailand
3. MUEG and EECi / Amata Corp Collaboration for EEC National Strategy
4. Mahidol Engineering: The Leading of Council of Engineering Deans toward Thailand Engineering Platform
5. World RoboCup 2022: A Mega Event for Promoting Mahidol and International Industrial Collaboration
6. Healthcare and Medical Innovation Hub: Policy, R&D, Standard and Testing, and Commercialization
7. Interdisciplinary Education for New Generation Engineers and Innovators

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – AI in Medicine / Medical Robotics / Digital Health Platform
1.2 Global Health
      – Governance Medical Innovation and AI Ethic and Regulations
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – Medical Innovation Program
2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
      – Medical Robotics and Active Medical Device Standard
2.3 Innovation in Health & Wellness
      – Medical Robotics and Active Medical Device Products
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – Global Talents, HRD, IDP, การผลิตกําลังคนสมรรถนะสูง
4. Social Enterprise
4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – Rehabilitation Engineering for Disabilities
4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – Salaya Smart Livable City, Thailand Medical Science Park
5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods
      – Salt Restriction for Hypertension and Kidney Diseases
5.2 Inclusiveness
      – Thailand Mental Health Center
5.3 Capacity Building
      – International Strategic Partnership Program
5.4 Sustainable City & Community (Climate change)
      – Transit Oriented Development, PM 2.5, Urban and Transport Planning, Salaya Liveable City, MQDC-Brain-Computer Interface Technology for Neuroarchitecture

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – Engineering Education Sandbox/ Micro-credit/ Credit Bank
การวิจัย
      – Mahidol- UN ESCAP SDG Solution Lab
บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – Engineering for Social Responsibility
Campus Operations
      – Sustainable Energy Transition

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 18/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 18/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา พร้อมผู้บริหารโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 109 โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มุ่งพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบ outcome-based education ในระดับบัณฑิตศึกษา และมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในวงกว้าง โดยมีแผนปรับปรุงวิชาเลือกระดับปริญญาตรีให้บรรจุอยู่ในหลักสูตร MUGE ของมหาวิทยาลัย
2. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้าทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้แก่ เป้าหมายที่ 4, 5, 10 และ 16
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา ขยายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรทางการศึกษาชาวเมียนมาร์ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในปีงบประมาณ 2565

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
1.1 Inclusiveness
      – โครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก
1.2 Capacity Building
      – โครงการ Enhancing Access to Education on Human Rights, Democracy & Peace in Myanmar (สนับสนุนโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ค)
      – โครงการ Promoting Human Rights and Peace Education in ASEAN/SEA (สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยออสโล นอร์เวย์)
      – โครงการ Strengthening Human Rights and Peace Education and Research in Southeast Asia (สนับสนุนโดยรัฐบาลสวีเดน)

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมสวมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – โครงการ Global Campus of Human Rights Asia-Pacific

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 17/2566 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 17/2566 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมคณะฯ ตึกอำนวยการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
2. ระบบสารสนเทศบริหารการศึกษา SiCMS (ยกเลิกการใช้งานระบบ SiCMS และใช้ระบบ REXX แทนระบบเดิม)
3. Siriraj Research Sandbox (หยุดพักโครงการ ดำเนินการเฉพาะในส่วน Emerging Infectious Disease)
4. โครงการศิริราชสัปปายสถานเพื่อการบริรักษ์เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์บริรักษ์ศิริราช : บางใหญ่ นนทบุรี” (เริ่มดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2565-2569 เนื่องจากอยู่ระหว่างสรุปราคากลาง คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนกันยายน 2566)
5. โครงการอาคารรักษาพยาบาล และสถานีศิริราช (ดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2567-2570)
6. Emerging Infectious Disease

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
1.2 Global Health Governance
      – โครงการวิจัยด้านสุขภาพโดยนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – โครงการพัฒนาหลักสูตร ป.ตรีและบัณฑิตศึกษา Flexi Program/ Modules
      – SHEE Online courses การอบรมผ่านระบบ Online
2.2 Innovation in Health & Wellness
      – การจัดตั้ง Siriraj Excellent Innovation Center (SI EIC) ศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อความเป็นเลิศ
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – SI Academy Project (โรงเรียนผู้บริหาร (Executive School), โรงเรียนบริหาร (Management School), โรงเรียนวิชาชีพ (Professional School))
      – Increase Employee HR Self Service Portal เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการรับบริการด้านทรัพยากรบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์ 24 ชั่วโมง
      – Collaboration with TPQI to Establish Functional Competency Certification เพื่อสร้างการรับรองมาตรฐานวิชาชีพตามความสามารถในการทำงานตามลักษณะงานหรือสายงานที่เฉพาะเจาะจง
4. Social Enterprise
4.1 ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเฉพาะผลิตผลจากพืชสมุนไพร
      – โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากองค์ความรู้และงานวิจัย ของสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สู่การเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ กัมมี่สมุนไพรตรีผลา ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ผลิตภัณฑ์ใหม่ : ผลิตภัณฑ์กัมมี่สมุนไพรตรีผลา)
      – โครงการจ้างผลิตแชมพูอัญชัน เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ภายใต้สัญญารักษาความลับกับบริษัท ไบโอแลป จำกัด (ส่งเสริมการรับดอกอัญชันเพิ่มมากขึ้นจากเกษตรชุมชน)(ผลิตภัณฑ์แชมพูอัญชัน ที่มีล็อตการผลิตใหญ่)
      – โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจสอบและวิเคราะห์ยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรศิริราช (Siriraj Herbal – Drug Examination and Analysis Central Laboratory -SiHAC) (- จำนวนตัวอย่างที่ทำการตรวจสอบ ปีละ 1,000 ตัวอย่าง – จำนวนวิธีทดสอบที่ได้รับรองมาตรฐาน 6 วิธี)
5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods
      – Siriraj Healthy Canteen
      – SIVITT Betagro Collaboration on Healthy Meals for Health Conscious and NCD Preventive Consumers
5.2 Capacity Building
      – แผนพัฒนา lifelong learning platform
      – CAPACITY BUILDING FOR FOREIGN POSTGRADUSTES
5.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการพลังงานและสาธารณูปโภคอย่างยั่งยืน
      – Siriraj Healthy Organization and Wellbeing หรือ SiHOW โมเดลองค์กรสุขภาวัฒนะ 7 ด้าน

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การวิจัย
1. การทดสอบเทคโนโลยีดิจิทัล และ 5G สำหรับให้บริการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตร่วมกับระบบปรึกษาทางไกล ได้รับทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 85,874,004.60 บาท
2. การพัฒนาห้องปฏิบัติการจีโนมเพื่อรองรับโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย ได้รับทุนจากงบ ววน. 2563 – Re-submit 63 – สวรส. 53,200,000 บาท
3. โครงการพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยภาพทางรังสี ได้รับทุนจาก กทปส: กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ 35,894,648 บาท
4. One Health Drivers of Antibacterial Resistance in Thailand ได้รับทุนจาก University of Bristol 17,240,000.01 บาท
5. การสำรวจสุขภาวะโรคกระดูกและข้อในผู้สูงอายุของประเทศไทย ระยะที่ 2 และผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ ได้รับทุนจาก วช : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 15,000,000 บาท

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 16/2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 16/2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี นายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ พร้อมผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 250 ที่นั่ง อาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. ด้านการวิจัย สนับสนุนทุนวิจัยแก่บุคลากรในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้มีผลงานวิจัยที่สอดคล้อง ต่อการพัฒนาพื้นที่คุณภาพชีวิตประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญ และเป็นสากล
      2. ด้านการเรียนการสอน การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาโดยการบูรณาการการเรียนการสอนแบบสหสาขา และสนับสนุนส่งเสริมให้มีรายวิชาที่เป็น Flexible Program และ Credit Bank พัฒนาหลักสูตรภายใต้มาตรฐาน AUN-QA
      3. ด้านการบริการวิชาการ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวในการเสริมสร้างความคิดเชิงบริหารสำหรับเด็ก (Executive Function) ในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนฯ และจัดทำแผนพัฒนาด้านเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม อาทิเช่น การวิจัยผลิตกระชายขาว เป็นต้น
      4. การสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงด้านวิชาการและการวิจัย เช่น วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Quang TriMedical College, Hue University, The University of Danang

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Social Enterprise
1.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – โครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570

2. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
2.1 Inclusiveness
      – โครงการปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง/ ผู้สูงอายุ
      – โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
2.2 Capacity Building
      – งานประชุมวิชาการสาธารณสุข ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2565 The 3rd inter-institutional public health conference “Innovation and research for public health development under challenging era”
2.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – ติดตั้งสถานีวัดฝุ่นขนาดเล็ก เพื่อใช้ติดตามและประเมินสถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
3.1 การศึกษา ภาพรวมของหลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่สอดคล้องกับ SDGs อาทิ
SDG 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี : หลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต เช่น โครงการปันยิ้ม
SDG 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
      – หลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต เช่น การจัดสัมมนาวิชาการเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้ในหัวข้อเกี่ยวกับรายวิชาที่เปิดสอน
      – หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มีการศึกษาดูงานในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง
SDG 6 น้ำสะอาดและสุขอนามัย
      – หลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต เช่น โครงการลงพื้นที่ต่าง ๆ
      – หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น งานวิจัยของนักศึกษาในหัวข้อเกี่ยวกับการจัดการน้ำ
SDG 7 พลังงานสะอาด ราคาถูก : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น รายวิชา อจกษ 331 (ระบบชลประทาน เกษตรกลวิธานและพลังงาน เพื่อการเกษตร)
SDG 8 งานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น จัดกิจกรรมงานเศรษฐกิจชุมชน
SDG 13 แก้ปัญหาโลกร้อน
      – หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น รายวิชา อจกษ 264/374 การออกแบบภูมิทัศน์และวัสดุพืชพรรณ
      – หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ดูงานการเปลี่ยนแปลงด้านระบบนิเวศ
SDG 15 ชีวิตบนบก
      – หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น รายวิชา อจกษ 351 ความหลากหลายทางทรัพยากรพืชและการประยุกต์ใช้สมุนไพรทางการเกษตร
      – หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาระบบนิเวศเขาใหญ่ สำรวจภาคสนามด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

3.2 การวิจัย
โครงการสนับสนุนทุนวิจัยจากโจทย์วิจัยในพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง จำนวนทั้งสิ้น 6 โครงการย่อยที่สอดคล้องกับ SDGs ดังนี้
      – SDG 4 โครงการการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
      – SDG 4 โครงการการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนอนุเฉทของนักศึกษา ที่ไม่ได้เรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ:การวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเทศไทย จีน เวียดนาม ลาว
      – SDG 3 โครงการความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ส่วนบนกับฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 6 และเขตสุขภาพที่ 10
      – SDG 2 โครงการการผสานความร่วมมือกับพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิต รายย่อยในระบบอาหารท้องถิ่น: กรณีศึกษาอาหารประเภทผัก บ้านหนองเม็ก ต.คึมใหญ่ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
      – SDG 2 โครงการ การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของมันพื้นบ้านเพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าวและบรรจุภัณฑ์
      – SDG 15 โครงการการวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลผังบริเวณพื้นที่สีเขียว โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ

3.3 บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
      – Day Care Center โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน พื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการ “การพัฒนากลไกสานเสริมพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนพื้นที่รูปธรรมสุขภาวะ ภาคอีสาน (โครงการสาน เสริมพลังภาคี)
      – โครงการศึกษาดูงานและฝึกประสบการณ์การเยี่ยมบ้านบูรณาการสหวิชา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต
      – หน่วยบริการตรวจวิเคราะห์คุณภภภาพน้ำและอาหาร บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์และห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์

3.4 Campus Operations
      – SDG 6 ผลิตน้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบตามธรรมชาติ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร เข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในการอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืน
      – SDG 12 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
      – SDG 15 กิจกรรมปลูกป่าในวันสำคัญต่าง ๆ ณ พื้นที่ตำบลสร้างนกทา

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 15/2566 ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 15/2566 ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ บริเวณ Co-MU Space ชั้น 1 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
      1. จัดตั้ง Analytic Research Center เป็นศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ ISO 11620
      2. สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21
      3. โครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการให้บริการห้องสมุดสู่สถาบันการศึกษาทุกระดับในประเทศไทย (Library to Classroom) และ Library Digital KM
      4. โครงการส่งเสริมการเข้าถึงผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยสื่อวีดิทัศน์ ผลิตรายการ The Author
      5. โครงการ “Mahidol Historical Learning Experience เด็กไทยใจมหิดล” จัดทำ Games Application เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยมหิดล และใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนสำหรับสถานศึกษาเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและกรุงเทพฯ
      6. โครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลให้กับโรงเรียนในชุมชนโดยรอบ และเผยแพร่เรื่องราวเชิงประวัติและผลงานของมหาวิทยาลัยไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ
      7. ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ กับสมาชิกภาคีข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค PULINET Plus และกิจกรรมความร่วมมือกับ AUNILO – Libraries of ASEAN University Network ในการร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ และพัฒนากิจกรรมวิชาการ รวมถึงการลงนามในหนังสือเก็บบันทึกข้อตกลงความเข้าใจที่ตรงกัน (MOU) กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยระดับสากล

2. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 และ ISO 14001:2015
      – โครงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว สำนักงานสีเขียว และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 14/2566 ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 14/2566 ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. ปี 2564 วางระบบ เตรียมความพร้อม และปี 2565 เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัยระดับ 3 หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับสูง ให้บริการทั้งบุคลากรภายในคณะฯ และภายนอกคณะฯ
      2. พัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก 2 หลักสูตร
      3. เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการเสนอขอทุนต่างประเทศ เพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อปี เช่น ทุน NIH, Wellcome Trust, EU, etc.
      4. จัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM)
      5. ศูนย์วิชาการและวิจัยด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวของประเทศไทย

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – โครงการ M-Health (ปรับปรุงระบบ มาลาเรีย Mobile Health เพื่อการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย)
      – โครงการ Vaccine Information Management System [VIMS] (ระบบบริหารจัดการข้อมูล ที่ครอบคลุมทุกด้านของวัคซีน)
      – โครงการ Public Health Informatics: Where IT Meets Public Health (การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศศาสตร์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ)
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – โครงการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นอนามัยโรงเรียน (จัดทำหลักสูตรระยะสั้นแบบ VIRTUAL CONFERENCE)
2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
      – โครงการอบรมมัคคุเทศก์กับภาคเอกชน (การประชุมวิชาการโดยจะเน้นให้ความรู้ด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว มัคคุเทศก์)
2.3 Innovation in Health & Wellness
      – โครงการตรวจหาไข่พยาธิโดยใช้ AI (Artificial Intelligence: AI)
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสอบ TOEIC (บุคลากรสายสนับสนุนได้มีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน)
4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
4.1 Healthy Foods
      – โครงการอาหารสุขภาพในศูนย์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
4.2 Capacity Building
      – โครงการการเขียนขอทุนวิจัยต่างประเทศ (ทุน NIH, Wellcome Trust เป็นต้น)
      – โครงการInternational Research Laboratory: Health, Disease Ecology, Environment and Policy (IRL-HEALTHDEEP), การจัดอบรมและประชุมวิชาการนานาชาติ
      – โครงการ International Training MU-HOKKAIDO-SEOUL ด้าน Health & Environment สำหรับนักศึกษา ปริญญาโทและปริญญาเอก
      – โครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัย การศึกษา และสาธารณสุขชุมชน กับวิทยาเขตอำนาจเจริญ และวิทยาเขตนครสวรรค์
4.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – โครงการ Solar Roof เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – โครงการพัฒนาบทเรียนดิจิตอล และห้องปฏิบัติการเสมือนจริงโรคเขตร้อน

การวิจัย
      – โครงการ Meet the academic publishers

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการพลังชุมชนลดการติดโรคหนอนพยาธิ ในกลุ่มประชาชน และนักเรียนพื้นที่ทุรกันดาร แนวตะเข็บชายแดน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

Campus Operations
      – โครงการรณรงค์เขตร้อนรักษ์โลก และกิจกรรมการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 13/2566 ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 13/2566 ของคณะเภสัชศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. ผลงานวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เรื่อง/คน/ปี และมีจำนวนการอ้างอิงเฉลี่ย 10 ครั้ง/เรื่อง
      2. ผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่ท้องตลาดทั้งโดยตรงและผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่บนความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ และให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย
      3. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก AUNQA และ ACPE เป็นหลักสูตรแรกของไทย
      4. หลักสูตร PharmD (International) เริ่มดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2566
      5. โรงงานยาของคณะเริ่มเปิดดำเนินการปี พ.ศ. 2566
      6. ร่วมกับส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – การบูรณาการฐานข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์ร่วมกับสารสนเทศทางการสาธารณสุข สำหรับการป้องกันการแพ้ยาที่รุนแรง ในการให้บริการในระบบสาธารณสุข (ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) เพื่อนำไปใช้กับ application หมอพร้อม
1.2 Global Health Governance
      – Health Technology Assessment to support universal health coverage across the globe

2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – ร่วมประชุมกับมหาวิทยาลัยในการจัดทำหลักสูตร Health & Wellness และพร้อมส่งมอบอาจารย์และรายวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยจะจัดทำ

3. Social Enterprise
3.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน (ลพบุรี กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ)

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
4.1 Healthy Foods
      – กลุ่มโครงการอาหารทางการแพทย์ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าว
4.2 Inclusiveness
      – โครงการศึกษาสถานการณ์การจัดบริการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดระบบข้อมูลเพื่อการให้บริการของประเทศไทย และต่างประเทศ
      – การสำรวจค่าใช้จ่ายการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทยและภาวะวิกฤตทางการเงินต่อผู้ป่วยและครอบครัวแบ่งตามระดับความยากจน
4.3 Capacity Building
      – Capacity Building Training on Health Technology Assessment for Low-to-middle-income countries (LMIC)
4.4 Sustainable City & Community (Climate change)
      – โครงการ “น่าน Sandbox” ผลักดันสมุนไพรสู่การสร้างเศรษฐกิจเพื่อลดความยากจนและรักษาสิ่งแวดล้อม
      – กลุ่มโครงการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านและการใช้พืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทยและจากชั้นตะกอนดินในแหล่งโบราณคดี

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – การพัฒนาวิชาการศึกษาทั่วไป “สมุนไพรในชีวิตประจำวัน” สำหรับนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยที่สนใจ (ปัจจุบันแล้วเสร็จไป 2 modules)
      – รายวิชา “สมุนไพรในชีวิตประจำวัน” บน Platform MUx เพื่อสนับสนุน life-long learning ของประชาชน

การวิจัย
      – การวิจัยเพื่อสนับสนุน universal health coverage และ reimbursement policies ของไทยและกลุ่มประเทศ Low-to-middle-income countries (LMIC)
      – การวิจัยเพื่อการกำหนดมาตรฐานสมุนไพรไทยสนับสนุนการขยายตัวของ Thai Herbal Pharmacopoeia และเพิ่มจำนวนสมุนไพรในบัญชียาสมุนไพรแห่งชาติ
      – โครงการฐานข้อมูล chromatographic fingerprint สมุนไพรและตำรับยาสมุนไพรไทย ด้วยเทคนิค LC-MS/MS
      – โครงการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาเชื้อดื้อยาและการจัดการ

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการ Herbal Appreciation (เผยแพร่ความรู้เรื่องสมุนไพร เพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับพืชสมุนไพร และให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยพืชสมุนไพร)
      – การผลักดันให้ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายสมุนไพร) ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC: 17025:2017 เพื่อยกระดับการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
      – ฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก (ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
      – ฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน