คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 6/2566 ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 6/2566 ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมกระแส ชนะวงศ์ ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. หลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ได้รับ Global Accreditation (AUN-QA)
  2. จัดตั้ง ASEAN Primary Health Care Research and Information Centre (APRIC) เพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัยและฐานข้อมูลด้านการพัฒนา PHC ในภูมิภาคอาเซียน
  1. ขับเคลื่อนการทำงานภารกิจสุขภาพโลกมหิดลอย่างเป็นรูปธรรม (MUGH) และสนับสนุน ให้เกิด School of Global Health and Health Policy (SGHP)
  1. จัดตั้ง Mahidol Active Ageing Policy Watch Centre (MAPC) และเสนอนโยบายฯ เพื่อสุขภาพ Active Ageing ในนามของมหาวิทยาลัยมหิดล
  1. สนับสนุนให้เกิดการใช้เครื่องมือ Healthy University Rating System (HURS) ที่ริเริ่มโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ในเครือข่ายสมาชิกของ ASEAN University Network–Health Promotion Network (AUN-HPN) และระดับนานาชาติ
  1. ผลักดัน Journal of Public Health and Development ของสถาบันฯ ให้อยู่ใน Scopus

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health

  • เปิด Global Health Special Track ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะนี้มีนักศึกษาปริญญาเอกจำนวน 2 คน ที่มาศึกษาในหลักสูตร โดยได้รับทุน MUGH
  • เปิดรายวิชา Digital Health และ Climate Change Adaptation ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเปิดสอนในภาคเรียนที่ 2/2566

2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

  • สถาบันฯ จะร่วมสอนในหลักสูตร Health & Wellness

3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

  • เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการด้วยแผน Strategic HR ปรับอัตราบุคลากรให้เหมาะสมกับภาระงาน

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Capacity Building

  • พัฒนากำลังคนด้าน Primary Health Care ในประเทศ CLMV และกลุ่ม Ethnics โดยสนับสนุนทุนการศึกษาจาก International Partner

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

การศึกษา

  1. พัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สอดคล้องกับ SDGs

การวิจัย

  1. มุ่งเน้น Issue Based เรื่อง Primary Health Care Management and Global Health

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. สำนักงานเลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN ดำเนินการโครงการ “การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ” เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน
  2. การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในระบบสุขภาพเพื่อการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ “การเพิ่มสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยการเรียนรู้ร่วมกัน ในการปฏิบัติท่ามกลางความเป็นจริง

Campus Operations

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรและมีหลักธรรมาภิบาล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 5/2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 5/2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารวิทยาเขตฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมนิภาธรรมวงศ์ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อเนกประสงค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ จำนวน 39 เรื่องบนพื้นฐานของปัญหาในพื้นที่ และส่งเสริมผลิตนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาในท้องถิ่นอย่างน้อย 1 เรื่อง
  2. พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีให้เป็น Flexible education : micro credential ภายใต้มาตรฐาน AUN-QA และพัฒนาหลักสูตรให้เป็น upskill/reskill และรายวิชาในระบบ MUx
  3. ศูนย์การแพทย์ฯ วางแผนพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร รองรับปัญหาของผู้สูงอายุระยะ Post-acute และขยายการให้บริการทางการแพทย์ตามความต้องการของพื้นที่ ภายในปีงบประมาณ 2565 โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่
  4. พัฒนา MUNA Farm ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นต้นแบบให้กับชุมชนในการทำเกษตรแนวใหม่ รวมถึงผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไป และเป็นแหล่งฝึกงานภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาหลักสูตรวท.บ.เกษตรกรปราชญ์เปรื่อง และส่งเสริมงานวิชาการเพื่อสังคม
  5. ศูนย์ฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญาธรรมชาตินครสวรรค์ เตรียมความพร้อมในการสร้างระบบนิเวศน์ทางวิชาการทางฟิสิกส์ทฤษฎีและการประยุกต์กับศาสตร์อื่น ๆ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ผลิตผลงานวิจัยระดับสูงทางฟิสิกส์ทฤษฎี จักรวาลวิทยา และองค์ความรู้รากฐานในศาสตร์อื่น ๆ โดยผลิตผลงานวิจัย ปีละ 2 เรื่องต่อคน และเตรียมความพร้อมในการเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญาธรรมชาติ
  6. พัฒนาองค์กรเป็น Mindful Campus ร่วมกับศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และขยายสู่สังคมและชุมชนโดยรอบในจังหวัดนครสวรรค์

 

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

  • แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจังหวัดนครสวรรค์ด้านเป็นศูนย์กลาง Medical Hub และแผนพัฒนาสถานพยาบาล Wellness center for Aging เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและความงาม และดูแลมาตรฐานผลิตภัณฑ์

2Structure & HR Resource

2.1 การปรับโครงสร้าง

  • การเตรียมความพร้อมการปรับโครงสร้างการบริหารงานออกเป็นวิทยาเขตนครสวรรค์

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

  • การสรรหาอาจารย์/นักวิจัย ศักยภาพสูงมาปฏิบัติงาน ภายใต้โครงการรับอาจารย์หรือนักวิจัยศักยภาพสูง (Global Talent) ปีงบประมาณ 2566 บรรจุอาจารย์ศักยภาพสูง ระดับ 2 expert 1 ท่าน (ดร.สมพงศ์ โอทอง)

3. Social Enterprise

3.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
       • โครงการการยกระดับคุณภาพดินตะกอนบึงบอระเพ็ดด้วย วัชพืชน้ำตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model)
       • โครงการปุ๋ยเพื่อชุมชนภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Healthy Foods

  • โครงการ MUNA Farm สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • เครือข่ายเมล็ดพันธุ์

4.2 Sustainable City & Community (Climate change)

  • การขับเคลื่อนเครือข่ายบึงบอระเพ็ด
  • การขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการน้ำ
  • ศูนย์ข้อมูลบึงบอระเพ็ด
  • พัฒนาศักยภาพและทักษะการผลิตพืช แบบพึ่งพาตนเอง
  • การจัดการขยะต้นทางแบบมีส่วนร่วมชุมชนต้นแบบ หมู่ 1 ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัยจังหวัดนครสวรรค์
  • โครงการจัดการขยะชุมชน ที่ต้นทาง และปลายทาง

 

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

การศึกษา

  1. โครงการ MUNA Farm สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. 10 ปี ของวิทยาเขตนครสวรรค์ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาบึงบอระเพ็ด
  2. กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
  3. มาตรฐาน MU Organic
  4. การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบปล่อยอิสระ เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย Campus Operations
  5. การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
  6. โครงการร้านอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค สุขภาพชุมชนเขาทองยั่งยืน
  7. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้านตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
  1. โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
  2. โครงการการยกระดับคุณภาพดินตะกอนบึงบอระเพ็ดด้วยวัชพืชน้ำตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model)
  3.   โครงการปุ๋ยเพื่อชุมชนภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

Campus Operations

1. การเปิดรับนักศึกษาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

2. การให้ทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษา โครงการสานฝันทายาทเกษตร โครงการสานฝันเกษตรพันธุ์ใหม่ และโครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์

3. โครงการขยายการจัดสรรพื้นที่ห้องน้ำสำหรับทุกเพศ (All-gender restroom)

4. การกำหนดราคาอาหารที่เหมาะสม ตามหลักเกณฑ์และข้อตกลงเบื้องต้น ประจำปีการศึกษา 2565

5. การจัดการขยะภายในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 4/2566 ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 4/2566 ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบัน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 109 อาคารปัญญาพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 พัฒนาหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกภาคพิเศษแบบออนไลน์

1.2 ผลักดันให้เกิดหลักสูตรแบบ Double Degree จำนวน 2 หลักสูตร

1.3 วิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ

1.4 พัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ 1 ชิ้น เช่น Board Game

1.5 พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) แบบออนไลน์ 1 หลักสูตร

1.6 ปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของอาคารศูนย์ศาลายา (เดิม) เป็น Digital Innovative Learning Complex

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluste r: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

2.1 Structure & HR Resource

การปรับโครงสร้าง – ทบทวนการปรับโครงสร้าง

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ – ทบทวนอัตรากำลัง / พัฒนาขีดความสามารถบุคลากร

2.2 Social Enterprise

จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

โครงการจัดตั้ง IL Business Development Unit

2.3 แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

Healthy Foods โครงการวิจัยและพัฒนา Board game ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับ Consumption for good health

Inclusiveness โครงการจิตตปัญญาศึกษาเพื่อปรับฐานใจให้ครูในโรงเรียนนำร่อง จังหวัดสมุทรสาคร

Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการวิจัยและพัฒนา Board game ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับ Climate change

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

3.1 การวิจัย – โครงการส่งเสริมการทำวิจัยเชื่อมโยงกับประเด็น SDGs

3.2 Campus Operations – การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อน SDGs ของส่วนงาน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 3/2566 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 3/2566 ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้อง 204 อาคารพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1.1 พัฒนาวิทยาลัยสู่อันดับ Top 50 ของมหาวิทยาลัยโลก ในสาขา Performing Arts จัดอันดับโดย QS World University Subject Rankings

1.2 โครงการพัฒนา Mahidol Music Connection

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

2.1 Health & Wellness

– Innovation in Health & Wellness โครงการดนตรี ผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Music Entrepreneurship and Innovation (MEI))

2.2 Structure & HR Resource

– การบริหารทรัพยากรมนุษย์ โครงการพัฒนา Team Building สร้างทีมสัมพันธ์ ร่วมกันขับเคลื่อนวิทยาลัยสู่ TOP 50 และโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง Change Agent

2.3 แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

Inclusiveness โครงการส่งเสริมพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ด้วยพลังดนตรีสร้างเสริมกิจกรรมและประสบการณ์ดนตรีที่หลากหลายเพื่อการขับเคลื่อนสังคมให้เข้มแข็งและสร้างสุขภาวะที่ดี ดนตรีเพื่อพัฒนาสุขภาวะทุกช่วงวัย

Sustainable City & Community (Climate change)

โครงการพัฒนาด้านดนตรีบำบัดสำหรับการฟื้นฟูสมรรภาพด้านการแพทย์

– โครงการสนับสนุนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองนครปฐมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สาขาดนตรี ของ UNESCO

– โครงการพัฒนา ส่งเสริมประสบการณ์ทางด้านดนตรี (Side by side , City Line Music Stations, Salaya Tiny young)

3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

การศึกษา

  1. โครงการพัฒนาระบบทุนการศึกษา (ทุนเปรมดนตรี)

การวิจัย

  1. ศึกษาและวิจัยองค์ประกอบดนตรีที่มีผลต่อสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง และทดสอบองค์ประกอบดนตรีที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงในเด็กและเยาวชน
  2. โครงการพัฒนา Artistic research

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. โครงการสนับสนุนความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองนครปฐมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์สาขาดนตรีของ UNESCO

Campus Operations

  1. 1. โครงการพัฒนาการบริหารทรัพยากรกายภาพที่มีประสิทธิภาพและสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน

     

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Sustainable Development Goals กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” Categories

วันที่ 7 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Sustainable Development Goals กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารสินทรัพย์ กล่าวรายงานการอบรม โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเข้าร่วมงาน ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายหัวข้อ “SDG101 และการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานสภา มหาวิทยาลัยมหิดล กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม กองแผนงาน กองทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากรของแต่ละส่วนงานเข้าร่วมการอบรม จำนวนทั้งสิ้น 119 ราย ณ ห้อง 217 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566

จากนั้น เป็นการเสวนา หัวข้อ “ESG กับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และคุณสุกิจ อุทินทุ ผู้อำนวยการคนแรกของ องค์กรรัฐมนตรีศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (SEAMEO SEPS) และคุณพจนาพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการกลุ่มขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและกรอบพหุพาคี กองยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการเสวนา ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) และประธานสาขาการจัดการที่ยั่งยืน (Managing for Sustainability) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายของสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (From Vision to Action) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนงาน มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ

สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวาย พระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด้จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2566

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม จำนวน 30 รูป จากนั้น มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และพิธีถวายพระพรชัยมงคล โอกาสนี้ มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีและร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสดุดีจอมราชา ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวาย พระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด้จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณพระบรมราชินี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 2/2566 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 2/2566 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. โครงการ Wellness Residence Complex ที่ดิน 300 ไร่ & Transportation
2. เปิดหลักสูตรร่วม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
3. ยื่นสมัครขอรับรางวัล TQC Plus และ TQA
4. เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อาคารเรียน 2 (อาคารปรีคลินิกและศูนย์วิจัย)
5. การก่อสร้างอาคารกายวิภาคทางคลินิก
6. การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1.Global Health
1.1 Digital Health
  • ร่วมการปฏิรูปและสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพผลักดันระบบ IT ด้านสาธารณสุข โดยได้ร่วมกำหนด standard data set
  • ร่วมพัฒนา Digital Health / Health Information Systems โดยส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าระบบ Health Information Exchange ในรูปแบบ HL7 FHIR เพื่อให้มีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยกับองค์กรภายนอกที่เป็นมาตรฐานกลาง
    1.2 Global Health Governance
  • ทำงานร่วมกับคณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล
  • ร่วมคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) และร่วมประชาสัมพันธ์
  • พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนนักศึกษาผ่านโครงการต้นกล้ารามาธิบดี เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เหมาะสมในการขอรับพระราชทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
  • โครงการสนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี Wifi 6E เพื่อยกระดับการบริการและการศึกษาทางการแพทย์
  • โครงการ Initiative Coordinated Antidotes Procurement in the South-East Asia Region (iCAPS) เป็นโครงการที่องค์การอนามัยโลก สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) เสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยาต้านพิษของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    2.Health & Wellness
  • 2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
  • จัดทำหลักสูตร double degree : หลักสูตร พ.บ. – กจ.ม. (แพทยศาสตรบัณฑิต – การจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ))
    3.Structure & HR Resource
  • 3.1 การปรับโครงสร้าง
  • การจัดตั้งสถาบันราชสุดา (ยุบวิทยาลัยราชสุดา)
  • การทบทวนการจัดโครงสร้างบริหารของคณะฯ (ตามวาระคณบดี) 3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • การทบทวนหลักเกณฑ์การบรรจุบุคลากร ในส่วนคะแนนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเกณฑ์ปัจจุบัน สำหรับตำแหน่งสายวิชาชีพ เช่น พยาบาล เภสัชกร เป็นต้น
  • โครงการพัฒนาระบบบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินสมรรถนะ และการวางแผนพัฒนารายบุคคล
  • การทบทวนแนวทางการจัดสวัสดิการบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
    4.Social Enterprise (เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
  • 4.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต : ส่งเสริมงานวิจัยด้าน Drug discovery (เวชภัณฑ์ สมุนไพร)
    5.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
    5.1 Healthy Foods : ผลักดันนโยบายลดเค็ม
    5.2 Inclusiveness
  • โครงการบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน
  • ดำเนินการ Home Palliative Care
  • RAMA Channel และ 4 ผลักดันผลงานวิชาการสู่นโยบายสาธารณะ

  • 3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
    การศึกษา
    1. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กับกระทรวงสาธารณสุข (SDGs 3, 17)
    การวิจัย
    1. โครงการแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัด และอุปกรณ์ชีววิศวกรรมการแพทย์แบบผสม (SDGs 3, 9, 17)
    2. การพัฒนาห้องปฏิบัติการเชิงนโยบาย เพื่อสร้างระบบบริการสุขภาพแบบเน้นคุณค่า สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (SDGs 3, 9, 17)
    3. ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ร่วมกำหนดมาตรฐานการตรวจพันธุกรรมและการแปลผล การตรวจยีน BRCA1/ BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (SDGs 3, 9, 17)
    4. นโยบายชุมชนลดเค็ม (SDGs 3, 9, 17)
    บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
    1. โครงการรามาธิบดีเพื่อโรงพยาบาลชุมชน (SDGs 1, 3, 17)
    2. โครงการพลังชุมชนต้านภัยมะเร็ง (SDGs 3)
    3. การพัฒนาด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ร่วมกับคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ (SDGs 2,3,12,17)
    4. RAMA Channel (SDGs 3, 4)
    5. โครงการ Cancer Anywhere (SDGs 3)
    6. โครงการ Happy Healthy Ramathibodi for 2023 (SDGs 2, 3)
    7. โครงการเครือข่ายมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี (SDGs 3, 17)
    8. โครงการ ปันความรู้ สู่สุขภาพดี (SDGs 3,10, 17)
    9. โครงการพัฒนาต้นแบบเกมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับครอบครัวเด็กวัยประถม (SDGs 3,10,17)
    10. โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี (SDGs 1, 2, 3, 6, 7, 12, 13, 15, 17)
    11. โครงการรามาร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ (SDGs 3, 11, 12, 13, 14)
    12. โครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและรับรองโรงเรียนปลอดภัย (SDGs 3, 17)
    13. โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนปลอดภัย (SDGs 3, 17)
    14. โครงการขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก จากสิ่งที่ค้นพบสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง (SDGs 3, 10,16)
    Campus Operations
    1. ติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Cell Rooftop) ที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (SDGs 7, 17)
    2. อาคารจอดรถรามาธิบดี-พลังงานบริสุทธิ์ (SDGs 7, 17)
    3. โครงการ วน (SDGs 12, 17)
    4. โครงการ Paper X กระดาษเก่าแลกใหม่ และโครงการแกลลอนล้างไตของใช้แล้วมาเป็นส่วนผสมของกระถางต้นไม้รีไซเคิล (SDGs 12, 17)

    คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 1/2566 ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 1/2566 ของคณะทันตแพทยศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมเทพรัตน์ทันตกิจสโมสร ชั้น 4 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

    1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
    1. หลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA จำนวน 4 หลักสูตร
    2. ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาล 2 โรงพยาบาลและสร้างศูนย์ความเป็นเลิศทางการให้บริการทางทันตกรรม และ Digital Healthcare
    3. ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) ภายในปี 2566
    4. Double Degree หลักสูตรปริญญาตรี ทบ. + ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ (+ปริญญาโท CMMU)
    5. พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพและต่อยอดเชิงพาณิชย์
    6. เสริมพลังเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ
    7. Smart Dental Hospital (พัฒนา Smart Application)
    8. จัดหารถทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อบริการทางทันตกรรมเข้าถึงประชาชนสะดวกยิ่งขึ้น

    2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
    1. Global Health
    1.1 Digital Health
  • โครงการร่วมพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาลทันตกรรม Smart Dental Hospital Application
  • โครงการพัฒนาระบบจัดการข้อมูลทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากทางไกลสำหรับศูนย์ทันตกรรมพระราชทานและทันตกรรมเคลื่อนที่ (Smart Tele-Dental Application)
  • โครงการเชื่อมโยงข้อมูลการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วย โดย Platform Health Link
    1.2 Global Health Governance
  • Phasing Down Dental Amalgam Project
  • International Special Need Oral Care Medical Service Network
    2.Health & Wellness
  • กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness โครงการร่วมร่างหลักสูตร Health & Wellness
  • Innovation in Health & Wellness โครงการพัฒนาศักยภาพในผู้พิการทางการเห็นด้วยสื่อภาพนูน ”สัมผัสแทนสายตา สู่การพัฒนาอย่างเท่าเทียม”
    3.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
  • Inclusiveness โครงการจัดหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงสู่ชุมชน
  • Sustainable City & Community (Climate Change) การได้รับรองมาตรฐานด้าน Environmental Health and Safety Campus ระดับสูง

  • 3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
    การศึกษา
    1. Double Degree หลักสูตรปริญญาตรี ทบ. + ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ (+ปริญญาโท CMMU) 2. โครงการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ในประเทศ และ ต่างประเทศ 3. โครงการOutcome-based Curriculum (OBC) Re-design for D.D.S. 4. Smart Dental Hospital
    การวิจัย
    1. ระบบ Research Management
  • ระบบสนับสนุนเงินวิจัย
  • Research Facility
  • ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการวิจัยมาตรฐาน
    2. ระบบส่งเสริมสนับสนุนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา
    3. ระบบสนับสนุนด้านงานวิจัยข้ามศาสตร์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและสถาบันในต่างประเทศ
    การบริการวิชาการและส่งเสริม Community Engagement
  • 1. ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาล 2 โรงพยาบาลและสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ ทางการให้บริการทางทันตกรรม และ Digital Healthcare
    2. โครงการบริการผู้ป่วยติดเตียงแบบต่อเนื่องโดยสหสาขาวิชาชีพ
    3. โครงการจัดหน่วยเคลื่อนที่ส่งเสริมทันตสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุสู่ชุมชน
    4. โครงการศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ
    Campus Operations
    1. โครงการ Quality Improvement Council (QIC)
    2. โครงการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (SHE)
    3. โครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อความยั่งยืนขององค์กร
    4. โครงการร่วมพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาลทันตกรรม Smart Dental Hospital Application

    การอบรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล

    วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 บุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรฯ ในการพัฒนาตนเองและองค์กร โดยการเขียนงาน ( Flow chart ) เพื่อต่อยอดจากงานประจำสู่มหกรรมคุณภาพ ซึ่งได้รับเกียรติจากอาจารย์ศิริลักษณ์ เกี่ยวข้อง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ มาเป็นวิทยากรตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีการดำเนินงานจัดโครงการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งการอบรมดังกล่าวสามารถนำมาต่อยอดเขียนผลงานเพื่อนำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นการเพิ่มพูนทักษะ ความรู้พัฒนาศักยภาพของตนเอง และขององค์กรต่อไป

    มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวโครงการ Policy Advocacy 2023

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดตัวโครงการ Policy Advocacy 2023 พร้อมมอบสัญญารับทุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (Policy Advocacy 2023) และมอบนโยบายพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมให้แก่ผู้รับทุนในโครงการ Policy Advocacy 2023 โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานในรายละเอียด โครงการฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และรักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนผู้บริหารส่วนงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 530 ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

    ภายในงาน มีการนำเสนอโครงการ Conceptual frameworks จากหัวหน้าโครงการผู้ได้รับทุน อาทิ
    โครงการที่ 1: การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล กาญจนสุธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการที่ 2: กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคมในโรงพยาบาลชุมชน นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาดัม นีละไพจิตร วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการที่ 3: เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการที่ 4: แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการที่ 5: “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาพใจวัยรุ่น: ผลงานวิจัยสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พวงเพชร เกสรสมุทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดยุทธศาสตร์ Policy Advocacy and Leaders in Professional/ Academic Services โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นผู้นำด้านสุขภาวะเชิงนโยบายระดับชาติและนานาชาติ ด้วยการสร้างระบบขับเคลื่อนและสนับสนุน Policy Advocacy จากการนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลหลากหลายสาขาวิชาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่นโยบายระดับประเทศ ยังเป็นการนำไปสู่การชี้นำสังคมและขับเคลื่อน 17 เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติเพื่อสังคมที่ดีขึ้นในโอกาสต่อไป