นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ ของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑.ผลักดันหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ให้ได้รับการรับรอง AUN-QA
๒. สนับสนุนบุคลากรในส่วนงานให้เข้าสู่ตําแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น
๓. ทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ
๔.ผลักดัน Startup / Business Development Unit (BDU) โดยขยายขอบเขตการดำเนินงานไปสู่ AI Robot, Neuroscience, Transformative Education ซึ่งจะทําให้มี Short Course เพิ่มขึ้นอีก ๒ หลักสูตร ภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ (หลักสูตร Neuro Leadership, หลักสูตร Neuro Marketing)
๕. Modular Course Design จํานวน ๒ วิชา ภายในปีงบฯ ๒๕๖๔ เช่น วิชา Measurement and Evaluation in Education และ วิชา Psychology and Philosophy for Education

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. พัฒนาหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกภาคพิเศษแบบออนไลน์
๒. ผลักดันให้เกิดหลักสูตรแบบ Double Degree จำนวน ๒ หลักสูตร
๓. ผลักดันงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศให้มากขึ้น
๔. พัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้
๕. พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) แบบออนไลน์
๖. ปรับปรุงพื้นที่บางส่วนของอาคารศูนย์ศาลายา ให้เป็น Digital Innovative Learning Complex

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ในเรื่องการจัดอันดับจากผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ให้อยู่ในอันดับ ๑ ของประเทศ ติดต่อกัน ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๓) พร้อมทั้งเสนอให้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการเรียนรู้ สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศและส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง