นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ครั้งที่ ๙/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยราชสุดา

วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๙/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยราชสุดา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. โอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับคนพิการบนพื้นฐานทางปัญญา
๒. 2-Year Pilot Project of Flexible Education: 1-Year Non-Degree Program
๓. ยกระดับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเห็นให้เป็น “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเห็น”
๔. จัดตั้งศูนย์บริการล่ามภาษามือไทย
๕. พัฒนาเครือข่าย “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป”

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. RSMU Excellent Independence Living Center เป็นการบูรณาการเชิงระบบของพันธกิจด้านการวิจัย การศึกษา การบริการวิชาการ ที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมของคนพิการ โดยเริ่มที่สามประเภทความพิการด้านกาย (ทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว)
๒. RSMU Green สร้างการเรียนรู้และปฏิบัติการให้เกิดพื้นที่สีเขียว

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของวิทยาลัยราชสุดา และขอให้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเสนอให้เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานด้านผู้พิการทุกประเภท โดยหาความร่วมมือกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย เช่น โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเภสัชศาสตร์ และสถาบันนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ฯลฯ เพื่อสร้างผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรมและชี้นำสังคมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งเสนอให้วิทยาลัยฯ เปิดหลักสูตรที่รองรับผู้พิการทุกประเภท นอกจากผู้พิการทางการมองเห็นและผู้พิการทางการได้ยิน เช่น ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยออทิสติก เป็นต้น เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา และพัฒนาล่ามภาษามือไทยไปสู่ล่ามภาษามือในระดับสากล