คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 2/2566 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 2/2566 ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. โครงการ Wellness Residence Complex ที่ดิน 300 ไร่ & Transportation
2. เปิดหลักสูตรร่วม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
3. ยื่นสมัครขอรับรางวัล TQC Plus และ TQA
4. เปิดอาคารศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อาคารเรียน 2 (อาคารปรีคลินิกและศูนย์วิจัย)
5. การก่อสร้างอาคารกายวิภาคทางคลินิก
6. การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีและย่านนวัตกรรมโยธี

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1.Global Health
1.1 Digital Health
  • ร่วมการปฏิรูปและสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพผลักดันระบบ IT ด้านสาธารณสุข โดยได้ร่วมกำหนด standard data set
  • ร่วมพัฒนา Digital Health / Health Information Systems โดยส่งข้อมูลผู้ป่วยเข้าระบบ Health Information Exchange ในรูปแบบ HL7 FHIR เพื่อให้มีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยกับองค์กรภายนอกที่เป็นมาตรฐานกลาง
    1.2 Global Health Governance
  • ทำงานร่วมกับคณะกรรมการเฉพาะด้านระบบสุขภาพดิจิทัล
  • ร่วมคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการนานาชาติประจำปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC) และร่วมประชาสัมพันธ์
  • พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนนักศึกษาผ่านโครงการต้นกล้ารามาธิบดี เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เหมาะสมในการขอรับพระราชทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
  • โครงการสนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี Wifi 6E เพื่อยกระดับการบริการและการศึกษาทางการแพทย์
  • โครงการ Initiative Coordinated Antidotes Procurement in the South-East Asia Region (iCAPS) เป็นโครงการที่องค์การอนามัยโลก สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) เสนอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยาต้านพิษของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    2.Health & Wellness
  • 2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
  • จัดทำหลักสูตร double degree : หลักสูตร พ.บ. – กจ.ม. (แพทยศาสตรบัณฑิต – การจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ))
    3.Structure & HR Resource
  • 3.1 การปรับโครงสร้าง
  • การจัดตั้งสถาบันราชสุดา (ยุบวิทยาลัยราชสุดา)
  • การทบทวนการจัดโครงสร้างบริหารของคณะฯ (ตามวาระคณบดี) 3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • การทบทวนหลักเกณฑ์การบรรจุบุคลากร ในส่วนคะแนนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเกณฑ์ปัจจุบัน สำหรับตำแหน่งสายวิชาชีพ เช่น พยาบาล เภสัชกร เป็นต้น
  • โครงการพัฒนาระบบบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินสมรรถนะ และการวางแผนพัฒนารายบุคคล
  • การทบทวนแนวทางการจัดสวัสดิการบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
    4.Social Enterprise (เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
  • 4.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต : ส่งเสริมงานวิจัยด้าน Drug discovery (เวชภัณฑ์ สมุนไพร)
    5.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
    5.1 Healthy Foods : ผลักดันนโยบายลดเค็ม
    5.2 Inclusiveness
  • โครงการบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน
  • ดำเนินการ Home Palliative Care
  • RAMA Channel และ 4 ผลักดันผลงานวิชาการสู่นโยบายสาธารณะ

  • 3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
    การศึกษา
    1. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กับกระทรวงสาธารณสุข (SDGs 3, 17)
    การวิจัย
    1. โครงการแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัด และอุปกรณ์ชีววิศวกรรมการแพทย์แบบผสม (SDGs 3, 9, 17)
    2. การพัฒนาห้องปฏิบัติการเชิงนโยบาย เพื่อสร้างระบบบริการสุขภาพแบบเน้นคุณค่า สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (SDGs 3, 9, 17)
    3. ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ร่วมกำหนดมาตรฐานการตรวจพันธุกรรมและการแปลผล การตรวจยีน BRCA1/ BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (SDGs 3, 9, 17)
    4. นโยบายชุมชนลดเค็ม (SDGs 3, 9, 17)
    บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
    1. โครงการรามาธิบดีเพื่อโรงพยาบาลชุมชน (SDGs 1, 3, 17)
    2. โครงการพลังชุมชนต้านภัยมะเร็ง (SDGs 3)
    3. การพัฒนาด้านเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ร่วมกับคณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ (SDGs 2,3,12,17)
    4. RAMA Channel (SDGs 3, 4)
    5. โครงการ Cancer Anywhere (SDGs 3)
    6. โครงการ Happy Healthy Ramathibodi for 2023 (SDGs 2, 3)
    7. โครงการเครือข่ายมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี (SDGs 3, 17)
    8. โครงการ ปันความรู้ สู่สุขภาพดี (SDGs 3,10, 17)
    9. โครงการพัฒนาต้นแบบเกมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับครอบครัวเด็กวัยประถม (SDGs 3,10,17)
    10. โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี (SDGs 1, 2, 3, 6, 7, 12, 13, 15, 17)
    11. โครงการรามาร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ (SDGs 3, 11, 12, 13, 14)
    12. โครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและรับรองโรงเรียนปลอดภัย (SDGs 3, 17)
    13. โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการชุมชนปลอดภัย (SDGs 3, 17)
    14. โครงการขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก จากสิ่งที่ค้นพบสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง (SDGs 3, 10,16)
    Campus Operations
    1. ติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Cell Rooftop) ที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (SDGs 7, 17)
    2. อาคารจอดรถรามาธิบดี-พลังงานบริสุทธิ์ (SDGs 7, 17)
    3. โครงการ วน (SDGs 12, 17)
    4. โครงการ Paper X กระดาษเก่าแลกใหม่ และโครงการแกลลอนล้างไตของใช้แล้วมาเป็นส่วนผสมของกระถางต้นไม้รีไซเคิล (SDGs 12, 17)