คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 17/2566 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 17/2566 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมคณะฯ ตึกอำนวยการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
2. ระบบสารสนเทศบริหารการศึกษา SiCMS (ยกเลิกการใช้งานระบบ SiCMS และใช้ระบบ REXX แทนระบบเดิม)
3. Siriraj Research Sandbox (หยุดพักโครงการ ดำเนินการเฉพาะในส่วน Emerging Infectious Disease)
4. โครงการศิริราชสัปปายสถานเพื่อการบริรักษ์เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์บริรักษ์ศิริราช : บางใหญ่ นนทบุรี” (เริ่มดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2565-2569 เนื่องจากอยู่ระหว่างสรุปราคากลาง คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนกันยายน 2566)
5. โครงการอาคารรักษาพยาบาล และสถานีศิริราช (ดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2567-2570)
6. Emerging Infectious Disease

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
1.2 Global Health Governance
      – โครงการวิจัยด้านสุขภาพโดยนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – โครงการพัฒนาหลักสูตร ป.ตรีและบัณฑิตศึกษา Flexi Program/ Modules
      – SHEE Online courses การอบรมผ่านระบบ Online
2.2 Innovation in Health & Wellness
      – การจัดตั้ง Siriraj Excellent Innovation Center (SI EIC) ศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อความเป็นเลิศ
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – SI Academy Project (โรงเรียนผู้บริหาร (Executive School), โรงเรียนบริหาร (Management School), โรงเรียนวิชาชีพ (Professional School))
      – Increase Employee HR Self Service Portal เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการรับบริการด้านทรัพยากรบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์ 24 ชั่วโมง
      – Collaboration with TPQI to Establish Functional Competency Certification เพื่อสร้างการรับรองมาตรฐานวิชาชีพตามความสามารถในการทำงานตามลักษณะงานหรือสายงานที่เฉพาะเจาะจง
4. Social Enterprise
4.1 ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเฉพาะผลิตผลจากพืชสมุนไพร
      – โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากองค์ความรู้และงานวิจัย ของสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สู่การเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ กัมมี่สมุนไพรตรีผลา ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ผลิตภัณฑ์ใหม่ : ผลิตภัณฑ์กัมมี่สมุนไพรตรีผลา)
      – โครงการจ้างผลิตแชมพูอัญชัน เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ภายใต้สัญญารักษาความลับกับบริษัท ไบโอแลป จำกัด (ส่งเสริมการรับดอกอัญชันเพิ่มมากขึ้นจากเกษตรชุมชน)(ผลิตภัณฑ์แชมพูอัญชัน ที่มีล็อตการผลิตใหญ่)
      – โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจสอบและวิเคราะห์ยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรศิริราช (Siriraj Herbal – Drug Examination and Analysis Central Laboratory -SiHAC) (- จำนวนตัวอย่างที่ทำการตรวจสอบ ปีละ 1,000 ตัวอย่าง – จำนวนวิธีทดสอบที่ได้รับรองมาตรฐาน 6 วิธี)
5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods
      – Siriraj Healthy Canteen
      – SIVITT Betagro Collaboration on Healthy Meals for Health Conscious and NCD Preventive Consumers
5.2 Capacity Building
      – แผนพัฒนา lifelong learning platform
      – CAPACITY BUILDING FOR FOREIGN POSTGRADUSTES
5.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการพลังงานและสาธารณูปโภคอย่างยั่งยืน
      – Siriraj Healthy Organization and Wellbeing หรือ SiHOW โมเดลองค์กรสุขภาวัฒนะ 7 ด้าน

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การวิจัย
1. การทดสอบเทคโนโลยีดิจิทัล และ 5G สำหรับให้บริการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตร่วมกับระบบปรึกษาทางไกล ได้รับทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 85,874,004.60 บาท
2. การพัฒนาห้องปฏิบัติการจีโนมเพื่อรองรับโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย ได้รับทุนจากงบ ววน. 2563 – Re-submit 63 – สวรส. 53,200,000 บาท
3. โครงการพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยภาพทางรังสี ได้รับทุนจาก กทปส: กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ 35,894,648 บาท
4. One Health Drivers of Antibacterial Resistance in Thailand ได้รับทุนจาก University of Bristol 17,240,000.01 บาท
5. การสำรวจสุขภาวะโรคกระดูกและข้อในผู้สูงอายุของประเทศไทย ระยะที่ 2 และผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ ได้รับทุนจาก วช : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 15,000,000 บาท