วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 20/2566 วิทยาลัยนานาชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมจรินทร์ยารัศมิ์ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. ความยั่งยืนขององค์กร ส่งเสริมด้านสุขภาพ (Health) และความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) สร้าง Global Talent พัฒนาองค์กรโดยใช้ SDG principles สร้าง Value chain of iHE และ Data-driven Organization
2. เป็นเลิศทางการเรียนการสอน สร้างนวัตกรรมทางการศึกษา (Innovative Curriculum) เสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ของนักศึกษา และสร้าง Online courses (MUIC CONNECT)
3. งานวิจัยและความร่วมมือ สร้างจิตวิญญาณ ความมุ่งมั่น และความร่วมมือภายในวิทยาลัยในการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานวิจัย และกิจกรรมแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)
2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Health & Wellness กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness สาขาวิชาโท Health Innovation Design
2. Innovation in Health & Wellness โครงการจัดตั้ง MUIC Inspire Center จัดแข่งขันวิชาการโดยใช้โจทย์จากภาคอุตสาหกรรม (Student Think Tank)
3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
3.1 Healthy Foods การจัดตั้ง Culinary Science and Food Innovation Center ผลักดันด้าน Healthy foods เช่น Plant based food สร้างความยั่งยืนทางอาหารสำหรับประชากรโลก
3.2 Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการติดตั้ง EV Charging Station ที่อาคารเรียนของวิทยาลัยนานาชาติ
3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
1. การศึกษา มีรายวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs จำนวน 1,198 รายวิชา แบ่งเป็นรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี 1,167 รายวิชา และหลักสูตรปริญญาโท 31 รายวิชา เช่น รายวิชา Practical Field Ecology and Conservation ที่ตอบเป้าหมาย SDG 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก เป็นต้น
2. การวิจัย โครงการส่งเสริมการผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับ SDGs
3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement Service-Learning courses การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการวัด pre-impact และ post-impact ที่เกิดขึ้นกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุง ซึ่งรายวิชาดังกล่าวจะเปิดสอนต่อเนื่องทั้งปี
4. Campus Operations SDGs-driven Project -Waste to Zero / Waste management project – การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED – กิจกรรมส่งเสริม SDGs ในหลักสูตร Short term program – สร้างฐานข้อมูลของรายวิชาส่งเสริม Green university – พัสดุใช้วัสดุ Recycle