คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 28/2566 ของคณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 28/2566 ของคณะพยาบาลศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมจันทนา นิลวรางกูร ชั้น 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 ขยายความร่วมมือและผลักดัน The MU-JHU NCDs Research Collaborative Center เป็นศูนย์กลางการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลในการควบคุมและจัดการโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับ WHOCC ใน SEARO และสถาบันการศึกษาใน 3 ทวีป (อเมริกาเหนือ เอเชีย ออสเตรเลีย)

1.2 เปิดให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร่วมเป็นเครือข่ายร่วมให้บริการของ สปสช. ในปี 2565

1.3 หลักสูตรบัณฑิตศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากลอย่างน้อย 2 หลักสูตร

1.4 พัฒนาห้องปฏิบัติการเสมือนจริง

1.5 พัฒนาหลักสูตร double degree

1.6 ขับเคลื่อนคณะฯ สู่ TQC+

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Digital Health

– “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาพใจวัยรุ่น: ผลงานวิจัยสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง (แผนงานการพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่น)

– แผนงานแพลตฟอร์มการจัดการและติดตามการใช้ยาวอร์ฟารินทางไกลสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

– Asthma Bot for Kid

1.2 Global Health Governance

– โครงการความร่วมมือThe MU-JHU NCDs Research Collaborative Center กับ WHOCC SEARO เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางสุขภาพในการควบคุมและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

– พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการวิจัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภายใต้โครงการ D43 Post-Doctoral Traineeship in NCD Research, University of Michigan

2. Health & Wellness

2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– การจัดการศึกษาปริญญาตรีควบปริญญาโท หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม

– หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต ปริญญาตรีควบปริญญาโท

3. Structure & HR Resource

3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– โครงการ NS Transformation (การบริหารรายได้และรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ: การเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน) โดยการพัฒนาแผนงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านคณะฯ สู่ความยั่งยืน (Develop transformation roadmap)

– คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเป็นการเพิ่มแหล่งฝึกในการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการพัฒนาความเชี่ยวชาญของอาจารย์

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Healthy Foods

– โครงการการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการจัดบริการมุมนมแม่ในสถานประกอบการ (SDG 2, 3)

– โครงการ Health Literacy in Pregnant Women (โครงการการพัฒนากลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ 270 วันแรกแห่งชีวิต) (SDG 2, 3, 4, 5, 10, 17)

4.2 Inclusiveness

– โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยและยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร (SDG 3, 4, 10)

– โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติแบบบูรณาการบริการวิชาการและวิจัย (SDG 3, 4, 10)

– โครงการการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ดีของสามเณรวัดไผ่ดำ จังหวัดสิงห์บุรี (SDG 3)

4.3 Capacity Building

– โครงการ Integrated care for older people (ICOPE) Short course training:  A person centered care model (SDG 3, 17)

– Short Course Training (Hypertension, Diabetes, CKD) (SDG 3, 17)

– โครงการ Intensive training for continuing care system in high-risk pregnancy in LAO PDR (SDG 3, 4, 17)

– แผนงานต้นแบบชุมชนร่วมพลังร่วมใจรองรับสังคมผู้สูงวัยเขตเมือง (SDG 3, 4)

– หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง (16 สาขา) (SDG 3)

– หลักสูตรการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์

– หลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง (SDG 3, 4)

4.4 Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการ “We Change to Stop Climate Change” (SDG 13)

– โครงการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste)

– โครงการจัดทำระบบจัดการน้ำเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ

– โครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า (ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร ศาลายา และเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเป็นแบบแยกส่วนชนิด Inverter อาคารพระศรีพัชรินทร บางกอกน้อย)

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย  

1. การศึกษา

– โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน

– โครงการส่งเสริมการเรียนแบบสหสาขาวิชาชีพ

– โครงการพัฒนาสถาบันการศึกษาพยาบาลในการจัดทำหลักสูตรมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือ Outcome Based Education, OBE (SDG 4)

– โครงการพัฒนาหลักสูตร Double Degree for PhD Program คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ National Cheng Kung University (NCKU), Taiwan (SDG 4, 17)

2. การวิจัย

– โครงการวิจัยความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัยในประเทศไทย (SDG 3, 4)

– โครงการวิจัยต้นแบบชุมชนร่วมพลังร่วมใจรองรับสังคมผู้สูงวัยเขตเมือง (SDG 3, 4, 11)

– โครงการ Long COVID (SDG 3, 4, 10)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการพัฒนาคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้เป็นคลินิกต้นแบบในเขตชุมชนเมือง (SDG 3)

– โครงการพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์เป็นสถาบันรับรองมาตรฐานสถานประกอบการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (SDG 2, 3)

– โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยและยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร (SDG 3, 4)

– โครงการความร่วมมือกับ Mombie เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (SDG 3)

– โครงการความร่วมมือกับ Young Happy เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (SDG 3)

4. Campus Operations

– โครงการสถานศึกษาปลอดภัย