วันที่ 24 กันยายน 2565 มหาวิทยาลัยมหิดลจัดพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องใน “วันมหิดล” ประจำปี 2565 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลา พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงาน บุคลากร และนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสนี้ มีหน่วยงานภายนอกบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะฯ ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ฯ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
จากนั้น เป็นพิธีเปิดนิทรรศการ “ครุยปริญญา ศักดิ์และสิทธิ์แห่งวิทยฐานะมหิดล” ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดขึ้นเนื่องใน “วันมหิดล” ประจำปี 2565 โดยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชุดครุยปริญญาของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
“วันมหิดล” เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กันยายน ของทุกปี ด้วยพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงวางรากฐานแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของไทยให้เจริญก้าวหน้า บุคลากรทางการแพทย์ การสาธารณสุข จึงได้ถือให้วันนี้เป็นวัน “มหิดล” เพื่อถวายราชสักการะ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย”
Author: anchalee akarayen
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสภามหาวิทยาลัยมหิดล MU : The Way Forward 2022
Posted on by anchalee akarayen
วันที่ 26 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนาสภามหาวิทยาลัยมหิดล MU : The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมรองอธิการบดีทุกฝ่าย ศาสตราจารย์คลินิกพิเศษ นายแพทย์เสรี ตู้จินดา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการเสวนาและรับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์
จากนั้น เป็นการนำเสนอของ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยผู้บริหารส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพงษ์ ฐิตะมาดี ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา
ในภาคบ่ายเป็นการนำเสนอของ กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยผู้บริหารส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยราชสุดา อาจารย์ ดร.พิบูลย์ ชุมพลไพศาล คณบดีวิทยาลัยศาสนศึกษา
การนำเสนอของ กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยผู้บริหารส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ นายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทร์ทิพย์ สพ.บ. ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
การเสวนาครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นเพื่อระดมความคิดจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จากการเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (MU Council Visit) ประจำปี 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกัน ทั้งในด้านวิจัย วิชาการ และการบริการวิชาการสู่สังคม เพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ วันที่ ๒ เรื่อง “การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs”
Posted on by anchalee akarayen
วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs” ซึ่งการจัดงานในวันนี้เป็นวันที่ ๒ ของการอบรมดังกล่าว โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายใน หัวข้อ “Mahidol University & Sustainable Development Goals” กล่าวว่า “SDGs เป็นเป้าหมายระดับโลกขององค์การสหประชาชาติที่มี ๑๙๓ ประเทศ มุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ภายในปี ค.ศ. 2030 และพนักงานมหาวิทยาลัยมหิดลทุกท่าน เป็นผู้ที่มีส่วนร่วม ในการสนับสนุนการบรรลุ SDGs ในระดับประเทศ และระดับโลกต่อไป” ทั้งนี้ มีบุคลากรสายสนับสนุนที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ของแต่ละส่วนงานเข้าร่วมการอบรม จำนวน 36 ส่วนงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๒๐ ท่าน ณ ห้องประชุม ๒๑๘ ชั้น ๒ อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕
จากนั้น เป็นการบรรยายในหัวข้อ “งานวิจัยจะช่วยให้มนุษย์และธรรมชาติดํารงอยู่อย่างสมดุลได้หรือไม่” โดย คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กล่าวถึง “The Global Goals ในเรื่อง ความขจัดความยากจน ความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่มีคุณภาพ ความเท่าเทียมทางเพศ น้ำสะอาดและสุขาภิบาล พลังงานสะอาดและจ่ายได้ งานที่มีคุณค่าเศรษฐกิจที่เติบโต อุตสาหกรรม นวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ลดความเหลื่อมล้ำ เมืองและชุมชนยั่งยืน และการผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบ การรับมือกับ Climate Change นิเวศทางทะเลและมหาสมุทร ระบบนิเวศบนบก สันติภาพและสถาบันเข้มแข็ง และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา รวมทั้งเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และหัวข้อ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการรายงานผลกระทบของมหาวิทยาลัย ตามกรอบ Times Higher Education” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชล บุนนาค ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) หัวข้อ “Mahidol University’s theory of Corporate Sustainability: Policy implications for MU sustainable development ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร รองคณบดีงานวิจัย และผู้อํานวยการศูนย์วิจัยภาวะผู้นําอย่างยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ และการนําเสนอ Workshop และสรุปการบรรยาย ทําแบบทดสอบ Post-Test โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ พร้อมทีมงานจากวิทยาลัยการจัดการ ร่วมดำเนินรายการตลอดทั้ง ๒ วัน
สำหรับการอบรมฯ ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายของสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (From Vision to Action) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างเครือข่ายกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนรวม มหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs”
Posted on by anchalee akarayen
วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายเเพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเรียนรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และรักษาการแทนหัวหน้าสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานการอบรม ณ ห้องประชุม ๒๑๘ ชั้น ๒ อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นเป็นเวลา ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ จัดโดย สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล บูรณาการร่วมกับ วิทยาลัยการจัดการ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม กองแผนงาน และกองทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี
จากนั้น เป็นการบรรยาย โดยทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ หัวข้อ “Roles of Higher Educations for SDGs” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ “SDGs : นโยบายและแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี และหัวข้อ “จากมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) สู่มหาวิทยาลัยยั่งยืน (Sustainable University)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุน หรือผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของแต่ละส่วนงาน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่าย และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนต่อส่วนงาน มหาวิทยาลัย และประเทศชาติต่อไป
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายเเพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs เป็นสิ่งที่ประเทศไทยและสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวม ๑๙๓ ประเทศ ร่วมรับรองในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ จะเห็นว่าโครงการนี้ใช้เวลาดำเนินการ ทั้งสิ้น ๑๕ ปี เหลือระยะเวลาอีก ๘ ปีเท่านั้น องค์การสหประชาชาติ ได้ติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละประเทศตลอดมา และในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ นี้ ประเทศไทยจะถูกจัดอันดับที่ ๔๔ ของโลกในการมุ่งสู่เป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมี ๑๗ ข้อ แบ่งเป็นกลุ่มตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน ๕ มิติ หรือ 5P ได้แก่
๑. People การพัฒนาคน เพื่อขจัดปัญหาความยากจน ความหิวโหยและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
๒. Planet คือ การปกป้องและรักษา สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพภูมิอากาศเพื่อพลเมืองโลกรุ่นต่อไป ๓. Prosperity คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี และสอดคล้องกับธรรมชาติ
๔. Peace คือ สันติภาพและความยุติธรรม โดยยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคม และสงบสุขไม่แบ่งแยก
๕. Partnership เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดล มีความหลากหลายทั้งองค์ความรู้ ที่จะสามารถนำมาบูรณาการ สามารถจัดเตรียมทักษะความรู้ และความเข้าใจให้แก่นักศึกษา เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีปัญญา สามารถบริหารจัดการกับความท้าทาย และขยายโอกาสในการดำเนินการวิจัยที่ก้าวหน้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ในส่วนกิจกรรมวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ มีการบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ หัวข้อ “Mahidol University & Sustainable Development Goals” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภาและอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ “งานวิจัยจะช่วยให้มนุษย์และธรรมชาติดํารงอยู่อย่างสมดุลได้หรือไม่” โดย คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ หัวข้อ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการรายงานผลกระทบของมหาวิทยาลัย ตามกรอบ Times Higher Education” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชล บุนนาค ผู้อํานวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) หัวข้อ “Mahidol University’s theory of Corporate Sustainability: Policy implications for MU sustainable development “ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร รองคณบดีงานวิจัย และผู้อํานวยการศูนย์วิจัยภาวะผู้นําอย่างยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ จากนั้น จะเป็นการนําเสนอ Workshop และสรุปการบรรยาย ทําแบบทดสอบ Post-Test โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ พร้อมทีมงานจากวิทยาลัยการจัดการ ร่วมดำเนินรายการ
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายจัดอบรมหลักสูตรธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 WELLNESS & HEALTHCARE BUSINESS OPPORTUNITY PROGRAM FOR EXECUTIVES (WHB)
Posted on by anchalee akarayen
วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “The Future of Thai Healthcare and Wellness Business During and Post Covid-19 crisis: Opportunities and Challenges” ในการอบรมหลักสูตรธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ ๒ WELLNESS & HEALTHCARE BUSINESS OPPORTUNITY PROGRAM FOR EXECUTIVES (WHB) โอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดโครงการอบรม พร้อมกล่าวปฐมกถา โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการฝ่ายบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ และรองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมสุขุมวิท ๑-๔ ชั้น ๓ JW Marriott Hotel Bangkok ถนนสุขุมวิท ซอย ๒ กรุงเทพฯ
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง Health & Wellness คือ การรักษาสุขภาพให้ดี การอยู่ดีมีสุข การใช้ชีวิตให้มีศักยภาพสูงสุด คือสิ่งที่สำคัญที่สุด และการตั้งเป้าในอนาคตให้ประเทศไทยเป็น ‘ผู้นำการแพทย์จีโนมิกส์’ ของอาเซียนใน ๕ ปี ข้างหน้า นอกจากนี้ ได้เน้นในเรื่องแนวทางการพัฒนาไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ ๔ ด้าน ได้แก่ ๑. Wellness Hub ที่เป็นการบริการอย่างครบวงจร ๒. Medical Service Hub ที่บูรณาการระบบการทำงานเพื่อสร้างสุขภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ต่อยอดกับระบบสปาซึ่งถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทยและเป็นจุดหนึ่งที่หลายประเทศเข้ามาใช้บริการ ๓.Academic Hub ที่เกี่ยวกับสุขภาพ และ ๔. Product Hub เพื่อสร้างความพร้อมให้ไทยมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุขทั้งบุคลากรและมาตรฐานการให้บริการ เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
สำหรับการอบรมหลักสูตรธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ ๒ จัดขึ้น ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข The Department of Community and Global Health, The University of Tokyo, Huawei Technologies (Thailand) Co., Ltd. และ บริษัท Siam Health Development เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้อุตสาหกรรมทางการแพทย์ครบวงจรเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตของประเทศไทย รวมทั้งมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ของโลก โดยมีเป้าประสงค์ให้ผู้บริหารและผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ในประเทศไทย และผู้ที่สนใจธุรกิจด้านนี้ตระหนักถึงความก้าวหน้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์สมัยใหม่ รวมถึงเล็งเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Wellness & Healthcare ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid-19 และเป็นการตอบสนองนโยบายที่สำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล ทางด้านการให้บริการวิชาการโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ
สภามหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง “นโยบายและทิศทางการบูรณาการงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ”
Posted on by anchalee akarayen
วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในโอกาสมาบรรยายพิเศษ เรื่อง “นโยบายและทิศทางการบูรณาการงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๕๗๙ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ได้กล่าวถึง นโยบายการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สอดรับกับนโยบายรัฐบาล และการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทางด้านการศึกษาอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในระบบการเรียนการสอน และการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เช่น การจัดสอบ GAT/PAT สำหรับเด็กนักเรียนที่มีอาการเล็กน้อย มีความเสี่ยงสูง หรือนักเรียนที่อยู่ระหว่างการรักษาอาการของโรคโควิด-19 ให้สามารถเข้าสอบได้ โดยความร่วมมือของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นในการเสริมจุดแข็ง การสร้างองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อเป็นการวางรากฐานสำหรับอนาคต การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ และการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรมในการผลิตกำลังคนระดับสูง ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น การบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work-integrated Learning) การสร้างตลาด งานวิจัยที่ท้าทายสำหรับนักวิจัยที่มีศักยภาพ ทั้งสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย ของรัฐ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญด้านการวิจัย สร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ
ผลการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย จากคณาจารย์ประจำ
Posted on by anchalee akarayen
ผลการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย จากผู้บริหารระดับคณบดีหรือเทียบเท่า
Posted on by anchalee akarayen
มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท WHA Group เข้าประชุมหารือจัดตั้ง Centralized Warehouse เพื่อโรงพยาบาลศิริราช
Posted on by anchalee akarayen
วันที่ 5 เมษายน 2565 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุมหารือการจัดตั้ง Centralized Warehouse เพื่อโรงพยาบาลศิริราช พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย หัวหน้าศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ และ คุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานร่วมกันสำหรับความเป็นไปได้ในการจัดตั้งคลังกลางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ ที่จะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และต้นทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านทางระบบออนไลน์
การจัดตั้ง Centralized Warehouse เพื่อโรงพยาบาลศิริราช ในครั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์มุ่งหวังจะให้เป็นหนึ่งในโครงการ Start Up ของมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นต้นแบบของการจัดการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพของโรงพยาบาลและองค์กรด้านสุขภาพในประเทศไทย แนวทางการจัดตั้งจะเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและกลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีความพร้อมด้านการบริการโลจิสติกส์ 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1. ธุรกิจพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ (Logistic Hub) 2. ธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรม (Industrial Development Hub) 3. ธุรกิจให้บริการสาธารณูปโภคและพลังงาน (Utilities & Power) 4. ธุรกิจให้บริการด้านดิจิทัล (Digital Platform Hub)
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลล แถลงข่าวเปิดตัว “สิรินเด้นท์” ยาสีฟันสมุนไพรน้ำมันมะพร้าวเพื่อรักษาสุขภาพและเพิ่มความชุ่มชื่นในช่องปาก
Posted on by anchalee akarayen
มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนางานวิจัยสู่… สิรินเด้นท์ ยาสีฟันสมุนไพรน้ำมันมะพร้าว มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปากที่ก่อให้เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ ลดกลิ่นปาก และลดอาการปากแห้ง ช่วยดูแลสุขภาพของช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ (วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๕) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ยาสีฟัน “สิรินเด้นท์” เป็นยาสีฟันที่มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายอนุสิทธิบัตรแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ผลิต และใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า “สิรินเด้นท์” ชื่อภาษาอังกฤษ “Sirindent”
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนายาสีฟันที่มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อและสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นภายในช่องปาก เนื่องจากผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีปัญหาริมฝีปากและภายในช่องปากแห้งจากสภาวะต่าง ๆ หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาบางชนิด ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยเป็นระยะเวลานาน มักจะก่อให้เกิดภาวะปากแห้ง ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่อยู่ในช่องปากมีการสะสม และก่อให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายขึ้น
จากกระแสของแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) ได้มีการนำศาสตร์ทางอายุรเวทมาใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้แก่ การทำ oil pulling หรือ oil swishing (การใช้น้ำมันในการอมกลั้วปากแล้วบ้วนทิ้ง) เชื่อว่ากระบวนการนี้มีประโยชน์ในการป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ ฟันผุ เหงือกอักเสบ กลิ่นปาก และปากแห้ง โดยมีบทความเป็นจำนวนมากที่สนับสนุนคุณสมบัติดังกล่าว สรุปได้ว่า น้ำมันมะพร้าว มีฤทธิ์ต้านเชื้อที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้แก่ ฟันผุ เหงือกอักเสบ และเชื้อรา มีประสิทธิภาพทำความสะอาด cleansing properties จากการสามารถทำให้เกิด saponification การลดเกาะของ plaque โดยไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองจากการที่ไม่มีส่วนผสมของ Sodium lauryl sulfate (SLS) ซึ่งเป็นสารทำให้เกิดฟอง รวมทั้งเป็น Oral moisturizer ที่ดี ในการเพิ่มความชุ่มชื้นภายในช่องปากจากการเคลือบของน้ำมันบนผิวเยื่อบุในช่องปาก
แนวคิดในช่วงแรกเริ่มจากคุณหญิงชวลี อมาตยกุล รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำความมาปรึกษา ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทพญ. ดร.ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร เนื่องจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริ ว่ายาสีฟันสมุนไพรของไทยส่วนใหญ่จะเป็นผง มีส่วนประกอบที่เป็นสมุนไพรที่ล้วนแต่มีประโยชน์น่าจะได้ศึกษาถึงคุณสมบัติต่าง ๆ และนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของยาสีฟันได้ดี ทางคุณหญิงชวลีจึงเห็นสมควรที่ได้ร่วมกันพิจารณาถึงการนำสมุนไพรไทยและน้ำมันมะพร้าว ที่ทาง คณะทันตแพทยศาสตร์ กำลังศึกษาอยู่มาเป็นองค์ประกอบของยาสีฟัน เพื่อใช้ในผู้สูงอายุ หลังจากได้พิจารณาถึงส่วนประกอบของยาสีฟันที่เป็นลักษณะ paste ร่วมกับส่วนประกอบของยาสีฟันสมุนไพรไทยที่มีลักษณะเป็นผง และดำเนินการจัดหาส่วนผสมต่าง ๆ แล้ว จึงได้ทำการทดลองผสมยาสีฟันดังกล่าวเป็นครั้งแรก ณ วังสระปทุม
ต่อมาได้มีการพัฒนาสูตรทำให้ได้องค์ประกอบของยาสีฟันที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็น Oral moisturizer โดยมีส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวในยาสีฟันสูงถึงเกือบ ๓๐% สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นภายในช่องปาก มีส่วนผสมของสมุนไพรหลายชนิด เช่น สารสกัดจากเปลือกมังคุด กานพลู ข่อย อบเชย สะระแหน่ และแอนโทไซยานิน เป็นต้น ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ เหงือกอักเสบและเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก รวมทั้งมีส่วนผสมของเกลือ ประมาณ ๕% จึงช่วยรักษาสุขภาพภายในช่องปาก ป้องกันการก่อตัวของคราบหินปูน ช่วยลดการเกิดและสะสมของแบคทีเรีย ลดฟันผุ รักษาสมดุลในช่องปาก ลดโรคที่เกิดจากเชื้อราในช่องปาก และยังมีกลิ่นหอมจากสมุนไพรไทยอีกหลายชนิด สามารถลดกลิ่นปากหอมสดชื่น ช่วยดูแลสุขภาพของช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทดสอบคุณสมบัติของยาสีฟันโดยสำนักงานการวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ายาสีฟันสิรินเด้นท์สามารถฆ่าเชื้อก่อโรคที่สำคัญในช่องปาก ได้แก่ เชื้อก่อโรคฟันผุ เชื้อก่อโรคปริทันต์อักเสบ และเชื้อราก่อโรคเยื่อบุ ผลการทดสอบยาสีฟันในห้องทดลอง Cytotoxicity test ไม่มีผลการระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวและไม่มีความเป็นพิษ นอกจากนั้นกล่องและหลอดที่เป็นบรรจุภัณฑ์ ยังเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ยาสีฟันสมุนไพรน้ำมันมะพร้าวของไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผลผลิตภายในประเทศเป็นส่วนประกอบ อันจะเป็นการสนับสนุนในการต่อยอดในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกประการหนึ่ง เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะทันตแพทยศาสตร์ และหน่วยงานต่าง ๆ ในหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี เพื่อให้ผลผลิตดังกล่าวสามารถกระจายสู่สาธารณชน ดังนั้นเมื่อวันที่
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการเป็นตัวแทนนำสินค้าออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ยาสีฟันสิรินเด้นท์ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท โอเร็กซ์ เทรดดิ้ง จำกัด ณ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำเนินการผลิตยาสีฟัน
สิรินเด้นท์ ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ ๑๑๙๐๕ เพื่อใช้ทางสาธารณประโยชน์และจัดจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป
นอกจากนี้ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ (วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๕)
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดจัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พร้อมจัดงานแถลงข่าว ผลสำเร็จการพัฒนา “สิรินเด้นท์” ยาสีฟันสมุนไพรน้ำมันมะพร้าว เพื่อรักษาสุขภาพและเพิ่มความชุ่มชื้นในช่องปาก” ในวันศุกร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป
โดยรับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร (นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล) ร่วมแถลงในหัวข้อ “นโยบายมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การสนับสนุนการวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์” รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ (รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
ร่วมแถลงในหัวข้อ “สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ที่เป็นองค์กรในมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์” และรองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์
ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ (คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ร่วมแถลงในหัวข้อ “สิรินเด้นท์” ยาสีฟันสมุนไพรน้ำมันมะพร้าว พร้อมตอบข้อซักถามจากสื่อมวลชน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล