มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวโครงการ Policy Advocacy 2023

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดตัวโครงการ Policy Advocacy 2023 พร้อมมอบสัญญารับทุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (Policy Advocacy 2023) และมอบนโยบายพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมให้แก่ผู้รับทุนในโครงการ Policy Advocacy 2023 โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานในรายละเอียด โครงการฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และรักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนผู้บริหารส่วนงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 530 ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ภายในงาน มีการนำเสนอโครงการ Conceptual frameworks จากหัวหน้าโครงการผู้ได้รับทุน อาทิ
โครงการที่ 1: การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล กาญจนสุธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการที่ 2: กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคมในโรงพยาบาลชุมชน นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาดัม นีละไพจิตร วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการที่ 3: เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการที่ 4: แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการที่ 5: “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาพใจวัยรุ่น: ผลงานวิจัยสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พวงเพชร เกสรสมุทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดยุทธศาสตร์ Policy Advocacy and Leaders in Professional/ Academic Services โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นผู้นำด้านสุขภาวะเชิงนโยบายระดับชาติและนานาชาติ ด้วยการสร้างระบบขับเคลื่อนและสนับสนุน Policy Advocacy จากการนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลหลากหลายสาขาวิชาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่นโยบายระดับประเทศ ยังเป็นการนำไปสู่การชี้นำสังคมและขับเคลื่อน 17 เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติเพื่อสังคมที่ดีขึ้นในโอกาสต่อไป

สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สำนักงานสภาสถาบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วันที่ 25 เมษายน 2566  นางสุนิดา เกียรติวัฒนวิศาล หัวหน้าสำนักบริหารกิจการสภามหาวิทยาลัย และบุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สำนักงานสภาสถาบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมี นายศิวะ   แสงมณี  กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา วลัยรัชต์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภาสถาบัน และบุคลากรสำนักงานสถาบันฯ เข้าร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน ณ ห้องประชุม 530 ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สภามหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีแด่ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง กรรมการสภาฯ จากคณาจารย์ประจำ ได้รับรางวัล Mahidol University’s Top 1% Researchers ประจำปี พ.ศ. 2566

รางวัล Mahidol University’s Top 1% Researchers ประจำปี พ.ศ.2566 มอบให้เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ และเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความสามารถ มีความวิริยะอุตสาหะ ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลจนมีผลงานดีเลิศในสาขาวิชาต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย สังคมและประเทศชาติ โดยใช้หลักเกณฑ์ผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูลนานาชาติ โดยมีรายชื่อผู้ได้รับรางวัล จำนวน 17 ราย ดังนี้

1. รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.ชลภัทร สุขเกษม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
3. ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิชัย เอกพลากร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
4. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
6. ศาสตราจารย์ ดร.อัมรินทร์ ทักขิญเสถียร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
7. รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน คณะวิทยาศาสตร์
8. รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง คณะวิทยาศาสตร์
9. ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์
10. รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ คณะวิทยาศาสตร์
11. รองศาสตราจารย์ ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ คณะวิทยาศาสตร์
12. รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ไชยร้องเดื่อ คณะวิทยาศาสตร์
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ คณะวิทยาศาสตร์
14. ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ คณะสาธารณสุขศาสตร์
15. รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี วิทยาลัยการจัดการ
16. รองศาสตราจารย์ ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร วิทยาลัยการจัดการ
17. Asst. Prof. Dr.Seo Ah Hong สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ “54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล”

วันที่ 2 มีนาคม 2566 อธิการบดีและกรรมการสภามหาวิทยาลัยร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “งานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล” ในการนี้ บุคลากรสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นระดับส่วนงาน ประจำปี 2565 จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นางสุนิดา เกียรติวัฒนวิศาล หัวหน้าสำนักบริหารกิจการสภามหาวิทยาลัย พนักงานมหาวิทยาลัยฯ ประเภทวิชาชีพ หรือสนับสนุนทั่วไป : ระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
2. นางสาวเทียนทิพย์ เศียรเมฆัน จันทร์คำ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานมหาวิทยาลัยฯ ประเภทวิชาชีพ หรือสนับสนุนทั่วไป : ระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี

มหาวิทยาลัยมหิดลศึกษาดูงานสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

วันที่ 27 มกราคม 2566 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยสำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล กองบริหารงานทั่วไป และกองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาดูงานสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วยบุคลากรจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาให้การต้อนรับคณะจากมหาวิทยาลัยมหิดล ณ รัฐสภา กรุงเทพฯ

ทีมบริหารสวัสดีปีใหม่นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 18 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลและทีมบริหาร สวัสดีปีใหม่ 2566 แก่ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล
สกลสัตยาทร
นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 588/2566 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ
นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบรางวัล Champion KM Faculty

วันที่ 28 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานมอบรางวัล Champion KM Faculty ประจำปี 2565 ในที่ประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 24/2565 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีส่วนงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่

1. คณะกายภาพบำบัด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด เป็นผู้รับรางวัล

2. สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทร สรรพานิช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ ฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล เป็นผู้รับรางวัล

3. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี นางสุนิดา เกียรติวัฒนวิศาล หัวหน้าสำนักบริหารกิจการสภามหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับรางวัล

ทั้งนี้ ระบบ Digital KM Masterclass เป็นพื้นที่สำหรับการรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดกิจกรรม Champion KM Faculty ประจำปี 2565 เพื่อค้นหาส่วนงานที่มีบุคลากรเข้าเรียนรู้ผ่านระบบ Digital KM Masterclass ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 – 28 พฤศจิกายน 2565 ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด เพื่อให้ได้รับรางวัล Champion KM Faculty ประจำปี 2565

มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีและมอบรางวัลให้แก่ อาจารย์ผู้สอนในโครงการรางวัลการสอนออนไลน์ ประจำปีการศึกษา 2564

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการสอนออนไลน์ ประจำปีการศึกษา 2564 และร่วมแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 587/2565 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

โครงการรางวัลการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2564 เป็นรางวัลที่มอบให้แก่อาจารย์ผู้สอนที่มีผลงานด้านการสอนออนไลน์ดีเยี่ยม เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ สร้างกำลังใจ รวมถึงเป็นแบบอย่างใน การพัฒนางานด้านการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. รางวัลการสอนออนไลน์ ประเภท Outstanding Awards : Online Course Development and Delivery (Full Course) รางวัล Full Online Course : รายวิชา ศรกอ 104 จริยธรรมสำหรับวิชาชีพสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่
1. นางสาวณัฎฐนิช จิรพงศ์ไผท
2. นางสาวจุติมา รัตนคช
3. นางสาวพาขวัญ นวลนิ่ม
4. นางสาวจุฑามาศ พินิจเลิศสกุล
5. นางสาวพรชนก โพธิ์บัณฑิตย์
6. นายภาคภูมิ มะโนชาติ

2. รางวัลการสอนออนไลน์ ประเภท Outstanding Awards : Online Course Development and Delivery (Full Course) รางวัล Blended Learning Course : รายวิชา MBMG 515 Protein Technologies and Applications (Session: Fluorescent Protein Technology) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้รับผิดชอบรายวิชา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉลองรัตน์ โนรี

3. รางวัลการสอนออนไลน์ ประเภท Learning Innovation for Online Courses Awards : Online Instruction Techniques รางวัล Engagement Strategies for Online Teaching : รายวิชา รมคร 208 ระบบโลหิตและมะเร็งวิทยาเบื้องต้น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้รับผิดชอบรายวิชา ได้แก่
1. อาจารย์ นายแพทย์สุรพงศ์ เลิศธรรมเกียรติ
2. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อาทิตย์ อังกานนท์
3. นางสาวศุภนันท์ วัฒนบุตร

พิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2566

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2566 ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 587/2565 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล (วาระพิเศษ) MU : The Way Forward (Super Collaboration)

วันที่ 9 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล (วาระพิเศษ) MU : The Way Forward (Super Collaboration) โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมรองอธิการบดีทุกฝ่าย ศาสตราจารย์คลินิกพิเศษ นายแพทย์เสรี ตู้จินดา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อภิชาติ วิชญาณรัตน์ ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ทินกร รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นายมนูญ สรรค์คุณากร และอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเทพรัตนทันตกิจสโมสร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา ชั้น 4 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์

จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้นำเสนอโครงการบูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
– Global Health
– Health & Wellness
– การปรับโครงสร้าง และการบริหารทรัพยากรมนุษย์
– Social Enterprise เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– แผนการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals

ทั้งนี้ มีผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

การประชุมวาระพิเศษในครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นเพื่อระดมความคิดจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมและผลักดันโครงการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่ริเริ่มจากพันธกิจหลักทั้งในปัจจุบันและอนาคตของส่วนงาน สู่การสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ร่วมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกในระดับชาติและนานาชาติ