วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 33/2564 ของวิทยาเขตอำนาจเจริญ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564 –2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี นายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาเขตเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1. ได้รับการไว้วางใจจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จังหวัดอำนาจเจริญ (AIC :Agritech and Innovation Center) เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดอำนาจเจริญ “เมืองธรรมเกษตร”
2. การบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอน และงานวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการในพื้นที่ และมีนวัตกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยของนักศึกษาในเวทีประชุมวิชาการทั้งในระดับจังหวัดและระดับเขต ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันเขตต่อเนื่อง 3 ปี ได้รับรางวัลในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับรางวัลการสอนออนไลน์ ประจำปี 2563
3. พัฒนาคุณภาพงานวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ในระดับสากล ในปี 2563 ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารคุณภาพระดับ Quartile 1 (Top10) จำนวน 3 เรื่อง (ร้อยละ 25) โดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และกองบริหารงานวิจัย
4. เป็นหน่วยปฏิบัติการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมส่วนหน้า จังหวัดอำนาจเจริญ โดยคำสั่งของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีภารกิจหลักในด้านวิชาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่
5. ความก้าวหน้าของบุคลากรสายวิชาการ ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 คน

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า
1. ด้านการวิจัย สนับสนุนทุนวิจัยแก่บุคลากรในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้มีผลงานวิจัยทีสอดคล้อง ต่อการพัฒนาพื้นที่ คุณภาพชีวิตประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญ และเป็นสากล
2. ด้านการเรียนการสอน การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาโดยการบูรณาการการเรียนการสอนแบบสหสาขา และสนับสนุนส่งเสริมให้มีรายวิชาที่เป็น Flexible Program และ Credit Bank พัฒนาหลักสูตรภายใต้มาตรฐาน AUN-QA
3. ด้านการบริการวิชาการ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวในการเสริมสร้างความคิดเชิงบริหารสำหรับเด็ก (Executive Function) ในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนฯ และจัดทำแผนพัฒนาด้านเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม อาทิเช่น การวิจัยผลิตกระชายขาว เป็นต้น
4. การสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังประเทศในแถบลุ่มแม่นํ้าโขงด้านวิชาการและการวิจัย เช่น วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Quang TriMedical College, Hue University, The University of Danang

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของวิทยาเขตอำนาจเจริญที่ดำเนินทุกพันธกิจได้เป็นอย่างดีและมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ และสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ประชุมได้เสนอแนะให้วิทยาเขตเป็น Hub โดยสร้าง “Complete Eco System” เพื่อดึงดูดงบประมาณและเชื่อมโยงความร่วมมือจากภาคเอกชน และภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งด้านการวิจัย ขอให้ดำเนินการเสนอโจทย์ปัญหาสุขภาพเชิงพื้นที่ การศึกษาด้านสังคมภูมิศาสตร์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ICT เพื่อไปสู่การเป็น Smart Farm รวมทั้งการของบประมาณจากแผนงานบูรณาการ Eastern Economic Corridor (EEC) และเสนอการมุ่งเป้าที่ชัดเจน จังหวัดอำนาจเจริญมีจุดเด่นที่จะเป็นเมืองแห่งการศึกษา ด้วยมีทุนสังคมวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผนวกจุดเด่นต่าง ๆ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้นแบบ (Model) สร้างผลงานที่มีคุณค่าพัฒนาไปสู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยพร้อมสนับสนุนทุกพันธกิจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • สภามกาวิทยาลัยมหิดล

    เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรม ของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้แนละใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่ง บอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็น ต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถ เลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

บันทึกการตั้งค่า