วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 30/2564 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564 – 2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อารี จำปากลาย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1. การวิจัยเชิง Comparative Studies ในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียและอื่นๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
2. การวิจัยที่เป็น Social Innovation (สหสาขาวิชาและใช้ประโยชน์เพื่อสังคม)
3. ส่งเสริมให้ HAPPINOMETER เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติให้มากขึ้น
4. อย่างน้อย 1 หลักสูตรได้รับการประเมิน AUN-QA ในระดับมหาวิทยาลัย (3.0) และระดับ ASEAN (4.0)
5. งานวิชาการสำหรับวาระครบรอบ 50 ปีการสถาปนาสถาบันฯ (14 พ.ย. 2564)
6. การจัดตั้งศูนย์วิชาการ ASEAN Population and Physical Activity

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า
1. ส่งเสริมการต่อยอดการทำงานของ HAPPINOMETER และโครงการที่เกี่ยวข้องกับ HAPPINOMETER โดยเน้นกิจกรรมแบบออนไลน์/hybrid และสร้างศักยภาพนักสร้างสุข
2. ส่งเสริม TPAK ให้เป็น ASEAN Population and Physical Activity Center และ WHOCC
3. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาผ่านการประเมิน AUN-QA 3.0 และ ASEAN 4.0
4. พัฒนา Mahidol Migration Center (MMC) เป็นศูนย์วิจัยร่วม (joint research unit) ในระดับนานาชาติ
5. ผลักดันให้ Asian Population Association (APA) เป็นภาคีดำเนินงาน (Implementing partner) ของ UNFPA
6. พัฒนาความร่วมมือในการจัดทำโครงร่างวิจัยขอแหล่งทุนต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายให้กาญจนบุรีเป็นพื้นที่ศึกษาและเป็น Social lab
7. ผลักดันให้สถาบันฯ เป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy workplace) โดยใช้งานวิจัยของสถาบันฯ เป็นกรอบในการขับเคลื่อน

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ที่มีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิจัยระดับนานาชาติ และสถาบันฯ ได้ดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งเสนอการสร้างความร่วมมือกับส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดผลงานที่มี Impact สูง รวมถึงเสนอการมีบทบาทชี้นำเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศ ด้าน Ageing Society เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย และสนับสนุน HAPPINOMETER ที่ได้รับการยอมรับจากหลายองค์กร และเสนอให้นำไปใช้เพื่อสร้างเสริมความสุขให้บุคลากรในสถานพยาบาล อีกทั้งการเสนอการนำ AI และการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยสนับสนุนในการเก็บข้อมูลการวิจัย ซึ่งปัจจุบันสถาบันวิจัยประชากรและสังคมได้ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ดำเนินการแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • สภามกาวิทยาลัยมหิดล

    เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรม ของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้แนละใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่ง บอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็น ต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถ เลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

บันทึกการตั้งค่า