วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 29/2564 ของคณะเภสัชศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ 2564 – 2565 และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1. เปิด Joint Unit ร่วมกับ Institute of Aging and Chronic Disease, U. of Liverpool เพื่อสร้างความเป็นผู้นำการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์การชะลอวัยในระดับภูมิภาค
2. ขยายผลความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาคเอกชนสู่การนำความรู้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์
3. ผลักดันให้วารสารของคณะฯ เข้าสู่ฐานข้อมูล Web of Sciences
4. นำหลักสูตรปริญญาตรีเข้าสู่การรับรองทั้งในระดับภูมิภาค (AUN-QA) และระดับโลก (Accreditation Council of Pharmacy Education – ACPE) เป็นหลักสูตรแรกของไทย
5. เปิดหลักสูตร PharmD (International) เพื่อรองรับการขยายตัวของการศึกษานานาชาติในประเทศและภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่ international visibility และความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
6. เป็นผู้นำทางวิชาการด้านการพัฒนามาตรฐานคุณภาพยาโดยการทำงานร่วมกับองค์กรระดับโลก (United States Pharmacopoeia – USP) ในโครงการ Promoting Quality Medicine Plus
7. จัดตั้ง ASEAN PharmNet Secretariat Office เพื่อความเป็นผู้นำทางเภสัชศาสตร์ในระดับภูมิภาค และสร้างงานวิจัยที่มี impact ระดับโลกและรวมไปถึงการดึงแหล่งทุนระดับโลกเข้าสู่เครือข่ายและคณะฯ

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า ได้แก่
1. ผลงานวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เรื่อง/คน/ปี และมีจำนวนการอ้างอิงเฉลี่ย 10 ครั้ง/เรื่อง
2. ผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่ท้องตลาดทั้งโดยตรงและผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่บนความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ และให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย
3. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก AUN-QA และ ACPE เป็นหลักสูตรแรกของไทย
4. หลักสูตร PharmD (International) เริ่มดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2566
5. โรงงานยาของคณะเริ่มเปิดดำเนินการปี พ.ศ. 2566
6. ร่วมกับส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมศักยภาพของคณะเภสัชศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการเชื่อมโยงการวิจัยพื้นฐานสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ และได้รับความไว้วางใจจากภาคเอกชนและอุตสาหกรรม เพื่อการผลักดันเชิงพาณิชย์และนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและประชาชน ด้วยยา ซึ่งเป็นความมั่นคงและความหวังของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการยกระดับและเพิ่มมูลค่าของพืชสมุนไพรที่สำคัญ เพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ และตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG และอุตสาหกรรม S-Curve ของประเทศ เสนอให้มีการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการเปิดโรงงานยาให้แล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการให้เกิดรายได้ ซึ่งคณะฯ มีแผนเจรจาร่วมทุนกับภาคเอกชน และขอให้คณะฯ จัดทำองค์ความรู้และผลิต Clip Video เพื่อสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการใช้สมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร และกระชายขาว การพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัยและทุกภาคส่วน วางแผนบริหารการจัดการต้นทุนและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • สภามกาวิทยาลัยมหิดล

    เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรม ของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้แนละใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่ง บอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็น ต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถ เลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

บันทึกการตั้งค่า