
นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 27/2564 ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 27/2564 ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564 – 2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดี ฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้
การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1. ผู้สำเร็จการศึกษารหัส 63 เป็นต้นไป มีคุณสมบัติเป็น Global Citizen ตาม Mahidol HIDEF ร้อยละ 100
2. ส่งเสริมและพัฒนาผลงานวิจัยสู่ระดับสากล โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ใน Q1 เทียบกับผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และคณาจารย์/นักวิจัย ได้รับรางวัลทางวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ อย่างน้อย 1 คน
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศมากขึ้น : Kyoto University, Myanmar, Russia และเพิ่มจำนวน Inbound และ Outbound
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานในประเทศ เช่น จัดตั้งศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ประจำภาคกลางตอนล่าง 1 จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม และจัดตั้งศูนย์ GLOBE เป็นต้น
5. พัฒนา ECO & Smart Campus ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันโดยการใช้พลังงานทางเลือกและเน้นการนำ IoT, QR Code, RFID, AR/VR มาใช้
เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า
1. ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐาน ESPReL ของมหาวิทยาลัย 100 % มีการรับรองในรูปแบบ Peer evaluation ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพิ่มขึ้น มีหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเอก เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ๓ หลักสูตร และมีหลักสูตร Non-degree Programs
2. จัดตั้งกลุ่มวิจัย Research Cluster หรือ Mini – Research Cluster เพิ่มขึ้นเป็น 2 กลุ่ม
3. มีการประเมิน Cost-effectiveness ด้านการจัดฝึกอบรมและการรับตรวจวิเคราะห์
4. พัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของวิทยาเขตกาญจนบุรี ที่ร่วมดำเนินงานและผลักดันให้เกิดผลงานที่โดดเด่นมากมาย สร้างความภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยและจังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้วิทยาเขตฯ สามารถดึงทุกภาคส่วนเข้าร่วมดำเนินการได้อย่างดีทั้งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ เป็นตัวอย่างในด้านการบูรณาการให้กับส่วนงานต่างๆ ได้อย่างดียิ่ง และดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ในแต่ละด้านอย่างชัดเจนเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีองค์ความรู้ ในด้านการพัฒนาพื้นที่ และสามารถนำองค์ความรู้เผยแพร่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชน รวมทั้งจังหวัดกาญจนบุรีมีทรัพยากรจำนวนมาก ที่ประชุมได้เสนอแนะให้วิทยาเขตนำทรัพยากรที่มีในพื้นที่มาพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ BCG Model เช่น สร้างวิทยาเขตให้เป็น “Sai Yok Velley” และเสนอการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ และเป็นต้นแบบการดำเนินงานในด้านต่างๆ (Role Model) ให้ส่วนงานในมหาวิทยาลัย