วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 26/2564 ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ 2564 – 2565 และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1. เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัย ระดับ 3 หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับสูง
2. ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Training course) เต็มรูปแบบและพัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก 2 หลักสูตร
3. ระบบ Smart Hospital นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการประชาชน ทั้งด้านความสะดวกรวดเร็ว และความปลอดภัย
4. เป็นศูนย์กลางรองรับการเป็น EC Secretariat ของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yo-thi Medical Innovation District: YMID)
5. ปรับหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว ให้สามารถรับแพทย์ชาวต่างชาติมาศึกษาให้หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านฯ ดังกล่าวได้

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
1. ปี 2564 วางระบบ เตรียมความพร้อม และปี 2565 เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัย ระดับ 3 หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยี ความปลอดภัยระดับสูง ให้บริการทั้งบุคลากรภายใน และภายนอกคณะฯ
2. พัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก 2 หลักสูตร
3. เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการเสนอขอทุนต่างประเทศ เพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อปี เช่น ทุน NIH, Wellcome Trust, EU, etc.
4. จัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM)
5. ศูนย์วิชาการและวิจัยด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวของประเทศไทย

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งเป็นต้นแบบให้กับส่วนงานต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม มีผลงานวิจัยจำนวนมาก ตอบโจทย์สังคม และสามารถช่วยประเทศชาติในยามวิกฤตจากสถานการณ์ COVID-19 โดยมีการดำเนินงานที่สอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีศักยภาพ และความเชี่ยวชาญ มีการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้ง การจัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM) ซึ่งจะผลิตงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ และขอให้คณะฯ ส่งต่อวัฒนธรรมความเป็นเลิศ เพื่อสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง การตั้งโจทย์วิจัยจากความต้องการของผู้ใช้งาน (Market-in) และการพยากรณ์การอุบัติของโรค เพื่อสามารถดำเนินการในเชิงรุกมากขึ้น โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายทั้งด้านการศึกษา การวิจัย กฎระเบียบ ที่ประชุมได้เสนอให้คณะฯ เชื่อมโยงข้อมูลด้าน Telemedicine ระหว่างโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนกับโรงพยาบาลระดับท้องถิ่น เพื่อต่อยอดการนำระบบเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ หลังจากช่วง Post Covid-19 ขอให้คณะดำเนินการขยายบริการสุขภาพด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และการจัดทำ Clip เพื่อเผยแพร่ผลงานที่โดดเด่นต่อสังคม และเพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพของคณะฯ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • สภามกาวิทยาลัยมหิดล

    เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรม ของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้แนละใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่ง บอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็น ต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถ เลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

บันทึกการตั้งค่า