
นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 25/2564 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 25/2564 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564 – 2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้
การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1. นักศึกษาระดับปริญญาตรีสอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
2. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล Science Citation Index Expand (SCIE) ซึ่งอยู่ใน Web of Science Core Collection (2019-2020)
3. พัฒนาศักยภาพของศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ ณ จังหวัดลำปาง โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่
4. การรับรองมาตรฐานสากลในการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ในส่วนของโลหะหนัก
เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า
1. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรอง ASEAN AUN-QA อย่างน้อย 1 หลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอนระดับบัณฑิตวิทยาลัยในรูปแบบ MAP-C ให้บุคคลทั่วไปเลือกเรียนได้ตามความสนใจ และพัฒนาการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ร่วมกับ GISTDA
2. พัฒนาและขับเคลื่อนกลุ่มวิจัย งานวิจัยที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ และเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
3. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล SCIE ใน ISI Web of Science และขอการรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จำนวน 2 พารามิเตอร์ (ตะกั่ว และแมงกานีส) รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี ตามมาตรฐาน ESPReL ครบทั้ง 10 ห้องปฏิบัติการ และพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ จ.ลำปาง
4. ติดตั้งสถานีถาวรในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และติดตั้งและพัฒนาเครือข่ายระบบนำทางด้วยดาวเทียม ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่นำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของกรรมการสภามหาวิทยาลัยมาสู่การปฏิบัติ และมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานทุกด้าน เช่น World Ranking, International Environmental Standard รวมทั้งมีความร่วมมือทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง คณะฯ ควรกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเสนอหลักสูตรระยะสั้น ที่ผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิตเพื่อต่อยอดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้ และได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองการจบหลักสูตร เพื่อตอบสนองความต้องการของคนวัยทำงาน และเสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรร่วมระหว่างส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งนำองค์ความรู้ที่มี จัดทำเป็น VDO Clip เผยแพร่สู่สาธารณะ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก และสร้างความร่วมมืองานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานภายในและภายน