
นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 15/2564 คณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ 15/2564 ของคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2564-2565 และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meetings โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
1. พัฒนาบทเรียนออนไลน์ในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในรายวิชาการพยาบาล ใช้การเรียนการสอนผ่านระบบ Online 25% ในปีการศึกษา 2563 และ 100% ในปีการศึกษา 2564
2. รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) ปี 2563
3.พัฒนาศูนย์การพยาบาลผู้ป่วย NCDs ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ร่วมกับ Johns Hopkins University ปี 2563
เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า
1. ขยายความร่วมมือและผลักดัน The MU-JHU NCDs Research Collaborative Center NCDs เป็นศูนย์ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. เปิดให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร่วมเป็นเครือข่ายร่วมให้บริการของ สปสช. ในปี 2565
3. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากลอย่างน้อย 2 หลักสูตร
4. พัฒนาห้องปฏิบัติการเสมือนจริง
5. พัฒนาหลักสูตร double/multiple degree
6. ขับเคลื่อนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สู่ TQC+
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ในการสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติจำนวนมาก การได้รับรางวัลการบริการสู่ความเป็นเลิศ (TQC) รวมถึงการให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีงานวิจัยในด้านปัญหาสุขภาพจิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความร่วมมือกับ Johns Hopkins University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และมีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการดำเนินงานได้อย่างดี ที่ประชุมได้เสนอแนะให้คณะจัดทำหลักสูตร Flexible Education การพยาบาลเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้สูงอายุให้กับประชาชนทั่วไป ตั้งเป้าหมายเป็น 1 ใน 10 ของเอเชีย ประสานความร่วมมือกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงวัยอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม (ACAI) เพื่อรับมือกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และขอให้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน