คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๙/๒๕๖๒ ณ สถาบันโภชนาการ

วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้บริหารและกรรมการสภา มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๙/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ สถาบันโภชนาการ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของสถาบันโภชนาการในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ดังนี้
๑. สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)” ต้านโรค NCDs
๒. งานวิจัย “ประเทศไทยปลอดภัยไขมันทรานส์รองรับการเป็นประเทศปลอดไขมันทรานส์ในอนาคต”
๓. งานวิจัย “สถานภาพของประเทศไทยและแนวทางในการปรับปรุงเพื่อจัดทำระบบควบคุมอาหารแห่งชาติตามหลักการและข้อแนะนำของ CODEX” ใช้อ้างอิงเชิงนโยบายและการปฏิรูประบบควบคุมอาหารของประเทศไทย
๔. งานวิจัย”การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับสารแรคโตพามีนจากการบริโภคเนื้อและเครื่องในสุกร และทัศนคติการเลือกซื้อเนื้อและเครื่องในสุกร ใช้กำหนดนโยบายและมาตรฐานการนำเข้าสินค้ากลุ่มเนื้อแดงจากต่างประเทศ
๕. รางวัลการจัดการสิ่งแวดล้อมได้แก่ ๑.รางวัล “การจัดการสำนักงานสีเขียว”ดีเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๘ ๒.รางวัล “สถานศึกษาปลอดภัยระดับดีเด่น” ประจำปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ (๓ ปีต่อเนื่อง)

เป้าหมายและแผนดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ดังนี้
๑. โครงการปรับปรุงโรงงานอาหารต้นแบบเพื่อให้ได้มาตรฐาน Good Manufacturing Practice : GMP
๒. Flexible Courses
๓. โครงการจัดประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
๔. กระตุ้นให้ภาคเอกชนมาร่วมวิจัยกับสถาบันภายใต้กรอบฟู้ดอินโนโพลิส FOOD INNOPOLIS เช่น Food Waste
๕. Frontier Research พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น

โดยมี ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ พร้อมคณะผู้บริหารสถาบันโภชนาการ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๘/๒๕๖๒ ณ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๘/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต

ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้
๑. ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานให้บริการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ฯ ตามหลักการ OECD GLP ระดับนานาชาติ หน่วยงานแรกและแห่งเดียวของประเทศ ทำให้การทดสอบผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
๒. ได้รับมาตรฐาน AAALAC ทำให้สัตว์ทดลอง ที่ผลิตจากศูนย์ฯ มีความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพ และผลการวิจัย/ทดสอบในสัตว์ทดลอง มีความน่าเชื่อถือสูงและสามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มี Impact สูง
๓. ได้รับการประเมินศักยภาพและยอมรับให้เป็นสมาชิกเครือข่ายห้องปฏิบัติการด้านสัตว์ทดลอง (ICLAS Performance Evaluation Program Network : ICLAS-PEP) เพียงหน่วยงานเดียวในประเทศไทย
๔. แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเครือข่ายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองในด้านการพัฒนาบุคลากร ให้กับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น ๆ

โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน และรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

แสดงความยินดีแด่นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ

วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์ นพ.บรรจงมไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๔ ท่าน ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๕๕๑/๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์นายแพทย์นทีรักษ์พลเมือง ชั้น ๕ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาดังนี้

๑. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

๒. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

๓. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.นีโลบล เนื่องตัน ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยมหิดล

๔. นางสาววลัยรัตน์  ศรีอรุณ ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ ห้องประชุมสิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคตโดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. หลักสูตรได้รับการตรวจประเมิน/รับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล (WFME) และ AUN-QA
๒. Dual/Jointed Doctorate Degree กับสถาบันต่างประเทศทั่วโลก ทั้ง Asia Australia USA Europe เช่น Glasgow University
๓. โครงการทุนเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ระหว่างปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ จำนวน ๖ คน
๔. ผลงานตีพิมพ์ (ค.ศ 2014 – 2019 ย้อนหลัง ๕ ปี) เพิ่มเป็น 1.0/คน/ปี และเป็น Top 10 Papers 2019 of Mahidol University by Citation ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
๕. รางวัลคุณภาพมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับประเทศ และการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ระดับนานาชาติ
โดย AAHRPP, U.S.A.
๖. ผลิต “วัคซีนไรฝุ่น” ช่วยผู้ป่วยภูมิแพ้ใช้รายแรกในอาเซียน ผ่านมาตรฐาน อย. และ WHO
๗. Stem cell transplantation in Siriraj Hospital
๘. ปลูกถ่าย ๓ อวัยวะ หัวใจ-ตับ- ไต สำเร็จในผู้ป่วยรายเดียว เป็นครั้งแรกในเอเชีย
๙. ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และการรับรองต่ออายุคุณภาพสถานพยาบาล Advance HA
ประจำปี ๒๕๖๐
๑๐. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันด้วยรถพยาบาลเคลื่อนที่ MOBILE STROKE UNIT
๑๑. การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยได้รับรางวัล (๑) รางวัล Best Practice TQM (๒) รางวัลเลิศรัฐ ปี ๒๕๖๒ ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดีเด่น (๓) รางวัล KRO Awards 2019 (๔) รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ TQC ปี ๒๕๖๒
(๕) การรับรองมาตรฐาน ISO27001 และ (๖) “ศิริราช” องค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส เป็นต้น
๑๒. โครงการก่อสร้างระบบทางสัญจรทางเดินยกระดับ ระยะที่ ๑

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. การปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์ ให้เป็น Flexible, Digital Education, Non–technical Skills และ Pi-shaped program เพื่อให้บัณฑิตพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
๒. การปฏิรูประบบวิจัย เพื่อสร้างผลงานที่มี High impact ได้แก่ CORE-M & RED program และเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ SICRES, Clinical data management unit
๓. โครงการศิริราชสัปปายสถาน พื้นที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อดูแลผู้ป่วย End of Life อย่างเป็นองค์รวม
๔. โครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล
๕. โครงการศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุระดับชาติ พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๖/๒๕๖๒ ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร รองศาสตราจารย์ นพ.ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการฝ่ายบริหาร เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๖/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ได้รับทุนสนับสนุนด้านการวิจัยและการจัดโครงการต่าง ๆ จากแหล่งทุน เช่น สสส. สวรส.
๒. สถาบันฯ ร่วมกับ International Labour Organization (ILO) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิตในสาขา
Social Health Protection
๓. ได้รับการสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ให้จัดการอบรมระยะสั้นแก่ผู้บริหารระบบสุขภาพจากต่างประเทศ
๔. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพภายในประเทศและต่างประเทศ
๕. ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดสร้างพระพุทธรูปพร้อมจัดสร้างหอเฉลิมพระเกียรติ

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. ผลักดันหลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ให้ได้รับ Global Accreditation
๒. สนับสนุน AUN-HPN จัดทำ Healthy University Rating System
๓. จัดตั้ง Mahidol Active Ageing Policy Watch Centre (MAPC)
๔. จัดตั้ง Regional Training Centre on Local Health Security Management (Community Ownership through Sufficiency Economy Philosophy [SEP])
๕. จัดตั้ง Training Centre on Healthy Lifestyle
๖. จัดตั้ง Secretariat Office for Asia Pacific Regional Technical Facility on Social Health Protection (CONNECT)
๗. Redesignation of WHO CC for IPCHS and DHS Management
๘. พัฒนาวารสาร Journal of Public Health and Development เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus
๙. ปรับปรุงระบบการสื่อสารด้านสารสนเทศเพื่อสร้าง Visibility ของสถาบันฯ และเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศที่มีความเป็นนานาชาติ (Internationalization)

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้บริหารสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ให้การต้อนรับเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย 

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๕/๒๕๖๒ ณ วิทยาลัยราชสุดา

วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๕/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ วิทยาลัยราชสุดา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยวิทยาลัยราชสุดา มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

สำหรับผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการมีงานทำของคนพิการร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เช่นหลักสูตร ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา
หูหนวกศึกษา พัฒนาคนหูหนวกให้สามารถมีงานทำหลังจบการศึกษา
๒. การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ AUNQA ระดับอาเซียนในปี ๒๕๖๒
๓. นวัตกรรม และงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันนโยบายชี้นำสังคม เช่น ชุดสื่อเพื่อสารเรียนรู้ของคนหูหนวกอุปกรณ์พิมพ์แบบนูนแสดงระดับพิกัดคาร์ทีเซียนบนกระดาษสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. โอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับคนพิการ บนพื้นฐานทางปัญญา
๒. 2 Year Pilot Program of Flexible (learning) Education (1 Year Non-Degree Program)
๓. จัดตั้งเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและโรงเรียนอนุบาล
๔. ยกระดับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเห็น ให้เป็น “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเห็น”
๕. จัดตั้งศูนย์บริการล่ามภาษามือไทยและพัฒนาเครือข่าย “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป”

โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการเเทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูรย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารวิทยาลัยราชสุดา เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปี ที่ผ่านมา
๑. ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจากสถาบัน MusiQuE
๒. จัดตั้งวารสารวิชาการ MAHIDOL MUSIC JOURNAL
๓. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศ
๔. จัดตั้งกองทุนเปรมดนตรี

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล
๒. พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลทั่วไป และ Online Course
๓. สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา
๔. พัฒนา City of Music เพื่อให้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก UN
๕. ส่งเสริมนวัตกรรม ดนตรีบำบัด และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดนตรี
๖. The International Benchmarking Exercise (IBE) ซึ่งดำเนินงานร่วมกับสถาบันดนตรีแนวหน้าระดับนานาชาติ

โดยมี ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหาร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ ณ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. 2562 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมารวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่าน
๑. สร้างองค์กรและทีมงาน ให้มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และสอดรับกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
๒. มหิดลได้อันดับ ๑ ของไทยในผลงานนวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญา โดย Scimago Institutions Rankings
๓. เผยแพร่ความรู้และสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมแก่บุคลากรกว่า ๑,๐๐๐ คน
๔. จัดงาน Mahodol RISE NOW แสดงผลงานวิจัย-นวัตกรรมที่โดดเด่นของทุกส่วนงานเป็นครั้งแรกของ ม.มหิดล
๕. เป็น Finalist ของ Triple E Award for Innovation and Entrepreneurship Support of the Year

โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้บริหารสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ ณ บัณฑิตวิทยาลัย

วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ บัณฑิตวิทยาลัย เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมารวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยบัณฑิตวิทยาลัย

ผลสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. บัณฑิตศึกษามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘
๒. มีความร่วมมือกับต่างประเทศ (อาเซียนและเอเชีย) มากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ
๓. ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนจัดทำหลักสูตร Short Course Trainings และ MAP soft skill
๔. ใช้ระบบดิจิทัลดำเนินการด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
๕. การบริหารจัดการระบบภายในส่วนงานเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง

โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.พญ.พัชรีย์ เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์คลินิกพิเศษ นพ.เสรี ตู้จินดา กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ  ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมารวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มีความโดดเด่นในประเด็น ดังนี้
๑. จัดทำห้องปฏิบัติการศูนย์ออกกำลังกาย “DeeDo Weight Training Room” โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน จัดการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
๒. ได้รับการรับรองความเป็นเลิศระดับชาติและนานาชาติ โดย FIFA มอบประกาศนียบัตร “FIFA Medical Centre of Excellence” โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน

โดยมี อาจารย์ นพ.ชนินทร์ ล่ำซำ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย