คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 27/2566 ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 27/2566 ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 เปิดหลักสูตรร่วมกับสถาบันที่มีชื่อเสียง ทำความร่วมมือทางวิชาการกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตามโครงการวิทยาศาสตร์การกีฬา-จฉพ. (เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์)

1.2 ผลักดันหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น

1.3 สร้างความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม

1.4 งานวิจัยมุ่งเป้า เพื่อความเป็นเลิศเฉพาะทางแต่ละประเภทกีฬา เพิ่มศักยภาพทางการกีฬา-นักกีฬา และลดการบาดเจ็บ สุขภาวะของประชาชน

1.5 จัดตั้งคลินิกการกีฬาให้ผู้มาตรวจรักษาสามารถนำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลมาเบิกได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

1.6 ปรับโครงสร้างทางกายภาพห้องเรียน รองรับการเรียนการสอนรูปแบบ Online และสนามกีฬารองรับการออกกำลังกาย เพื่อนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก ได้ใช้สถานที่ออกกำลังกาย

1.7 วิเคราะห์โครงสร้างอัตรากำลังบุคลากร จัดทำแผนระยะสั้น ระยะยาวในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Digital Health

– โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

2. กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

–  โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

3. สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

– โครงการวิจัยในผู้สูงอายุ (ทุนสนับงานวิจัยเกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ exercise is medicine)

– แอปพลิเคชันสำหรับการประเมินสมรรถภาพและช่วยในการเรียนรู้การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

4. Innovation in Health & Wellness

– โครงการพัฒนา Platform กายชนะ

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

– Physical Activity Promotional Plan for Children and Youth

– โครงการวิจัยในผู้สูงอายุ (ทุนสนับงานวิจัยเกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ exercise is medicine)

– แอพพลิเคชั่นสำหรับการประเมินสมรรถภาพและช่วยในการเรียนรู้การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

– โครงการการพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายหน้าเสาธงด้วยท่ามวยไทยในเด็กวัยเรียน (อายุ 9-12 ปี)

– โครงการการพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ามวยไทยสู่การพัฒนาสุขภาวะคนไทยในเด็กและผู้ใหญ่ เฟส 2

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

– Sustainable City & Community (Climate Change) : Physical Activity Promotional Plan for Children and Youth

 

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1.การศึกษา

– มาตรฐานหลักสูตรในระดับสากล

– พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสังคมปัจจุบัน

– พัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ

2.การวิจัย

– โครงการ Cryotherapy with Tasaki

– โครงการพัฒนาและการประยุกต์ใช้กระบวนการประเมิน วิเคราะห์ ป้องกันการบาดเจ็บ และเจ็บป่วยทางการกีฬา สำหรับประเทศไทย

– ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟนในการประเมินสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ

– การสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการอบรมผู้ฝึกสอนเฉพาะบุคคลสำหรับผู้สูงวัย

– โครงการวิทยาศาสตร์การกีฬากับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD

– โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชน

– โครงการ Exercise and Fitness Clinic

4. Campus Operations

– การสร้าง และพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายต่างประเทศ ด้านการศึกษา วิจัย และวิชาการ