คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 30/2566 ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 30/2566 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าร่วมการประชุม และมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 เป็นผู้นำร่วมกับเครือข่าย TRUST (Thailand Research University Society for Technology Transfer) ในการพัฒนาศักยภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของนักวิจัยและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

1.2 สร้างรายได้จากผลงานทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

1.3 สนับสนุนการดำเนินการด้านการบริการวิจัยและบริการวิชาการให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

1.4 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) กับภาคอุตสาหกรรมให้มีโครงการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

1.5 พัฒนาศูนย์บ่มเพาะ (Incubation) และศูนย์เร่งสปีด (Accelerator) เพื่อผลักดันให้เกิดบริษัท Startup จากนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย

1.6 บริหารงานบริษัท M Venturer ให้มีอัตราการเติบโตของผลประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Global Health

1.1 Digital Health                                                           

– โครงการยานพาหนะสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Mobile Stroke Unit) ได้รับสิทธิบัตรเลขที่ 94146

– โครงการระบบแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับโลจิสติกส์ในโรงพยาบาล และโรงพยาบาล  ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

– โครงการเพื่อน “ใจ” ในจักรวาลนฤมิต (Mind Friend in Metaverse) ภายใต้แพลตฟอร์ม iNT Accelerator และภายใต้โครงการทุนต่อยอดงานวิจัยเพื่อร่วมกับภาคเอกชน (Pre-seed Fund 2565)

– โครงการ HeaRTS (HealthcaRe Tele-delivery Service) ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2021

– โครงการกายชนะ ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2021

1.2 Global Health governance

– โครงการแพลตฟอร์มระบบขนส่งในโรงพยาบาล

2.Health & Wellness

2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– Mahidol Design School

2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน

– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1 โครงการ

– กระทรวงสาธารณสุข 80 โครงการ

– กรุงเทพมหานคร 2 โครงการ

– กองทัพบก 1 โครงการ

– กองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ 54 โครงการ

– มูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 29 โครงการ

– สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1 โครงการ

– World Health Organization 6 โครงการ

– บริษัทเอกชน/องค์กรต่างประเทศ 9 โครงการ

2.3 Innovation in Health & Wellness

  1. ผลงานวิจัย หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์แล้ว

– น้ำยาบ้วนปากจากข้าวสีดำ oral rice

– น้ำปลาโซเดียมต่ำ

– น้ำผักผลไม้

– ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโปรตีนสูงจากไข่ขาว

– สมูทตี้โปรตีนสูง (ตรามหาการุณย์)

– POWCO x FoodDIYPhage Ready-to-Drink Protein Gel for Athletes

  1. ผลงานวิจัยหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ (ผลงานที่ขออนุญาต

ใช้สิทธิแล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินงานเพื่อผลิต)

– ซอสซ่อนผัก

– เจลลี่ให้ความชุ่มชื้นในช่องปาก

– ชุดตรวจภูมิแพ้

– น้ำยาบ้วนปากต้านเชื้อไวรัส

  1. ผลงานวิจัยหรือทรัพย์สินทางปัญญาที่อยู่ระหว่างการเจรจาการใช้ประโยชน์

– ชุดตรวจโรคเมลิออยโดซิส

– สารสกัดจากเห็ดเผาะต้านเชื้อไวรัส

– ลูกอมให้ความชุ่มชื้นในช่องปาก

– แผ่นรองนอนต้านแบคทีเรียสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและป้องกันแผลกดทับ

– น้ำปลาผสมสูตรลดโซเดียมจากน้ำผักสะทอน

3.Structure & HR Resource

3.1 การปรับโครงสร้าง

โครงสร้างของสถาบันฯ แบ่งออกเป็น 5 งาน ได้แก่

  1. งานบริการวิจัยและวิชาการ
  2. งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์
  3. งานระบบนิเวศผู้ประกอบการ
  4. งานบริหาร
  5. งานยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร

3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– ส่งเสริมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ให้เข้าสู่กระบวนการเสนอขอผลงานตำแหน่งทางวิชาการ

– ส่งเสริมให้บุคลากรได้เข้าร่วมรับการอบรมเฉพาะด้านหรือเชิงลึกตามพันธกิจของสถาบันฯ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อนำความรู้มาปรับใช้ในการทำงาน

– นำแนวคิดรูปแบบการทำงานแบบ Accelerator มาปรับใช้ในการดำเนินงานของสถาบันฯ

4. Social Enterprise

4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

– โครงการ PHOP AVOCADY (สบู่เหลวจากอโวคาโด) ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2023

– โครงการ iFood (อาหารชาติพันธุ์) ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2023

– โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ทางการเกษตร

4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

– กิจกรรมงาน SMART Farmer Fair 2023

– การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดลในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด

– โครงการก่อสร้างอาคารรับรอง MaSHARES Co-Working Space

วิทยาเขตกาญจนบุรี

– การพัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรี

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ

– ริเริ่มโครงการ “การท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมยั่งยืนและการเพิ่มมูลค่าสินค้า SMEs โดยกลไก SDGs Innovation” โดยการสนับสนุนจากสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรม (iNT) และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (EN)

5.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

5.1 Healthy Foods

– ซอสซ่อนผัก

– ผลิตภัณฑ์เยลลี่ให้ความชุ่มชื้นในช่องปาก

5.2 Inclusiveness

– เครื่องทำความเย็นลดอาการบาดเจ็บ

– เครื่องพยุงหลังด้วย 3D Printing

5.3 Capacity Building

– เครือข่ายผู้ประสานงานด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี Mahidol Technology Manager Network

– เครือข่ายผู้ประสานงานด้านบริการรับทำวิจัยและให้บริการทางวิชาการ (RA Network)

– กิจกรรมสัมมนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม INNOVATION FOR SUSTAINABILITY

– กิจกรรม IP Training “ทรัพย์สินทางปัญญากับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”

– อบรมการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP ACT (TRIUP Act & Technology Commercialization)

– การนำผลงานวิจัยและผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา Startup CEO/Deep Tech CEO

5.4 Sustainable City & Community (Climate Change) 

– โครงการศาลายาน่าอยู่ (Salaya One, Salaya Velley)

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

– Deep Tech Accelerator Platform and Commercialization

– โครงการกองทุนพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– กลไกของ MICC (Community Engagement)