คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 35/2566 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 35/2566 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเจริญคุณธรรม ชั้น 3 อาคารปัญญาวัฒนา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 พัฒนาต่อเนื่อง แผนงาน “การปฏิรูปการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัย” จำนวน 4 โครงการ นำสู่ผลลัพธ์นโยบายระดับประเทศ

1.2 พัฒนาต่อเนื่อง แผนงาน “พื้นที่เด็กและครอบครัว” จำนวน 2 โครงการ นำสู่ผลลัพธ์นโยบายระดับท้องถิ่นและประเทศ

1.3 พัฒนาต่อเนื่อง แผนงาน “วัฒนธรรมองค์กรในความรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัวของคนในองค์กร” จำนวน 2 โครงการ นำสู่การขยายผลรูปแบบนำร่อง สู่การปฏิบัติในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน และการเชื่อมโยงสู่แนวทาง Happy workplace

1.4 พัฒนาต่อเนื่อง แผนงาน “การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสมองเด็กจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี” 4 โครงการ ได้แก่ ความยากจนเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เทคโนโลยี IT และอุบัติเหตุ-ความรุนแรง-ภัยพิบัติ

1.5 ขยายผลการเรียนตลอดชีวิตของสังคมไทย อย่างน้อยให้ได้ 20 หลักสูตร และครอบคลุมผู้เรียน 20,000 คน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลการประกอบการของสถาบัน เป็นบวก และสนับสนุนการพัฒนา “ธุรกิจเพื่อสังคม” ที่มีผลประกอบการที่ดีขึ้นตามลำดับทุกปี

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– สถาบันฯ ได้เปิดหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับ Health & Wellness จำนวน 12 หลักสูตร

1.2 Innovation in Health & Wellness

– Website ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยออนไลน์

– Website ประเมินทักษะ EF วัยรุ่นออนไลน์

– Website ประเมินสติเด็กปฐมวัยออนไลน์

2. Structure & HR Resource

2.1 การปรับโครงสร้าง

– สถาบันฯ ได้ปรับโครงสร้างเพื่อนำไปสู่การประกอบการบริการที่ยั่งยืน โดยจัดตั้งงานใหม่ “งานประกอบการสังคม และเครือข่ายสัมพันธ์” เพื่อตอบสนองต่อพันธกิจ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หลักของสถาบันฯ

– การทบทวนการจัดโครงสร้างบริหารของคณะฯ (ตามวาระคณบดี)

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– โครงการจ้างผู้เกษียณฯ ที่ยังสามารถช่วยงานสถาบันได้ต่อ

– โครงการสร้างงานเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มบุคคลพิเศษ เพื่อสร้างอาชีพและพัฒนาศักยภาพให้กลุ่มผู้พิการและกลุ่มผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา

3. Social Enterprise

3.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน

– โครงการตลาดเรียนรู้้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวสองแสนคน : การสร้างฐานสมาชิก NICFD โยงใยความสัมพันธ์สร้างเครือข่าย

– โครงการนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เทคโนโลยีแปรรูปผลไม้ของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการอาชีพของเยาวชนนอกระบบนครนายก

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

4.1 Inclusiveness

– โครงการ Inclusive early life : care, development and policy การพัฒนาสุขภาพ พัฒนาการ การเรียนรู้เด็กทั้งมวล และนำสู่การขับเคลื่อนนโยบายทุนยุทธศาสตร์วิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล

– ขับเคลื่อนนโยบายห้องเรียน Inclusive และขยายพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัด โครงการต้นแบบการเรียนร่วมเด็กพิเศษ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยการพัฒนารูปแบบการจัดบริการการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อเด็กทั้งมวล (Inclusive child care)

– โครงการศูนย์สมานใจปฐมวัยสาธิต (Center for Early Childhood Trauma and Resilience)

4.2 Capacity Building

– ความสุขในการทำงานขององค์กรและภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมเพื่อป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรเอกชน : โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

4.3  Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการเฝ้าระวังผลกระทบนโยบายรัฐและการลงทุนที่่นำสู่วิกฤตเด็กและครอบครัว

– โครงการเฝ้าระวังภาวะประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยและการแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูสุขภาวะเด็กและครอบครัว ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID-19 และหลังวิกฤต

– โครงการการขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก จากสิ่งที่ค้นพบสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง

– โครงการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดูแลเด็กปฐมวัยเทศบาลหนองข่า จังหวัดอำนาจเจริญ

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

– สถาบันฯ ได้พัฒนาหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนและการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนการนำ SDG เข้าสู่กระบวนการการสอนและการเรียนรู้ในทุกระดับ

2. การวิจัย

– Cluster 1 โครงการการปฏิรูปการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัย (Reform in early childhood education)

– Cluster 2 พื้นที่เด็กและครอบครัว (Child and Family Space : CFS)

– Cluster 3 องค์กรรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัว (Corporate Child and Family responsibility: CCFR)

– Cluster 4 ปกป้องสมองเด็กจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ไม่ยั่งยืน (Child’s Brain Protection from Unsustainable Economic and Technology Growth : CBPU)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– การขยายฐานสมาชิกการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 200,000 คน

– โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร (EF: Executive Function) ในเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปี สำหรับครูในโรงเรียนประถมศึกษา (ต้นแบบ) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ

– โครงการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

– โครงการพื้นที่พัฒนาเด็กและครอบครัว “เล่น เรียนรู้ คู่ ธรรมชาติ”

– โครงการต้นแบบสถานศึกษา/ชุมชน 10 ทักษะความปลอดภัยสำหรับเด็กวัยเรียน