คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 15/2566 ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 15/2566 ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ บริเวณ Co-MU Space ชั้น 1 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
      1. จัดตั้ง Analytic Research Center เป็นศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ ISO 11620
      2. สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21
      3. โครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการให้บริการห้องสมุดสู่สถาบันการศึกษาทุกระดับในประเทศไทย (Library to Classroom) และ Library Digital KM
      4. โครงการส่งเสริมการเข้าถึงผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยสื่อวีดิทัศน์ ผลิตรายการ The Author
      5. โครงการ “Mahidol Historical Learning Experience เด็กไทยใจมหิดล” จัดทำ Games Application เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยมหิดล และใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนสำหรับสถานศึกษาเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและกรุงเทพฯ
      6. โครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลให้กับโรงเรียนในชุมชนโดยรอบ และเผยแพร่เรื่องราวเชิงประวัติและผลงานของมหาวิทยาลัยไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ
      7. ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ กับสมาชิกภาคีข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค PULINET Plus และกิจกรรมความร่วมมือกับ AUNILO – Libraries of ASEAN University Network ในการร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ และพัฒนากิจกรรมวิชาการ รวมถึงการลงนามในหนังสือเก็บบันทึกข้อตกลงความเข้าใจที่ตรงกัน (MOU) กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยระดับสากล

2. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามระบบมาตรฐาน ISO 9001:2015 และ ISO 14001:2015
      – โครงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว สำนักงานสีเขียว และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 14/2566 ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 14/2566 ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. ปี 2564 วางระบบ เตรียมความพร้อม และปี 2565 เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัยระดับ 3 หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับสูง ให้บริการทั้งบุคลากรภายในคณะฯ และภายนอกคณะฯ
      2. พัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก 2 หลักสูตร
      3. เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการเสนอขอทุนต่างประเทศ เพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อปี เช่น ทุน NIH, Wellcome Trust, EU, etc.
      4. จัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM)
      5. ศูนย์วิชาการและวิจัยด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวของประเทศไทย

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – โครงการ M-Health (ปรับปรุงระบบ มาลาเรีย Mobile Health เพื่อการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย)
      – โครงการ Vaccine Information Management System [VIMS] (ระบบบริหารจัดการข้อมูล ที่ครอบคลุมทุกด้านของวัคซีน)
      – โครงการ Public Health Informatics: Where IT Meets Public Health (การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศศาสตร์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ)
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – โครงการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นอนามัยโรงเรียน (จัดทำหลักสูตรระยะสั้นแบบ VIRTUAL CONFERENCE)
2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
      – โครงการอบรมมัคคุเทศก์กับภาคเอกชน (การประชุมวิชาการโดยจะเน้นให้ความรู้ด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว มัคคุเทศก์)
2.3 Innovation in Health & Wellness
      – โครงการตรวจหาไข่พยาธิโดยใช้ AI (Artificial Intelligence: AI)
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสอบ TOEIC (บุคลากรสายสนับสนุนได้มีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน)
4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
4.1 Healthy Foods
      – โครงการอาหารสุขภาพในศูนย์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
4.2 Capacity Building
      – โครงการการเขียนขอทุนวิจัยต่างประเทศ (ทุน NIH, Wellcome Trust เป็นต้น)
      – โครงการInternational Research Laboratory: Health, Disease Ecology, Environment and Policy (IRL-HEALTHDEEP), การจัดอบรมและประชุมวิชาการนานาชาติ
      – โครงการ International Training MU-HOKKAIDO-SEOUL ด้าน Health & Environment สำหรับนักศึกษา ปริญญาโทและปริญญาเอก
      – โครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัย การศึกษา และสาธารณสุขชุมชน กับวิทยาเขตอำนาจเจริญ และวิทยาเขตนครสวรรค์
4.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – โครงการ Solar Roof เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – โครงการพัฒนาบทเรียนดิจิตอล และห้องปฏิบัติการเสมือนจริงโรคเขตร้อน

การวิจัย
      – โครงการ Meet the academic publishers

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการพลังชุมชนลดการติดโรคหนอนพยาธิ ในกลุ่มประชาชน และนักเรียนพื้นที่ทุรกันดาร แนวตะเข็บชายแดน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

Campus Operations
      – โครงการรณรงค์เขตร้อนรักษ์โลก และกิจกรรมการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 13/2566 ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 13/2566 ของคณะเภสัชศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. ผลงานวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 เรื่อง/คน/ปี และมีจำนวนการอ้างอิงเฉลี่ย 10 ครั้ง/เรื่อง
      2. ผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่ท้องตลาดทั้งโดยตรงและผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่บนความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ และให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพและปลอดภัย
      3. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก AUNQA และ ACPE เป็นหลักสูตรแรกของไทย
      4. หลักสูตร PharmD (International) เริ่มดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2566
      5. โรงงานยาของคณะเริ่มเปิดดำเนินการปี พ.ศ. 2566
      6. ร่วมกับส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยพัฒนาแพลตฟอร์มกระบวนการคิดค้นและพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Drug Discovery and Development Platform) ที่ครบวงจร เพื่อยกระดับความสามารถด้านการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – การบูรณาการฐานข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์ร่วมกับสารสนเทศทางการสาธารณสุข สำหรับการป้องกันการแพ้ยาที่รุนแรง ในการให้บริการในระบบสาธารณสุข (ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) เพื่อนำไปใช้กับ application หมอพร้อม
1.2 Global Health Governance
      – Health Technology Assessment to support universal health coverage across the globe

2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – ร่วมประชุมกับมหาวิทยาลัยในการจัดทำหลักสูตร Health & Wellness และพร้อมส่งมอบอาจารย์และรายวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยจะจัดทำ

3. Social Enterprise
3.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน (ลพบุรี กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ)

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
4.1 Healthy Foods
      – กลุ่มโครงการอาหารทางการแพทย์ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากข้าว
4.2 Inclusiveness
      – โครงการศึกษาสถานการณ์การจัดบริการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการจัดระบบข้อมูลเพื่อการให้บริการของประเทศไทย และต่างประเทศ
      – การสำรวจค่าใช้จ่ายการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทยและภาวะวิกฤตทางการเงินต่อผู้ป่วยและครอบครัวแบ่งตามระดับความยากจน
4.3 Capacity Building
      – Capacity Building Training on Health Technology Assessment for Low-to-middle-income countries (LMIC)
4.4 Sustainable City & Community (Climate change)
      – โครงการ “น่าน Sandbox” ผลักดันสมุนไพรสู่การสร้างเศรษฐกิจเพื่อลดความยากจนและรักษาสิ่งแวดล้อม
      – กลุ่มโครงการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านและการใช้พืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทยและจากชั้นตะกอนดินในแหล่งโบราณคดี

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – การพัฒนาวิชาการศึกษาทั่วไป “สมุนไพรในชีวิตประจำวัน” สำหรับนักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยที่สนใจ (ปัจจุบันแล้วเสร็จไป 2 modules)
      – รายวิชา “สมุนไพรในชีวิตประจำวัน” บน Platform MUx เพื่อสนับสนุน life-long learning ของประชาชน

การวิจัย
      – การวิจัยเพื่อสนับสนุน universal health coverage และ reimbursement policies ของไทยและกลุ่มประเทศ Low-to-middle-income countries (LMIC)
      – การวิจัยเพื่อการกำหนดมาตรฐานสมุนไพรไทยสนับสนุนการขยายตัวของ Thai Herbal Pharmacopoeia และเพิ่มจำนวนสมุนไพรในบัญชียาสมุนไพรแห่งชาติ
      – โครงการฐานข้อมูล chromatographic fingerprint สมุนไพรและตำรับยาสมุนไพรไทย ด้วยเทคนิค LC-MS/MS
      – โครงการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาเชื้อดื้อยาและการจัดการ

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการ Herbal Appreciation (เผยแพร่ความรู้เรื่องสมุนไพร เพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับพืชสมุนไพร และให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยพืชสมุนไพร)
      – การผลักดันให้ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายสมุนไพร) ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC: 17025:2017 เพื่อยกระดับการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
      – ฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก (ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
      – ฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 12/2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 12/2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. มุ่งหมายเป็นอันดับหนึ่งด้านวิจัยวิทย์ของประเทศ เพื่อชี้นำสังคม รวมถึงสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ
      2. มุ่งสร้างบัณฑิตที่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต สร้างการศึกษา One Mahidol Science Education ทั้งนักศึกษา วิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาหลักสูตรผ่านการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และหลักสูตรยืดหยุ่นระดับปริญญาตรี โดยมีระบบการสอบ AI-based aptitude test
      3. การสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะและใช้ความรู้เพื่อประโยชน์สังคม เพิ่มรายได้จากนวัตกรรม การบริการวิชาการ
      4. Digital Transformation สู่องค์กรที่บริหารจัดการโดยข้อมูลทั้งการศึกษา วิจัยและการดำเนินการ มุ่งจะได้รับรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2565 และมีการบริหารจัดการแบบ SDGs-oriented operations
      5. นำ Digital Technology มาใช้เพื่อการศึกษาแบบ hybrid พัฒนาระบบการสอนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์
      6. Mahidol Downtown Campus เป็นพื้นที่รวมนวัตกรรมและวิทยาการของคณะวิทยาศาสตร์และพันธมิตร

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Structure & HR Resource
1.1 การปรับโครงสร้าง
      – การบริหารองค์กรรูปแบบใหม่ ลดระดับชั้น มีแผนการปรับโครงสร้างเพื่อความยั่งยืนขององค์กร เช่น ให้มีงานพัฒนาทุนมนุษย์ งานยุทธศาสตร์องค์กร งานการเงิน งานเอกชนสัมพันธ์ และสังคมสัมพันธ์ เป็นต้น การสร้างระบบองค์กรให้สนับสนุนกันและกัน เกิดวัฒนธรรมความร่วมมือ
1.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ให้เป็นมืออาชีพ มีบทบาทในการพัฒนาตนและขับเคลื่อนองค์กร ปรับเพิ่มความสามารถทางภาษาของบุคลากรตั้งแต่แรกรับ และนโยบาย Global Talent ในองค์กรให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย
      – การให้โอกาสและการสร้างคนเพื่อสืบทอดตำแหน่งงาน
      – พัฒนา “คน” เพื่อสร้างองค์นวัตกรรม Innovative organization

2. Social Enterprise
2.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – Mahidol Science Corporate Engagement and Innovation การพัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทเอกชน องค์กรภาครัฐ และการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อผลิตภัณฑ์/บริการเพื่อสังคม เช่น ผลิตภัณฑ์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร พืช และสมุนไพรต่าง ๆ

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
3.1 Inclusiveness
      – One Education Science
      – Disability Facilities ทั้งคณะวิทยาศาสตร์ พญาไท และศาลายา เช่น ห้องน้ำ ลิฟต์ ทางลาด รถเข็นไฟฟ้า การสื่อสารโดยใช้ภาษามือ
      – กิจกรรม Pride Month เพื่อความเท่าเทียมทางเพศสภาพ กิจกรรมนักเรียนผู้มีความพิการทางการได้ยิน
3.2 Capacity Building
      – MUSES: Mahidol University Science Education Space เพื่อสนับสนุน/พัฒนาด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์
      – โครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การจัดกิจกรรมเพื่อนักเรียนและครูระดับมัธยม เช่น Sci-Access, MAS camp, STEM workshop รวมถึง Mahidol Science School Network
      – โครงการสื่อสารวิทยาศาสตร์ Mahidol Science Communication ผ่าน Plain-Language Summary
      – การส่งเสริมการศึกษา/วิจัย ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เช่น การอบรม การศึกษาต่อ การทำวิจัยร่วม
3.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – การอบรมเชิงปฏิบัติการ “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน
      – พลังงานยั่งยืน Solar roof @ Faculty of Science

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – SDG4 Quality education: การจัดตั้ง MUSES เพื่อจัดการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาอย่างเป็นระบบร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นระบบ Adaptive aptitude test, Mahidol online test center, hybrid biosafety training/ coding for all เป็นต้น
      – SDG10 ลดความไม่เสมอภาค โดยการให้ทุนนักศึกษาในกลุ่มขาดแคลน

การวิจัย
      – สนับสนุนกลุ่มงานวิจัยที่ตอบสนอง SDGs โดยเฉพาะ SDG3 Good health and well-being, SDG7 Clean and affordable energy, SDG14 Life below water, SDG15 Life on land, SDG13 Climate Action เป็นต้น

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – SDG8 Decent work and economic growth โดยสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมยางธรรมชาติและพลาสติก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหารและสมุนไพร เป็นต้น

Campus Operations
      – SDG3 Good health and well-being ความปลอดภัย สุขภาพ และคุณภาพชีวิตในองค์กร SDG 5 บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ SDG7 Affordable and clean energy SDG10 ลดความไม่เสมอภาค การจ้างงานผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้พิการ SDG11/17 Sustainable cities and communities/Partnership for the goals ความร่วมมือกับภาคสังคม เช่น การอบรมรุกขกรปฏิบัติการ และโครงการ City Nature Challenge 2023

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 11/2566 ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 27 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 11/2566 ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะสัตวแพทยศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมพยัคไกรสี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. ผลักดันหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา อย่างน้อย 1 หลักสูตรให้ได้การรับรองตาม AUN-QA
2. ส่งเสริมความเป็นนานาชาติผ่านกิจกรรมทั้งรูปแบบ online และ onsite ให้แก่นักศึกษา
3. รพ.สัตว์ประศุอาทร และรพ.ปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน มุ่งสู่มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 และมาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
4. ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพและศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลและเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (I-med) เพื่อเชื่อมข้อมูล 2 โรงพยาบาลสัตว์และ 2 ศูนย์
6. พัฒนาการใช้พื้นที่และเพิ่มศักยภาพบริการวิชาการเพื่อเพิ่มรายได้ และสนับสนุนงานวิจัยและการเรียนการสอน

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Global Health Governance
– โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการ ABSL-3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพระดับสากล
– โครงการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

2. Health & Wellness
2.1 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
– โครงการพัฒนาระบบมาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย TAHSA

3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
– ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรอย่างยั่งยืน

4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
4.1 Sustainable City & Community (Climate change)
– ธำรงคุณภาพมาตรฐาน มอก.2677-2558 ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาและการเพาะเลี้ยงเซลล์

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
1. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
– Organizing an expert workshop on health, Wildlife and livelihoods
– Applying surgical sterilization for population control of wild macaques and strayed dogs and cats

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 10/2566 ของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 10/2566 ของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพงษ์ ฐิตะมาดี ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมประชุม โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1.1 เป็นสถาบันฯ ที่ผลิตนักศึกษาที่เป็นที่ต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ
1.2 เป็นสถาบันฯ ที่ผลิตงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาครัฐและเอกชน
1.3 เป็นห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานระดับสากล อาทิ WADA NATA

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
2.1 Health & Wellness
      – Innovation in Health & Wellness – Smart Diaper / Multiplex Detection of the Illicit drugs (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา และการวิจัย
      – สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย (SDGs 3)
บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ (SDGs 16)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 9/2566 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 9/2566 ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมพิทยา จารุพูนผล อาคารเทพนม เมืองแมน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
1. การพัฒนา Flexi Education หลักสูตร MD MPH ออนไลน์ (ปีการศึกษา 2565)
2. การพัฒนาศูนย์บริหารจัดการสร้างสุขภาพและควบคุมโรคในชุมชนเขตพญาไท ราชเทวี ร่วมกับ ย่านนวัตกรรมโยธี (พ.ค. – ก.ย. 2564)
3. การพัฒนาโครงร่างวิจัยที่เป็น Frontier and Digital Public Health (พ.ค. – ก.ย. 2564)
4. การพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ Health Literate and Healthy District สู่การเป็น Balancing Public Health (ปี 2564-2565)
5. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมนานาชาติที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ด้าน Megacity Health and Global Health (ปี 2564-2565)
6. การเพิ่มรายได้ด้วยการจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบและกลุ่มพระสงฆ์ (ปี 2564-2565)
7. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรม ด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพิ่มร้อยละ 10 (ปี 2564-2565)
8. การพัฒนานักศึกษาให้ได้คุณภาพเพื่อเป็นบัณฑิตพร้อมใช้ และผ่าน MUHIDEF (Health Literacy, English) ร้อยละ 80 (ปี 2564-2565)

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแชทบอทอินเทนท์สำหรับใช้ในการสนับสนุนแชทบอทน้องยูซีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
      – การจัดทำ E-learning ศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรเพื่อการควบคุมยาสูบ
      – การพัฒนาแอนิเมชั่นเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรที่เป็น กลุ่มโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
      – The project entitled the development and evaluation of a deep-learning based chest X-ray computer- aided diagnosis software for the detection and follow-up of tuberculosis

1.2 Global Health Governance
      – การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาทผู้จัดการระบบสุขภาพในชุมชน
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
      – 2/2-GEO Health Hub: Improving Agricultural Health in Southeast Asia-Thailand
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – หลักสูตร Ph.D. wellness leadership
      – หลักสูตรฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านส่งเสริมสุขภาพและด้านอาหารและโภชนาการ
2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การอบรมความปลอดภัยและมาตรฐานของผู้สัมผัสอาหาร
      – การพัฒนาสถานประกอบการ/สถานบริการ ให้รองรับมาตรฐาน wellness
      – การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาทผู้จัดการระบบสุขภาพในชุมชน
      – แผนยุทธศาสตร์เขตนวัตกรรมการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจเวลเนส ประเทศไทยเพื่อเป็นนโยบายของรัฐบาล
2.3 Innovation in Health & Wellness
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
      – การวิจัยและออกแบบตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
      – การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแชทบอทอินเทนท์สำหรับใช้ในการสนับสนุนแชทบอทน้องยูซีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
      – The project entitled the development and evaluation of a deep-learning based chest X-ray computer-aided diagnosis software for the detection and follow-up of tuberculosis
      – การพัฒนาแอนิเมชั่นเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรที่เป็นกลุ่มโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
      – การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจของนักเรียน โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
      – 2/2-GEO Health Hub: Improving Agricultural Health in Southeast Asia-Thailand

3. Structure & HR Resource
3.1 การปรับโครงสร้าง
3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – การบริหารจัดการโดยใช้ระบบ Lean and Co-Working Space

4. Social Enterprise
4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อบริการสุขภาพชุมชนด้วยการส่งเสริมและป้องกันโรคด้วย Health Literacy ของประชาชน
4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – Public health field study in Thailand (หลักสูตรฝึกอบรม)

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Inclusiveness
      – การส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรไทย ต่อต้าน Hate Speech และ Bullying (SHSB)
      – คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาสำหรับบุคลากร และนักศึกษา
      – การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจของนักเรียนโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
5.2 Capacity Building
      – การจัดสัมมนา โดยเชิญศาสตราจารย์วุฒิคุณ จากประเทศต่าง ๆ
      – การจัดประชุมวิชาการนานาชาติ
5.3 Sustainable City & Community (Climate Change)
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
      – การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพแบบบูรณาการ
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
      – อาหารริมบาทวิถีต้องพัฒนาอย่างไรเพื่อสุขภาพคนเมือง
      – การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำและกากตะกอน การพัฒนารูปแบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการจ้างงานพยาบาลเกษียณอายุในบทบาท

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – Wellness for Industry
การวิจัย
      – ทุกโครงการวิจัยมีส่วนร่วมผลักดัน SDGs
การบริการวิชาการและส่งเสริม Community Engagement
      – การจัดทำรายงานการปลดปล่อยและการดูดซับก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็น carbon neutral faculty
Campus Operations
      – การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

พิธีลงนามความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงระหว่าง HeaRTS (HealthcaRe Tele-delivery Services) และบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รองประธานกรรมการศิริราชมูลนิธิ และประธานกรรมการบริหารบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด พร้อมด้วย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร กรรมการบริหารบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ Chief Operating Officer บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด นายแพทย์ทวิราป ตันติวงษ์ Chief Operating Officer บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กภ.ภครตี ชัยวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานกรรมการบริหาร HeaRTS ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือในบันทึกข้อตกลง “โครงการเยี่ยมบ้านทางกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด และการบริการดูแลผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดทางไกล” ระหว่าง HeaRTS (HealthcaRe Tele-delivery Services) และบริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด โดยมี ผู้บริหารส่วนงาน ผู้แทนส่วนงาน เข้าร่วมพิธี ณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและเพิ่มความสะดวกสบายของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย (Home Health Services) โดยนักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด และการบริการดูแลผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดทางไกล (HealthcaRe Tele-delivery Service: HeaRTS) และเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลให้ได้ประโยชน์สูงสุด

บริษัท ศิริราชวิทยวิจัย จำกัด ก่อตั้งโดย ศิริราชมูลนิธิ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่เป็นองค์กรสาธารณกุศล รับบริจาคเงินและทุนทรัพย์เพื่อช่วยเหลือการรักษาผู้ป่วยยากไร้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมไทย (Social Enterprise) สร้างโอกาสการเข้าร่วมกับภาคเอกชน ในการพัฒนานวัตกรรม งานบริการ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สร้างความคล่องตัวเพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันทางธุรกิจ และนำนวัตกรรมของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และอื่น ๆ ออกสู่ท้องตลาดในเชิงพาณิชย์

HealthcaRe Tele-delivery Service: HeaRTS กายภาพบำบัดกิจกรรมบำบัดทางไกล บริการด้วยใจ เข้าถึงง่าย ทุกที่ ทุกเวลา ออกแบบมาเฉพาะคุณ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้บริการการกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดทางไกล (HealthcaRe Tele-delivery Service) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงการรักษาทางกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้รับบริการที่มีเวลาจำกัดหรือไม่สะดวกในการเดินทาง โดยผู้รับบริการสามารถรับคำปรึกษาทางกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด จากนักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้รับบริการจะได้รับการประเมินปัญหาทางกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด พร้อมได้รับคำแนะนำเบื้องต้น โดยเปิดให้บริการให้คำปรึกษา ดังนี้ กายภาพบำบัดทางระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัดทางระบบประสาท กายภาพบำบัดทางเด็ก กิจกรรมบำบัดทางเด็ก กิจกรรมบำบัดในผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 8/2566 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 8/2566 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ประชุม 4228 ศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล (อาคาร 4) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้


1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน 
University Council Visit ครั้งที่ 2

  1. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรอง ASEAN AUN-QA อย่างน้อย 1 หลักสูตร พัฒนาการเรียน การสอนระดับบัณฑิตวิทยาลัยในรูปแบบ MAP-C ให้บุคคลทั่วไปเลือกเรียนได้ตามความสนใจและพัฒนาการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรร่วมกับ GISTDA
  2. พัฒนาและขับเคลื่อนกลุ่มวิจัย งานวิจัยที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ และเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
  3. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล SCIE ใน ISI Web of Science และการขอรับการรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จำนวน 2 พารามิเตอร์ (ตะกั่ว และแมงกานีส) รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี ตามมาตรฐาน ESPReL ครบทั้ง 10 ห้องปฏิบัติการ และพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ จ.ลำปาง
  4. ติดตั้งสถานถาวรในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และติดตั้งและพัฒนาเครือข่ายระบบ นำทางด้วยดาวเทียม ณ ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม

 2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Health & Wellness
1.1
กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

  • เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)

2.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
2.1 Sustainable City & Community (Climate change)

มีโครงการด้าน Climate Change ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน ดังนี้

  • โครงการวิจัย 6 โครงการ
  • โครงการบริการวิชาการ 5 โครงการ
  • โครงการฝึกอบรม 6 โครงการ
  • โครงการที่ร่วมกับชุมชน 2 โครงการ

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

  1. แผนงานการศึกษากลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยวบนความยั่งยืน
  2. การพัฒนาเครือข่ายการวิจัยสภาพภูมิประเทศแบบคาสต์ ระบบถ้ำ และการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศธรณีใน จ.แม่ฮ่องสอน
  3. โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมเพื่อความยั่งยืนตามภูมินิเวศ: การจัดทำผังพื้นที่อนุรักษ์แหล่งศิลปกรรมรายประเภท และการจัดทำผังภูมินิเวศแหล่งธรรมชาติรายประเภทในพื้นที่ภาคเหนือ (ตอนล่าง)
  4. โครงการติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564
  5. โครงการศึกษาข้อมูลบัญชีรายการและการใช้ประโยชน์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ แนวโน้มและศักยภาพการใช้ประโยชน์
  6. โครงการจัดทำหนังสือคู่มือการติดตามและประเมินผลพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  7. การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติ ในระดับพื้นที่
  8. การใช้พื้นที่ซ้อนทับระหว่างช้างป่า (Elephas maximus) และชุมชน และการพัฒนาระบบเตือนภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย
  9. นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
  10. การติดตามนิเวศวิทยาประชากรและการเติบโตของวัวแดง (Bos javanicus) ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จ.ชลบุรี
  11. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล
  12. การปรากฏและการกระจายของละองละมั่งภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี
  13. การศึกษาช้างป่าแบบบูรณาการเพื่อลดผลกระทบความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าภาคตะวันออกอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  14. โครงการวิเคราะห์ความเข้มข้นก๊าซเรือนกระจก
  15. การประเมินการกักเก็บคาร์บอนและการผลิตออกซิเจนของต้นไม้ในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน และลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
  16. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลต่อพลวัตป่าชายเลนสิ่งแวดล้อม และมนุษย์ ในสมัยโฮโลซีน: นัยที่เกี่ยวเนื่องกับการกักเก็บคาร์บอนระยะยาวของชายฝั่งอันดามัน ประเทศไทย
  17. การพัฒนาเครื่องมือวัดอัตราการสังเคราะห์แสงของพืชในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยายกาศ
  18. การประเมินทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา จ.พิจิตร
  19. โครงการขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม
  20. การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพาราภาคตะวันออก
    ของประเทศไทย
  21. โครงการ Climate Action Leader Forum
  22. เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  23. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน
  24. การพัฒนากระบวนการผลิตพลังงานทดแทน พลาสติกชีวภาพ และปุ๋ยอัดเม็ดจากน้ำกากส่าร่วมกับกากยีสต์
  25. สถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ.2563
  26. ผลของไฟต่อคุณสมบัติทางเคมี-กายภาพ และจุลชีววิทยาของดินในพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนบริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
  27. แนวทางป่าประชารัฐในการฟื้นฟูป่าดิบชื้นเพื่อลดการเกิดและลุกลามของไฟป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง
  28. ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำและประมาณการผลผลิตแบบแม่นยำสำหรับการปลูกอ้อย
  29. การพัฒนาอากาศยานไร้นักบินเพื่อรองรับเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายระบบ 5G เพื่อการจัดการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
  30. พฤติกรรมเชิงลึกของเกษตรกรและคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนเกษตรปลอดการเผา
  31. การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรใน พื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จ.ลำปาง
  32. การจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ระยะยาว 3 ปี (2564-2566)
  33. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อสร้างความสามารถในการหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  34. โครงการสำรวจความหลากหลายและภูมิปัญญาสมุนไพรสำหรับสุขภาพระดับชุมชน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
  35. การพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 จ.ลำปาง
  36. การจัดทำบัญชีการระบายมลพิษแอมโมเนียซึ่งเป็นสารตั้งต้นทุติยภูมิก่อให้เกิด PM2.5 จากกิจกรรมของมนุษย์ในเขตพื้นที่กทม.
  37. โครงการประเมินความสามารถในการรองรับมลพิษที่จะระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
  38. การใช้วิธีพืชร่วมกับแบคทีเรียเฉพาะถิ่นเพื่อเป็นแนวป้องกันสีเขียวในการป้องกันการแพร่กระจายโลหะหนักจากพื้นที่กำจัดขยะชุมชน
  39. การพัฒนากระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพจากน้ำทิ้งจากกระบวนการย่อยสลายไร้อากาศโดยสาหร่ายขนาดเล็ก
  40. การพัฒนาวัสดุนาโนโลหะออกไซต์เพื่อผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากน้ำเสียในกระบวนการสังเคราะห์แสงเทียม
  41. โครงการทดสอบการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและสาหร่ายของแผ่นฟิล์ม
  42. นวัตกรรมต้นแบบถังดักไขมันเพื่อกำจัดไขมันจากการแปรรูปอาหารและอาหารเหลือทิ้ง
  43. การศึกษา และวิเคราะห์เชิงระบบของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีผลต่อการหนุนเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG
  44. โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  45. โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลำปาง
  46. ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินสถานการณ์และคาดการณ์พิบัติภัยน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำน้ำแม่สาย-น้ำรวก
  47. โครงการรัฐสภาสีเขียว : เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  48. โครงการพัฒนาและตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) : กฟภ. กฟน. โรงพยาบาลค่ายสุรนารี บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง
  2. การสื่อสารเพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เผชิญปัญหาหมอกควัน
  3. การจัดการความรู้การทำนาแปลงใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ
  4. แผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง
  5. การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
  6. มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)
  7. การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer
  8. การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล
  9. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ “ผู้แทนชุมชนเกาะลัดอี แท่น จ.นครปฐม” “เทศบาลเมืองไร่ขิง” “สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย”ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นฯ
  10. การอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
  11. การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนชุมชนเกษตรในเมืองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน:มิติความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรน้ำ-พลังงาน-อาหาร-คน
  12. การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว Green Office
  13. การตรวจประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
  14. โครงการนำร่องการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของการยางแห่งประเทศไทย
  15. การประเมินคาร์บอนสะสมในพื้นที่สวนยางพาราโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (geo-informatics)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 7/2566 ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 7/2566 ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 515 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1.1 RILCA R&D Sandbox โครงการ Sandbox My Q-My H ควบคู่ MU Talents & RILCA Talents

1.2 เครือข่ายการวิจัยและการศึกษาแบบครบวงจรในลักษณะ Strategic partner ทั้งการวิจัยร่วมและการพัฒนาหลักสูตร Double Degree (หลักสูตรนานาชาติ) กับ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อมุ่งยกระดับ Subject ranking ด้านภาษาและวัฒนธรรม

1.3 สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในมิติภาษา วัฒนธรรม พหุวัฒนธรรม และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมผ่านการทำงานวิจัยที่มีการต่อยอด การสร้างนวัตกรรม การสร้างผลกระทบต่อสังคมและการชี้นำทางนโยบาย รวมทั้งการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น และการศึกษาตลอดชีวิตทั้งในและนอกดิจิทัลแพลตฟอร์ม

1.4 RILCA Smart Language and Cultural Diversity on Digital Platform

1.5 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรม-พหุภาษา ภายใต้แนวคิด MU Cultural Quarter

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

     2.1 Inclusiveness

  • Mother Tongue-Based Multilingual Education and Intercultural Education project in Koh Lanta (MTBMLE-ICE) (Phrase2)
  • การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
  • โครงการผลิตสารคดีชุด “Some One หนึ่งในหลาย”

     2.2 Capacity Building

  • RILCAs Empowerment: Creating Refugees, Migrants as agents of Positive Change
  • พหุวัฒนธรรมเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอาเซียน