วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 6/2566 ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมกระแส ชนะวงศ์ ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้
1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
- หลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ได้รับ Global Accreditation (AUN-QA)
- จัดตั้ง ASEAN Primary Health Care Research and Information Centre (APRIC) เพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัยและฐานข้อมูลด้านการพัฒนา PHC ในภูมิภาคอาเซียน
- ขับเคลื่อนการทำงานภารกิจสุขภาพโลกมหิดลอย่างเป็นรูปธรรม (MUGH) และสนับสนุน ให้เกิด School of Global Health and Health Policy (SGHP)
- จัดตั้ง Mahidol Active Ageing Policy Watch Centre (MAPC) และเสนอนโยบายฯ เพื่อสุขภาพ Active Ageing ในนามของมหาวิทยาลัยมหิดล
- สนับสนุนให้เกิดการใช้เครื่องมือ Healthy University Rating System (HURS) ที่ริเริ่มโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ในเครือข่ายสมาชิกของ ASEAN University Network–Health Promotion Network (AUN-HPN) และระดับนานาชาติ
- ผลักดัน Journal of Public Health and Development ของสถาบันฯ ให้อยู่ใน Scopus
2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
- เปิด Global Health Special Track ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะนี้มีนักศึกษาปริญญาเอกจำนวน 2 คน ที่มาศึกษาในหลักสูตร โดยได้รับทุน MUGH
- เปิดรายวิชา Digital Health และ Climate Change Adaptation ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเปิดสอนในภาคเรียนที่ 2/2566
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
- สถาบันฯ จะร่วมสอนในหลักสูตร Health & Wellness
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
- เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการด้วยแผน Strategic HR ปรับอัตราบุคลากรให้เหมาะสมกับภาระงาน
4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
4.1 Capacity Building
- พัฒนากำลังคนด้าน Primary Health Care ในประเทศ CLMV และกลุ่ม Ethnics โดยสนับสนุนทุนการศึกษาจาก International Partner
3.โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
การศึกษา
- พัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สอดคล้องกับ SDGs
การวิจัย
- มุ่งเน้น Issue Based เรื่อง Primary Health Care Management and Global Health
บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
- สำนักงานเลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN ดำเนินการโครงการ “การพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ” เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน
- การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในระบบสุขภาพเพื่อการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ “การเพิ่มสมรรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยการเรียนรู้ร่วมกัน ในการปฏิบัติท่ามกลางความเป็นจริง
Campus Operations
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรและมีหลักธรรมาภิบาล