มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา 28 กรกฎาคม 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์ ศาลายา จำนวน 30 รูป จากนั้น มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะ พิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นพนักงานที่ดี และพลังของแผ่นดิน โอกาสนี้ มีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 25/2566 ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 26 กรกฎาคม ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 25/2566 คณะกายภาพบำบัด และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมารวมทั้งเป้าหมาย ที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด พร้อมผู้บริหาร ฯ เข้าร่วมการประชุม โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.การศึกษา

– การรับรองหลักสูตรทุกหลักสูตรทั้งปริญญาตรีและหลังปริญญาให้ได้ตามมาตรฐานสากล เช่น WCPT, WFOT, AUN-QA

– นวัตกรรมด้านการศึกษาแบบยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบทุกที่ทุกเวลา เช่น E-learning, MAPC, Microcredit, Credit Bank

2.การบริการสุขภาพและบริการวิชาการ

– เพิ่มคลินิกเฉพาะทาง Women health, Active Aging และ Vojta เพื่อเตรียมความพร้อมเป็น Healthcare Hub ด้านกายภาพบำบัดแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

– Telehealth service ผ่าน Web Application เพื่อเอื้อให้ผู้รับบริการทั่วประเทศเข้าถึงการรับบริการ

– การรับรองมาตรฐานวิชาชีพของศูนย์กายภาพบำบัดจากสภากายภาพบำบัด ทั้งสาขาเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและศาลายา

3.วิจัยและนวัตกรรม

– รับทุนงานวิจัยต่อเนื่องจาก IOM เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวและชุมชน

– จดลิขสิทธิ์คู่มือและคลิปวีดิทัศน์งานวิจัยและงานบริการสุขภาพ และพัฒนาเครื่องมือแบ่งปันความรู้ใน KM Masterclass และสื่อออนไลน์ เพื่อบุคคลภายนอก

– ประโยชน์จากงานวิจัยสู่นโยบายทางสุขภาพกับสังคมโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

– นวัตกรรมสู่ภาคธุรกิจ เช่น อุปกรณ์ดามต้นทุนต่ำจากเทอร์โมพลาสติกและยางพารา

4.การบริหารงานเพื่อความยั่งยืน

– ขอยื่นรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA)

 

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Global Health

1.1 Digital Health

– HealthcaRe Tele-delivery Service (HeaRTS-กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัดทางไกล)

2. Health & Wellness

2.1  กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

– หลักสูตร Ph.D. (Health and Wellness)

– หลักสูตรปริญญาตรี สาขา Wellness

– หลักสูตรระยะสั้นกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ

– โครงการอบรมทางการกีฬา

2.2 Innovation in Health & Wellness

– HeaRTS@Home (กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดเยี่ยมบ้าน) และ HeaRTS

3. Structure & HR Resource

3.1 การปรับโครงสร้าง

– การปรับโครงสร้างสำนักงานคณบดี

– การปรับโครงสร้างศูนย์กายภาพบำบัด เป็นPhysical Therapy Excellence Center

3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

– MU talent

4. Social Enterprise จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน -Start-up HeaRTS

5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

5.1 Capacity Building

– Research and Innovation Center of Human Movement Science

 

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา

– โครงการ MUx, Microcredit และ MAP-C เพื่อผลักดัน SDG 4 และ 17

2. การวิจัย  

– โครงการ Innovative splint และ โครงการ HeaRTS เพื่อผลักดัน SDG 9 และ 17

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

– โครงการคลินิกชุมชนสัญจร, โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น (4 เดือน) สาขาวิชากายภาพบำบัดชุมชน, โครงการ HeaRTS, โครงการคลินิกเฉพาะทางเพื่อผลักดัน SDG 3 และ 17

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 24/2566 ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลและทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 24/2566 ของคณะศิลปศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

  1. นำหลักสูตรบันฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน AUN-QA
  2. พัฒนาและเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวิทยาเสรี (Liberal Studies)
  3. เพิ่มกิจกรรมความร่วมมือกับ Hankuk University of Foreign Studies, Republic of Korea และ Busan University of Foreign Studies
  4. ยกระดับการทำกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับ Fudan University
  5. ร่วมมือกับ Macquarie University เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยมีการดำเนินการกิจกรรมทางการศึกษาร่วมกัน เช่น Double Degree และ Cotutelle Programs
  6. การพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
  7. การเพิ่มสัดส่วนผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติให้สูงขึ้น
  8. การเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

คณะฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม ดังนี้

– บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศิลปศาสตร์ กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565

– บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะศิลปศาสตร์ กับวิทยาเขตกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

– ข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาควบปริญญาตรี ระหว่าง คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566

– คณะฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงภายนอกมหาวิทยาลัย คือ Agreement on a Double-Degree Program for Master Courses in Applied Linguistics between Faculty of Liberal Arts, Mahidol University, Thailand and Graduate School of Humanities, Osaka University, Japan เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565

2.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

2.1 Inclusiveness

 โครงการพัฒนาทักษะชีวิตบ้านมุทิตาสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

– โครงการศึก-ศาสตร์-ศิลป์: MULA & SDGs

– โครงการ Train the Trainers: Teaching English to Students with Hearing Impairment

2.2 Sustainable City & Community (Climate change)

– โครงการสถานศึกษาปลอดภัย (กิจกรรม Green Office)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 23/2566 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 23/2566 ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมประชุม ณ ห้อง Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
      1.1 พัฒนาสถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดลให้เป็นสถาบันที่โดดเด่น สร้างผลงานที่มีความสำคัญ และมีคุณค่าสูงต่อมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ
      1.2 สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ให้เข้มแข็งและยั่งยืน
      1.3 พัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับคู่ความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกันและยกระดับความสามารถในการวิจัยของคณะฯ
      1.4 พัฒนาหลักสูตรให้เป็น Flexi Program ที่ทันสมัยคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน เป็นที่ต้องการของผู้เรียน และผู้ใช้บัณฑิต
      1.5 พัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพเป็นบัณฑิตที่พร้อมทำงานจริงได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา โดยมีการเรียนรู้จากการทำงานจริงกับภาคอุตสาหกรรม (Authentic Learning)
      1.6 สร้างสภาพแวดล้อมและส่งเสริมให้นักศึกษาคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
      1.7 สนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์กับนักศึกษาทุกชั้นปี คณาจารย์ และบุคลากรของคณะฯ เพื่อให้เกิดความผูกพันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอดไป
      1.8 ให้บริการวิชาการหลักสูตรอบรมที่ทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม โดยพัฒนาร่วมกับคู่ความร่วมมือภาคเอกชน/องค์กรชั้นนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฯ
      1.9 จัดทำและร่วมดำเนินการบริการวิชาการที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามเป้าหมายที่ 3 , 4 และ 13
      1.10 จัดทำโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย Digital Technology เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศอย่างต่อเนื่อง
      1.11 ส่งเสริมให้คณาจารย์และบุคลากรมีการพัฒนาตนเองเพิ่มพูนความรู้และทักษะใหม่ ๆ เพื่อพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุค Disruption
2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1.Health & Wellness
1.1 Innovation in Health & Wellness
      – Visually Impaired Smart Service System (VIS4ION-Thailand)
      – MIRU mosquito sensors
      – Integrated Federated Learning Platform for Radiology Clinical Workflow with Standard Annotation
3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การวิจัย
      1. Visually Impaired Smart Service System for Spatial Intelligence and Onboard Navigation (VIS4ION-Thailand)
      2. Network of Excellence in Advanced Information Technology for Tropical Medicine: Dengue, Malaria and Pandemic Preparedness IT Systems
      3. โครงการวิจัยพัฒนาระบบกรอบงานอัตโนมัติ เพื่อการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์แบบสหพันธรัฐสำหรับรูปภาพทางการแพทย์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 22/2566 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 22/2566 ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 503 วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1. จัดอยู่ใน 300 อันดับแรกของสถาบันที่จัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject: Business & Management Studies

2. ยื่นขอการประเมินและได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)

3. พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ และร่วมมือจัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับพันธมิตรที่แข็งแกร่งทั้งในมหาวิทยาลัยมหิดลและกลุ่มธุรกิจชั้นนำ

4. เพิ่มจำนวนกลุ่มวิจัย (Research Clusters) ร่วมกับพันธมิตรในสาขาที่วิทยาลัยมีศักยภาพ อาทิ Sustainable Leadership หรือ Sustainable Supply Chain รวมถึงต่อยอดและขยายความร่วมมือด้านการเรียนรู้ตลอดจนด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่างวิทยาลัยศูนย์อาเซียน เพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และหน่วยงานอื่น ๆ

5. เพิ่มโครงการพัฒนาองค์กรและบุคลากรตามกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มีความโปร่งใส และคำนึงถึงส่วนรวม ได้แก่ โครงการวิทยาลัยสีเขียว (Green CMMU) การพัฒนาโครงการวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบโจทย์หรือเกื้อกูลสังคม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รวมถึงการสร้างสายสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือในเชิงปฏิบัติระหว่างวิทยาลัยกับทุกภาคส่วน

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Health & Wellness

1.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) สาขา Healthcare & Wellness Management หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ไทย) สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ

2. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs

2.1 Capacity Building

โครงการ CMMU องค์กรคาร์บอนต่ำ

3.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

การศึกษา

1. เพิ่มเนื้อหาเรื่อง SDGs ลงในวิชาแกนของหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติและไทย)

การวิจัย

1. โครงการ 2022 Scientific Development of an Integrative Organizational Well-beings and Engagement Survey for Corporate Sustainability (บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด)

2. โครงการ Empirical Research and Survey Analysis of Organizational Well-being and Engagement for Corporate Sustainability (บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด)

3. โครงการ “การพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรอย่างยั่งยืน” (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.))

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

1. รางวัล ESG Award เป็นกิจกรรมทางวิชาการร่วมระหว่างวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวลส์ และสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา สื่อสาร และส่งเสริมการนำกรอบแนวคิด ESG (Environment, Social Issues, and Governance) มาประยุกต์ใช้ในการประกอบการเพื่อความยั่งยืนของบริษัทในประเทศไทย

2. Sustainability Consortium (December 2566) งานที่บูรณาการผลงานด้านความยั่งยืนของนักศึกษา อาจารย์ และพนักงานของวิทยาลัยการจัดการ ที่ผสานการนำเสนอผลงานวิชาการ และการถอดรหัสบทเรียนด้านความยั่งยืนจากองค์กรชั้นนำในประเทศไทย

Campus Operations

กิจกรรม Workshop: CMMU WAY

CMMU WAY #1 หัวข้อ Sustainable CMMU: Why and how?

CMMU WAY #2 หัวข้อ Sustainable CMMU: Circular Economy Workshop at Home

CMMU WAY #3 หัวข้อ Workshop: CMMU Green

CMMU WAY #4 หัวข้อ CMMU GOES GREEN: How to be a Net Zero Business School

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 21/2566 ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 21/2566 ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและและวิทยาเขตกาญจนบุรี พร้อมผู้บริหารวิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมนิลกาญจน์ ชั้น 3 อาคารเรียนรวมวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2

1. ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐาน ESPReL ของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 100 มีการรับรองในรูปแบบ Peer valuation ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพิ่มขึ้น มีหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือเอก เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3 หลักสูตร และมีหลักสูตร Non-degree Programs
2. จัดตั้งกลุ่มวิจัย Research Cluster หรือ Mini – Research Cluster เพิ่มขึ้นเป็น 2 กลุ่ม
3. มีการประเมิน Cost-Effectiveness ด้านการจัดฝึกอบรมและการรับตรวจวิเคราะห์
4. พัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

2.เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1. Structure & HR Resource

      – การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คาดว่าจะดำเนินการ Digital Transformation of Holistic HR Approach

2. Social Enterprise
      – จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม (Social Enterprise)

3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development GoalsSDGs
      – Healthy Foods โครงการพัฒนา Functional Food
      – Inclusiveness โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง
      – Capacity Building โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีศาสตร์ ภายใต้ MOU ระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      – Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการติดตามเฝ้าระวังเพื่อสนับสนุนการป้องกันหรือจัดการต้นกำเนิด ฝุ่น PM 2.5

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมสวมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การศึกษา โครงการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
      1.1 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีประยุกต์เพื่อความยั่งยืนของโลก (ภาษาอังกฤษ) Master of Science in Technology Intervention for Global Sustainability
      2.2 ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีประยุกต์เพื่อความยั่งยืนของโลก (ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy in Technology Intervention for Global Sustainability

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม (Social Enterprise)

3. Campus Operations
      – โครงการพัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรีให้เป็น ECO and Smart for Next Generation Campus

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 20/2566 ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 20/2566 วิทยาลัยนานาชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมจรินทร์ยารัศมิ์ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. ความยั่งยืนขององค์กร ส่งเสริมด้านสุขภาพ (Health) และความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) สร้าง Global Talent พัฒนาองค์กรโดยใช้ SDG principles สร้าง Value chain of iHE และ Data-driven Organization
2. เป็นเลิศทางการเรียนการสอน สร้างนวัตกรรมทางการศึกษา (Innovative Curriculum) เสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ของนักศึกษา และสร้าง Online courses (MUIC CONNECT)
3. งานวิจัยและความร่วมมือ สร้างจิตวิญญาณ ความมุ่งมั่น และความร่วมมือภายในวิทยาลัยในการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานวิจัย และกิจกรรมแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Health & Wellness กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness สาขาวิชาโท Health Innovation Design
2. Innovation in Health & Wellness โครงการจัดตั้ง MUIC Inspire Center จัดแข่งขันวิชาการโดยใช้โจทย์จากภาคอุตสาหกรรม (Student Think Tank)
3. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
3.1 Healthy Foods การจัดตั้ง Culinary Science and Food Innovation Center ผลักดันด้าน Healthy foods เช่น Plant based food สร้างความยั่งยืนทางอาหารสำหรับประชากรโลก
3.2 Sustainable City & Community (Climate Change) โครงการติดตั้ง EV Charging Station ที่อาคารเรียนของวิทยาลัยนานาชาติ

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
1. การศึกษา มีรายวิชาที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs จำนวน 1,198 รายวิชา แบ่งเป็นรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี 1,167 รายวิชา และหลักสูตรปริญญาโท 31 รายวิชา เช่น รายวิชา Practical Field Ecology and Conservation ที่ตอบเป้าหมาย SDG 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก เป็นต้น
2. การวิจัย โครงการส่งเสริมการผลิตงานวิจัยที่สอดคล้องกับ SDGs
3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement Service-Learning courses การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีการวัด pre-impact และ post-impact ที่เกิดขึ้นกับชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุง ซึ่งรายวิชาดังกล่าวจะเปิดสอนต่อเนื่องทั้งปี
4. Campus Operations SDGs-driven Project -Waste to Zero / Waste management project – การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED – กิจกรรมส่งเสริม SDGs ในหลักสูตร Short term program – สร้างฐานข้อมูลของรายวิชาส่งเสริม Green university – พัสดุใช้วัสดุ Recycle

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 19/2566 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์

วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 19/2566 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม R-114 อาคาร 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ และระบบออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. Salaya Smart Liveable City
2. ABET: The 1st ABET Engineering Education in Thailand
3. MUEG and EECi / Amata Corp Collaboration for EEC National Strategy
4. Mahidol Engineering: The Leading of Council of Engineering Deans toward Thailand Engineering Platform
5. World RoboCup 2022: A Mega Event for Promoting Mahidol and International Industrial Collaboration
6. Healthcare and Medical Innovation Hub: Policy, R&D, Standard and Testing, and Commercialization
7. Interdisciplinary Education for New Generation Engineers and Innovators

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – AI in Medicine / Medical Robotics / Digital Health Platform
1.2 Global Health
      – Governance Medical Innovation and AI Ethic and Regulations
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – Medical Innovation Program
2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
      – Medical Robotics and Active Medical Device Standard
2.3 Innovation in Health & Wellness
      – Medical Robotics and Active Medical Device Products
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – Global Talents, HRD, IDP, การผลิตกําลังคนสมรรถนะสูง
4. Social Enterprise
4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – Rehabilitation Engineering for Disabilities
4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – Salaya Smart Livable City, Thailand Medical Science Park
5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods
      – Salt Restriction for Hypertension and Kidney Diseases
5.2 Inclusiveness
      – Thailand Mental Health Center
5.3 Capacity Building
      – International Strategic Partnership Program
5.4 Sustainable City & Community (Climate change)
      – Transit Oriented Development, PM 2.5, Urban and Transport Planning, Salaya Liveable City, MQDC-Brain-Computer Interface Technology for Neuroarchitecture

3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – Engineering Education Sandbox/ Micro-credit/ Credit Bank
การวิจัย
      – Mahidol- UN ESCAP SDG Solution Lab
บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – Engineering for Social Responsibility
Campus Operations
      – Sustainable Energy Transition

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 18/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 18/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา พร้อมผู้บริหารโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 109 โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
1. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มุ่งพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบ outcome-based education ในระดับบัณฑิตศึกษา และมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในวงกว้าง โดยมีแผนปรับปรุงวิชาเลือกระดับปริญญาตรีให้บรรจุอยู่ในหลักสูตร MUGE ของมหาวิทยาลัย
2. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้าทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ได้แก่ เป้าหมายที่ 4, 5, 10 และ 16
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา ขยายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรทางการศึกษาชาวเมียนมาร์ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาในปีงบประมาณ 2565

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
1.1 Inclusiveness
      – โครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก
1.2 Capacity Building
      – โครงการ Enhancing Access to Education on Human Rights, Democracy & Peace in Myanmar (สนับสนุนโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ค)
      – โครงการ Promoting Human Rights and Peace Education in ASEAN/SEA (สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยออสโล นอร์เวย์)
      – โครงการ Strengthening Human Rights and Peace Education and Research in Southeast Asia (สนับสนุนโดยรัฐบาลสวีเดน)

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมสวมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
      – โครงการ Global Campus of Human Rights Asia-Pacific

บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการเพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit :3) ครั้งที่ 17/2566 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 17/2566 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมคณะฯ ตึกอำนวยการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์

1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
1. โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
2. ระบบสารสนเทศบริหารการศึกษา SiCMS (ยกเลิกการใช้งานระบบ SiCMS และใช้ระบบ REXX แทนระบบเดิม)
3. Siriraj Research Sandbox (หยุดพักโครงการ ดำเนินการเฉพาะในส่วน Emerging Infectious Disease)
4. โครงการศิริราชสัปปายสถานเพื่อการบริรักษ์เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์บริรักษ์ศิริราช : บางใหญ่ นนทบุรี” (เริ่มดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2565-2569 เนื่องจากอยู่ระหว่างสรุปราคากลาง คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างภายในเดือนกันยายน 2566)
5. โครงการอาคารรักษาพยาบาล และสถานีศิริราช (ดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2567-2570)
6. Emerging Infectious Disease

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
      – โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
1.2 Global Health Governance
      – โครงการวิจัยด้านสุขภาพโดยนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
      – โครงการพัฒนาหลักสูตร ป.ตรีและบัณฑิตศึกษา Flexi Program/ Modules
      – SHEE Online courses การอบรมผ่านระบบ Online
2.2 Innovation in Health & Wellness
      – การจัดตั้ง Siriraj Excellent Innovation Center (SI EIC) ศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อความเป็นเลิศ
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      – SI Academy Project (โรงเรียนผู้บริหาร (Executive School), โรงเรียนบริหาร (Management School), โรงเรียนวิชาชีพ (Professional School))
      – Increase Employee HR Self Service Portal เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการรับบริการด้านทรัพยากรบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์ 24 ชั่วโมง
      – Collaboration with TPQI to Establish Functional Competency Certification เพื่อสร้างการรับรองมาตรฐานวิชาชีพตามความสามารถในการทำงานตามลักษณะงานหรือสายงานที่เฉพาะเจาะจง
4. Social Enterprise
4.1 ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเฉพาะผลิตผลจากพืชสมุนไพร
      – โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากองค์ความรู้และงานวิจัย ของสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สู่การเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ กัมมี่สมุนไพรตรีผลา ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ผลิตภัณฑ์ใหม่ : ผลิตภัณฑ์กัมมี่สมุนไพรตรีผลา)
      – โครงการจ้างผลิตแชมพูอัญชัน เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ภายใต้สัญญารักษาความลับกับบริษัท ไบโอแลป จำกัด (ส่งเสริมการรับดอกอัญชันเพิ่มมากขึ้นจากเกษตรชุมชน)(ผลิตภัณฑ์แชมพูอัญชัน ที่มีล็อตการผลิตใหญ่)
      – โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจสอบและวิเคราะห์ยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรศิริราช (Siriraj Herbal – Drug Examination and Analysis Central Laboratory -SiHAC) (- จำนวนตัวอย่างที่ทำการตรวจสอบ ปีละ 1,000 ตัวอย่าง – จำนวนวิธีทดสอบที่ได้รับรองมาตรฐาน 6 วิธี)
5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods
      – Siriraj Healthy Canteen
      – SIVITT Betagro Collaboration on Healthy Meals for Health Conscious and NCD Preventive Consumers
5.2 Capacity Building
      – แผนพัฒนา lifelong learning platform
      – CAPACITY BUILDING FOR FOREIGN POSTGRADUSTES
5.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการพลังงานและสาธารณูปโภคอย่างยั่งยืน
      – Siriraj Healthy Organization and Wellbeing หรือ SiHOW โมเดลองค์กรสุขภาวัฒนะ 7 ด้าน

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การวิจัย
1. การทดสอบเทคโนโลยีดิจิทัล และ 5G สำหรับให้บริการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตร่วมกับระบบปรึกษาทางไกล ได้รับทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 85,874,004.60 บาท
2. การพัฒนาห้องปฏิบัติการจีโนมเพื่อรองรับโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย ได้รับทุนจากงบ ววน. 2563 – Re-submit 63 – สวรส. 53,200,000 บาท
3. โครงการพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยภาพทางรังสี ได้รับทุนจาก กทปส: กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ 35,894,648 บาท
4. One Health Drivers of Antibacterial Resistance in Thailand ได้รับทุนจาก University of Bristol 17,240,000.01 บาท
5. การสำรวจสุขภาวะโรคกระดูกและข้อในผู้สูงอายุของประเทศไทย ระยะที่ 2 และผลกระทบในเชิงเศรษฐศาสตร์ ได้รับทุนจาก วช : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 15,000,000 บาท