คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๒ ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รศรินทร์ เกรย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พร้อมผู้บริหารสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้
ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ( ๒๕๕๙-๒๕๖๒)
๑. Field Weighted Citation Impact บทความวิชาการของสถาบันฯ มีค่าใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยระดับ Top ๕๐ ของโลก
๒. Journal of Population and Social Studies (JPSS) ได้รับการตอบรับเข้าอยู่ในฐาน SCOPUS ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐
๓. Redesignation เป็น WHOCC for Research in Human Reproduction ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๕ (ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ อย่างต่อเนื่อง)
๔. เงินทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่า ๒ เท่า
๕. มีความโดดเด่นทางด้านการคาดประมาณประชากร
๖. เครื่องมือ HAPPINOMETER เป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้ในระดับชาติทั้งภาครัฐและเอกชน
๗. นักศึกษาได้รับรางวัลระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ ได้รับทุนแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น บัณฑิตวิทยาลัย รางวัลเกียรติยศผลการศึกษาดีเยี่ยม และรางวัลเกียรติคุณฯ
๘. เปิดหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิจัยประชากรและสังคมในปี ๒๕๖๑ (หลักสูตรไทย)
๙. การบริหารจัดการแบบ IPSR 4.0 ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีความสุข

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. การวิจัยเชิง Comparative Studies ในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียและอื่นๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
๒. การวิจัยที่เป็น Social Innovation (สหสาขาวิชา และใช้ประโยชน์เพื่อสังคม)
๓. ส่งเสริมให้ HAPPINOMETER เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติให้มากขึ้น
๔. อย่างน้อย ๑ หลักสูตรได้รับการประเมิน AUN-QA ในระดับมหาวิทยาลัย (3.0)
๕. งานวิชาการสำหรับวาระครบรอบ ๕๐ ปีการสถาปนาสถาบันฯ (๑๔ พ.ย. ๒๕๖๔)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๒ ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. บริหารจัดการ แก้ไขปัญหา และปรับปรุงกระบวนการบอกรับฐานข้อมูลหนังสือและวารสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (Green Library) ประจำปี ๒๕๕๙ และรางวัลสำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Office) ระดับทอง (ดีเยี่ยม) ประจำปี ๒๕๖๑
๓. เจ้าภาพจัดประชุมเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUNILO Meeting) ครั้งที่ ๑๓ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐
๔. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมุ่งสู่ความเป็น Mahidol Intelligent Library โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก SCB ในวงเงิน ๒๐๐ ล้านบาท ตามโครงการความร่วมมือ Mahidol DCU ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕
๕. พัฒนาห้องสมุดให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน และขยายเวลาเปิดบริการหอสมุดกลางตลอด ๒๔ ชั่วโมง ๗ วัน ในช่วงก่อนสอบปลายภาค
๖. จัดโครงการอบรมนักศึกษาปริญญาตรีให้เป็นยุวมัคคุเทศก์ (MU Guide) ทำหน้าที่รับรองอาคันตุกะที่มาเยี่ยมชม หอพระราชประวัติและหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงปัจจุบัน

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. Reskill – Upskill บุคลากรให้มีสมรรถนะและทักษะทางวิชาชีพได้มาตรฐานสากล และพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีให้สามารถรองรับกับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ระบบดิจิทัล (Digital Learning Platform)
๒. พัฒนาระบบบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดให้ทัดเทียมกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
๓. พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล คลังสารสนเทศสถาบัน คลังข้อมูลจดหมายเหตุ ให้ได้มาตรฐานสากลตามหลักการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และมีความยั่งยืนในการเก็บรักษาข้อมูลระยะยาวตามหลักการของ Data Curation
๔. มุ่งสู่การรับรองมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 และมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 ภายในปี ๒๕๖๓
๕. ขยายงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้สมรรถนะหลักขององค์กร

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๒ ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์

วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิง วลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. เปิดหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน ๓ หลักสูตร
๒. ห้องปฏิบัติการได้รับมาตรฐาน ISO 15189:2012 , ISO 15190:2003 และได้รับการรับรองเป็น FAO Reference Centre for Zoonotic and Wildlife diseases
๓. จัดตั้ง Thai National Wildlife Health Center ด้วยความร่วมมือจาก USGS National Wildlife Health Center และ Canadian Wildlife Health Cooperative โดยได้รับการสนับสนุนจาก World Organization for Animal Health (OIE)
๔. เป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านโรคติดต่อสัตว์สู่คนโดยความร่วมมือกับรัฐและเอกชน
๕. ได้รับรางวัลเป็นองค์กรส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ จาก คณะกรรมการติดตามกลไกและปกป้องคุ้มครองสัตว์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๖. บุคลากรสอบผ่านการรับรองเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก American Board of Vet Specialties สาขา Veterinary Pathology (คนแรกของประเทศ) , สาขา Veterinary Internal Medicine (คนแรกของภูมิภาคอาเซียน) และ สาขา Veterinary Dermatology (คนแรกของประเทศ)
๗. บุคลากรได้รับรางวัลด้าน Animal welfare จาก World Veterinary Association และสัตวแพทย์ตัวอย่างปี 2018

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้ประกันคุณภาพระดับ AUN-QA และมุ่งสู่การได้รับ AVBC
๒. เปิดหลักสูตร Residency Training ทางด้าน Veterinary Medicine
๓. สนับสนุนวิจัยที่มี Impact ในทุกมิติ
๔. โครงการพัฒนาด้าน Infrastructure
๕. ดำเนินโครงการ OIE Twinning Program ร่วมกับ The USGS – National Wildlife Health Center
๖. โรงพยาบาลสัตว์ทั้ง ๒ แห่ง มุ่งสู่มาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๗. สนับสนุนการผลิตสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ให้กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๒ ณ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา

วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา พร้อม ผู้บริหารศูนย์จิตปัญญาศึกษา ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษามีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. สร้างพื้นที่การเรียนรู้ เช่น การเรียนการสอนแนวจิตตปัญญา (เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง) โครงการหยั่งราก
จิตตปัญญาสู่สังคมแห่งความสุข (ปีที่ ๔) เวทีจิตตปัญญาเสวนา (ครั้งที่ ๗๐)
๒. มีความสุขในพื้นที่ทำงาน (Happy Workplace) มีสติ รู้จักตนเองและเข้าใจคนอื่น
๓. สร้างเครือข่าย/CoP โดยจัดประชุมวิชาการร่วมกับองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล มีเครือข่ายที่ได้จากการ ลงพื้นที่ทำกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาในโครงการต่าง ๆ และจัดทำความร่วมมือ (MOU) กับภาครัฐและเอกชน ๔ แห่ง

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. สร้างสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้+จิตตปัญญาวาส มหาวิทยาลัยมหิดล
๒. พัฒนาหลักสูตรให้เป็น Flexible Education
๓. จิตตปัญญาศึกษาควบรวมกับสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ (แนว PPPO)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๒ ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา

วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท.ทพ ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยศาสนศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. โครงการพระบัณฑิตอาสา โดยพระบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาช่วยเหลือโรงเรียนที่ประสบปัญหาขาดแคลนครูในถิ่นทุรกันดาร และเผยแผ่ศาสนา
๒. ความสำเร็จของนักศึกษาวิทยาลัยศาสนศึกษา ในด้านการทำกิจกรรม เช่น ได้รับพระราชทานทุนภูมิพล, นายกสโมสรนักศึกษา และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ จากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ “โอผง” (OPONG)
๓. สถิติการ citation ต่อจำนวนอาจารย์ เป็นลำดับที่ ๓ ของมหาวิทยาลัยมหิดล

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. เป็น ๑ ในด้านศาสนศึกษาของประเทศไทย (Small but Smart)
๒. จัดบริการวิชาการระยะสั้น เช่น Culture tourism, Re-training
๓. เพิ่มภาคีเครือข่ายทั้งในด้านการศึกษาและบริการวิชาการ
๔. ปรับหลักสูตรย่อยระดับปริญญาตรี เพื่อลดค่าใช้จ่าย และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงมุ่งเน้นการศึกษาต่อเนื่อง
๕. ปรับแนวทางการบริหารน้ำทองสิกขาลัย ให้เป็น Training center โดยมีรูปแบบทั้งในการเป็นผู้จัดบริการวิชาการเองและให้บริการพื้นที่ในการจัดกิจกรรม

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๙/๒๕๖๒ ณ สถาบันโภชนาการ

วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้บริหารและกรรมการสภา มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๙/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ สถาบันโภชนาการ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของสถาบันโภชนาการในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา ดังนี้
๑. สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)” ต้านโรค NCDs
๒. งานวิจัย “ประเทศไทยปลอดภัยไขมันทรานส์รองรับการเป็นประเทศปลอดไขมันทรานส์ในอนาคต”
๓. งานวิจัย “สถานภาพของประเทศไทยและแนวทางในการปรับปรุงเพื่อจัดทำระบบควบคุมอาหารแห่งชาติตามหลักการและข้อแนะนำของ CODEX” ใช้อ้างอิงเชิงนโยบายและการปฏิรูประบบควบคุมอาหารของประเทศไทย
๔. งานวิจัย”การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการได้รับสารแรคโตพามีนจากการบริโภคเนื้อและเครื่องในสุกร และทัศนคติการเลือกซื้อเนื้อและเครื่องในสุกร ใช้กำหนดนโยบายและมาตรฐานการนำเข้าสินค้ากลุ่มเนื้อแดงจากต่างประเทศ
๕. รางวัลการจัดการสิ่งแวดล้อมได้แก่ ๑.รางวัล “การจัดการสำนักงานสีเขียว”ดีเยี่ยม ประจำปี ๒๕๕๘ ๒.รางวัล “สถานศึกษาปลอดภัยระดับดีเด่น” ประจำปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ (๓ ปีต่อเนื่อง)

เป้าหมายและแผนดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ดังนี้
๑. โครงการปรับปรุงโรงงานอาหารต้นแบบเพื่อให้ได้มาตรฐาน Good Manufacturing Practice : GMP
๒. Flexible Courses
๓. โครงการจัดประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
๔. กระตุ้นให้ภาคเอกชนมาร่วมวิจัยกับสถาบันภายใต้กรอบฟู้ดอินโนโพลิส FOOD INNOPOLIS เช่น Food Waste
๕. Frontier Research พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น

โดยมี ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ พร้อมคณะผู้บริหารสถาบันโภชนาการ ให้การต้อนรับและเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๘/๒๕๖๒ ณ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๘/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต

ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้
๑. ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานให้บริการวิจัยและทดสอบผลิตภัณฑ์ฯ ตามหลักการ OECD GLP ระดับนานาชาติ หน่วยงานแรกและแห่งเดียวของประเทศ ทำให้การทดสอบผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
๒. ได้รับมาตรฐาน AAALAC ทำให้สัตว์ทดลอง ที่ผลิตจากศูนย์ฯ มีความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพ และผลการวิจัย/ทดสอบในสัตว์ทดลอง มีความน่าเชื่อถือสูงและสามารถตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มี Impact สูง
๓. ได้รับการประเมินศักยภาพและยอมรับให้เป็นสมาชิกเครือข่ายห้องปฏิบัติการด้านสัตว์ทดลอง (ICLAS Performance Evaluation Program Network : ICLAS-PEP) เพียงหน่วยงานเดียวในประเทศไทย
๔. แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเครือข่ายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองในด้านการพัฒนาบุคลากร ให้กับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น ๆ

โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน และรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

แสดงความยินดีแด่นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ

วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์ นพ.บรรจงมไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๔ ท่าน ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๕๕๑/๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์นายแพทย์นทีรักษ์พลเมือง ชั้น ๕ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาดังนี้

๑. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล

๒. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

๓. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.นีโลบล เนื่องตัน ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยมหิดล

๔. นางสาววลัยรัตน์  ศรีอรุณ ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๗/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ ห้องประชุมสิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคตโดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. หลักสูตรได้รับการตรวจประเมิน/รับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล (WFME) และ AUN-QA
๒. Dual/Jointed Doctorate Degree กับสถาบันต่างประเทศทั่วโลก ทั้ง Asia Australia USA Europe เช่น Glasgow University
๓. โครงการทุนเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ระหว่างปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ จำนวน ๖ คน
๔. ผลงานตีพิมพ์ (ค.ศ 2014 – 2019 ย้อนหลัง ๕ ปี) เพิ่มเป็น 1.0/คน/ปี และเป็น Top 10 Papers 2019 of Mahidol University by Citation ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
๕. รางวัลคุณภาพมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ระดับประเทศ และการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน ระดับนานาชาติ
โดย AAHRPP, U.S.A.
๖. ผลิต “วัคซีนไรฝุ่น” ช่วยผู้ป่วยภูมิแพ้ใช้รายแรกในอาเซียน ผ่านมาตรฐาน อย. และ WHO
๗. Stem cell transplantation in Siriraj Hospital
๘. ปลูกถ่าย ๓ อวัยวะ หัวใจ-ตับ- ไต สำเร็จในผู้ป่วยรายเดียว เป็นครั้งแรกในเอเชีย
๙. ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และการรับรองต่ออายุคุณภาพสถานพยาบาล Advance HA
ประจำปี ๒๕๖๐
๑๐. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันด้วยรถพยาบาลเคลื่อนที่ MOBILE STROKE UNIT
๑๑. การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยได้รับรางวัล (๑) รางวัล Best Practice TQM (๒) รางวัลเลิศรัฐ ปี ๒๕๖๒ ประเภทพัฒนาการบริการ ระดับดีเด่น (๓) รางวัล KRO Awards 2019 (๔) รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ TQC ปี ๒๕๖๒
(๕) การรับรองมาตรฐาน ISO27001 และ (๖) “ศิริราช” องค์กรแห่งคุณธรรมและความโปร่งใส เป็นต้น
๑๒. โครงการก่อสร้างระบบทางสัญจรทางเดินยกระดับ ระยะที่ ๑

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔
๑. การปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์ ให้เป็น Flexible, Digital Education, Non–technical Skills และ Pi-shaped program เพื่อให้บัณฑิตพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
๒. การปฏิรูประบบวิจัย เพื่อสร้างผลงานที่มี High impact ได้แก่ CORE-M & RED program และเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ SICRES, Clinical data management unit
๓. โครงการศิริราชสัปปายสถาน พื้นที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อดูแลผู้ป่วย End of Life อย่างเป็นองค์รวม
๔. โครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล
๕. โครงการศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุระดับชาติ พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๖/๒๕๖๒ ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน

วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร รองศาสตราจารย์ นพ.ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการฝ่ายบริหาร เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๖/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ได้รับทุนสนับสนุนด้านการวิจัยและการจัดโครงการต่าง ๆ จากแหล่งทุน เช่น สสส. สวรส.
๒. สถาบันฯ ร่วมกับ International Labour Organization (ILO) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิตในสาขา
Social Health Protection
๓. ได้รับการสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ให้จัดการอบรมระยะสั้นแก่ผู้บริหารระบบสุขภาพจากต่างประเทศ
๔. พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพภายในประเทศและต่างประเทศ
๕. ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดสร้างพระพุทธรูปพร้อมจัดสร้างหอเฉลิมพระเกียรติ

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. ผลักดันหลักสูตรการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต (นานาชาติ) ให้ได้รับ Global Accreditation
๒. สนับสนุน AUN-HPN จัดทำ Healthy University Rating System
๓. จัดตั้ง Mahidol Active Ageing Policy Watch Centre (MAPC)
๔. จัดตั้ง Regional Training Centre on Local Health Security Management (Community Ownership through Sufficiency Economy Philosophy [SEP])
๕. จัดตั้ง Training Centre on Healthy Lifestyle
๖. จัดตั้ง Secretariat Office for Asia Pacific Regional Technical Facility on Social Health Protection (CONNECT)
๗. Redesignation of WHO CC for IPCHS and DHS Management
๘. พัฒนาวารสาร Journal of Public Health and Development เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus
๙. ปรับปรุงระบบการสื่อสารด้านสารสนเทศเพื่อสร้าง Visibility ของสถาบันฯ และเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศที่มีความเป็นนานาชาติ (Internationalization)

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน พร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้บริหารสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ให้การต้อนรับเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย