วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๒ (Council Visit) ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิง วลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. เปิดหลักสูตรนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน ๓ หลักสูตร
๒. ห้องปฏิบัติการได้รับมาตรฐาน ISO 15189:2012 , ISO 15190:2003 และได้รับการรับรองเป็น FAO Reference Centre for Zoonotic and Wildlife diseases
๓. จัดตั้ง Thai National Wildlife Health Center ด้วยความร่วมมือจาก USGS National Wildlife Health Center และ Canadian Wildlife Health Cooperative โดยได้รับการสนับสนุนจาก World Organization for Animal Health (OIE)
๔. เป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านโรคติดต่อสัตว์สู่คนโดยความร่วมมือกับรัฐและเอกชน
๕. ได้รับรางวัลเป็นองค์กรส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ จาก คณะกรรมการติดตามกลไกและปกป้องคุ้มครองสัตว์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๖. บุคลากรสอบผ่านการรับรองเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก American Board of Vet Specialties สาขา Veterinary Pathology (คนแรกของประเทศ) , สาขา Veterinary Internal Medicine (คนแรกของภูมิภาคอาเซียน) และ สาขา Veterinary Dermatology (คนแรกของประเทศ)
๗. บุคลากรได้รับรางวัลด้าน Animal welfare จาก World Veterinary Association และสัตวแพทย์ตัวอย่างปี 2018
เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒)
๑. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้ประกันคุณภาพระดับ AUN-QA และมุ่งสู่การได้รับ AVBC
๒. เปิดหลักสูตร Residency Training ทางด้าน Veterinary Medicine
๓. สนับสนุนวิจัยที่มี Impact ในทุกมิติ
๔. โครงการพัฒนาด้าน Infrastructure
๕. ดำเนินโครงการ OIE Twinning Program ร่วมกับ The USGS – National Wildlife Health Center
๖. โรงพยาบาลสัตว์ทั้ง ๒ แห่ง มุ่งสู่มาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๗. สนับสนุนการผลิตสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ให้กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์