คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 8/2566 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 8/2566 ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ประชุม 4228 ศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล (อาคาร 4) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์  โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้


1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน 
University Council Visit ครั้งที่ 2

  1. หลักสูตรปริญญาตรีได้รับการรับรอง ASEAN AUN-QA อย่างน้อย 1 หลักสูตร พัฒนาการเรียน การสอนระดับบัณฑิตวิทยาลัยในรูปแบบ MAP-C ให้บุคคลทั่วไปเลือกเรียนได้ตามความสนใจและพัฒนาการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรร่วมกับ GISTDA
  2. พัฒนาและขับเคลื่อนกลุ่มวิจัย งานวิจัยที่ตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ และเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
  3. พัฒนาวารสาร EnNRJ ในฐานข้อมูลสากล Scopus Quartile 3 เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล SCIE ใน ISI Web of Science และการขอรับการรับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จำนวน 2 พารามิเตอร์ (ตะกั่ว และแมงกานีส) รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสารเคมี ตามมาตรฐาน ESPReL ครบทั้ง 10 ห้องปฏิบัติการ และพัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ จ.ลำปาง
  4. ติดตั้งสถานถาวรในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และติดตั้งและพัฒนาเครือข่ายระบบ นำทางด้วยดาวเทียม ณ ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อการประยุกต์ใช้ด้านธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม

 2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster การระดมสมอง MU The Way Forward 2022

1.Health & Wellness
1.1
กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness

  • เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)

2.แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
2.1 Sustainable City & Community (Climate change)

มีโครงการด้าน Climate Change ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน ดังนี้

  • โครงการวิจัย 6 โครงการ
  • โครงการบริการวิชาการ 5 โครงการ
  • โครงการฝึกอบรม 6 โครงการ
  • โครงการที่ร่วมกับชุมชน 2 โครงการ

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1. การวิจัย

  1. แผนงานการศึกษากลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติ เพื่อการท่องเที่ยวบนความยั่งยืน
  2. การพัฒนาเครือข่ายการวิจัยสภาพภูมิประเทศแบบคาสต์ ระบบถ้ำ และการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศธรณีใน จ.แม่ฮ่องสอน
  3. โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมเพื่อความยั่งยืนตามภูมินิเวศ: การจัดทำผังพื้นที่อนุรักษ์แหล่งศิลปกรรมรายประเภท และการจัดทำผังภูมินิเวศแหล่งธรรมชาติรายประเภทในพื้นที่ภาคเหนือ (ตอนล่าง)
  4. โครงการติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2560-2564
  5. โครงการศึกษาข้อมูลบัญชีรายการและการใช้ประโยชน์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ แนวโน้มและศักยภาพการใช้ประโยชน์
  6. โครงการจัดทำหนังสือคู่มือการติดตามและประเมินผลพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  7. การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติ ในระดับพื้นที่
  8. การใช้พื้นที่ซ้อนทับระหว่างช้างป่า (Elephas maximus) และชุมชน และการพัฒนาระบบเตือนภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย
  9. นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
  10. การติดตามนิเวศวิทยาประชากรและการเติบโตของวัวแดง (Bos javanicus) ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จ.ชลบุรี
  11. โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล
  12. การปรากฏและการกระจายของละองละมั่งภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี
  13. การศึกษาช้างป่าแบบบูรณาการเพื่อลดผลกระทบความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าภาคตะวันออกอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  14. โครงการวิเคราะห์ความเข้มข้นก๊าซเรือนกระจก
  15. การประเมินการกักเก็บคาร์บอนและการผลิตออกซิเจนของต้นไม้ในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร เพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน และลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
  16. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลต่อพลวัตป่าชายเลนสิ่งแวดล้อม และมนุษย์ ในสมัยโฮโลซีน: นัยที่เกี่ยวเนื่องกับการกักเก็บคาร์บอนระยะยาวของชายฝั่งอันดามัน ประเทศไทย
  17. การพัฒนาเครื่องมือวัดอัตราการสังเคราะห์แสงของพืชในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยายกาศ
  18. การประเมินทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา จ.พิจิตร
  19. โครงการขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม
  20. การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพาราภาคตะวันออก
    ของประเทศไทย
  21. โครงการ Climate Action Leader Forum
  22. เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  23. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน
  24. การพัฒนากระบวนการผลิตพลังงานทดแทน พลาสติกชีวภาพ และปุ๋ยอัดเม็ดจากน้ำกากส่าร่วมกับกากยีสต์
  25. สถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ.2563
  26. ผลของไฟต่อคุณสมบัติทางเคมี-กายภาพ และจุลชีววิทยาของดินในพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนบริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
  27. แนวทางป่าประชารัฐในการฟื้นฟูป่าดิบชื้นเพื่อลดการเกิดและลุกลามของไฟป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง
  28. ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำและประมาณการผลผลิตแบบแม่นยำสำหรับการปลูกอ้อย
  29. การพัฒนาอากาศยานไร้นักบินเพื่อรองรับเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายระบบ 5G เพื่อการจัดการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
  30. พฤติกรรมเชิงลึกของเกษตรกรและคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนเกษตรปลอดการเผา
  31. การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรใน พื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จ.ลำปาง
  32. การจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ระยะยาว 3 ปี (2564-2566)
  33. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อสร้างความสามารถในการหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  34. โครงการสำรวจความหลากหลายและภูมิปัญญาสมุนไพรสำหรับสุขภาพระดับชุมชน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
  35. การพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 จ.ลำปาง
  36. การจัดทำบัญชีการระบายมลพิษแอมโมเนียซึ่งเป็นสารตั้งต้นทุติยภูมิก่อให้เกิด PM2.5 จากกิจกรรมของมนุษย์ในเขตพื้นที่กทม.
  37. โครงการประเมินความสามารถในการรองรับมลพิษที่จะระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
  38. การใช้วิธีพืชร่วมกับแบคทีเรียเฉพาะถิ่นเพื่อเป็นแนวป้องกันสีเขียวในการป้องกันการแพร่กระจายโลหะหนักจากพื้นที่กำจัดขยะชุมชน
  39. การพัฒนากระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพจากน้ำทิ้งจากกระบวนการย่อยสลายไร้อากาศโดยสาหร่ายขนาดเล็ก
  40. การพัฒนาวัสดุนาโนโลหะออกไซต์เพื่อผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากน้ำเสียในกระบวนการสังเคราะห์แสงเทียม
  41. โครงการทดสอบการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียและสาหร่ายของแผ่นฟิล์ม
  42. นวัตกรรมต้นแบบถังดักไขมันเพื่อกำจัดไขมันจากการแปรรูปอาหารและอาหารเหลือทิ้ง
  43. การศึกษา และวิเคราะห์เชิงระบบของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีผลต่อการหนุนเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG
  44. โครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  45. โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อ่างเก็บน้ำน้ำงาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลำปาง
  46. ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินสถานการณ์และคาดการณ์พิบัติภัยน้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำน้ำแม่สาย-น้ำรวก
  47. โครงการรัฐสภาสีเขียว : เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  48. โครงการพัฒนาและตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) : กฟภ. กฟน. โรงพยาบาลค่ายสุรนารี บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

2. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง
  2. การสื่อสารเพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เผชิญปัญหาหมอกควัน
  3. การจัดการความรู้การทำนาแปลงใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ
  4. แผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง
  5. การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
  6. มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)
  7. การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer
  8. การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล
  9. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ “ผู้แทนชุมชนเกาะลัดอี แท่น จ.นครปฐม” “เทศบาลเมืองไร่ขิง” “สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย”ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นฯ
  10. การอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
  11. การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนชุมชนเกษตรในเมืองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน:มิติความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรน้ำ-พลังงาน-อาหาร-คน
  12. การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว Green Office
  13. การตรวจประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
  14. โครงการนำร่องการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของการยางแห่งประเทศไทย
  15. การประเมินคาร์บอนสะสมในพื้นที่สวนยางพาราโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (geo-informatics)