วันที่ 28 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และทีมผู้บริหาร รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 14/2566 ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมผู้บริหารคณะฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
1. ปี 2564 วางระบบ เตรียมความพร้อม และปี 2565 เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการวิจัยชีวนิรภัยระดับ 3 หรือ BSL3 ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยระดับสูง ให้บริการทั้งบุคลากรภายในคณะฯ และภายนอกคณะฯ
2. พัฒนาหลักสูตรให้ได้รับการรับรองตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน เพิ่มอีก 2 หลักสูตร
3. เพิ่มจำนวนบุคลากรสายวิชาการเสนอขอทุนต่างประเทศ เพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อปี เช่น ทุน NIH, Wellcome Trust, EU, etc.
4. จัดตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเขตร้อน (IDCTM)
5. ศูนย์วิชาการและวิจัยด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวของประเทศไทย
2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster: การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Digital Health
– โครงการ M-Health (ปรับปรุงระบบ มาลาเรีย Mobile Health เพื่อการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย)
– โครงการ Vaccine Information Management System [VIMS] (ระบบบริหารจัดการข้อมูล ที่ครอบคลุมทุกด้านของวัคซีน)
– โครงการ Public Health Informatics: Where IT Meets Public Health (การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศศาสตร์สุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ)
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
– โครงการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นอนามัยโรงเรียน (จัดทำหลักสูตรระยะสั้นแบบ VIRTUAL CONFERENCE)
2.2 สร้างมาตรฐานสถานประกอบการด้าน Health & Wellness ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและภาคเอกชน
– โครงการอบรมมัคคุเทศก์กับภาคเอกชน (การประชุมวิชาการโดยจะเน้นให้ความรู้ด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว มัคคุเทศก์)
2.3 Innovation in Health & Wellness
– โครงการตรวจหาไข่พยาธิโดยใช้ AI (Artificial Intelligence: AI)
3. Structure & HR Resource
3.1 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
– โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสอบ TOEIC (บุคลากรสายสนับสนุนได้มีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน)
4. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
4.1 Healthy Foods
– โครงการอาหารสุขภาพในศูนย์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
4.2 Capacity Building
– โครงการการเขียนขอทุนวิจัยต่างประเทศ (ทุน NIH, Wellcome Trust เป็นต้น)
– โครงการInternational Research Laboratory: Health, Disease Ecology, Environment and Policy (IRL-HEALTHDEEP), การจัดอบรมและประชุมวิชาการนานาชาติ
– โครงการ International Training MU-HOKKAIDO-SEOUL ด้าน Health & Environment สำหรับนักศึกษา ปริญญาโทและปริญญาเอก
– โครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัย การศึกษา และสาธารณสุขชุมชน กับวิทยาเขตอำนาจเจริญ และวิทยาเขตนครสวรรค์
4.3 Sustainable City & Community (Climate change)
– โครงการ Solar Roof เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
การศึกษา
– โครงการพัฒนาบทเรียนดิจิตอล และห้องปฏิบัติการเสมือนจริงโรคเขตร้อน
การวิจัย
– โครงการ Meet the academic publishers
บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
– โครงการพลังชุมชนลดการติดโรคหนอนพยาธิ ในกลุ่มประชาชน และนักเรียนพื้นที่ทุรกันดาร แนวตะเข็บชายแดน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
Campus Operations
– โครงการรณรงค์เขตร้อนรักษ์โลก และกิจกรรมการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน