คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 16/2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 16/2566 ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี นายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ พร้อมผู้บริหารโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 250 ที่นั่ง อาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1. การดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานเสนอไว้ใน University Council Visit 2
      1. ด้านการวิจัย สนับสนุนทุนวิจัยแก่บุคลากรในโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้มีผลงานวิจัยที่สอดคล้อง ต่อการพัฒนาพื้นที่คุณภาพชีวิตประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญ และเป็นสากล
      2. ด้านการเรียนการสอน การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาโดยการบูรณาการการเรียนการสอนแบบสหสาขา และสนับสนุนส่งเสริมให้มีรายวิชาที่เป็น Flexible Program และ Credit Bank พัฒนาหลักสูตรภายใต้มาตรฐาน AUN-QA
      3. ด้านการบริการวิชาการ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวในการเสริมสร้างความคิดเชิงบริหารสำหรับเด็ก (Executive Function) ในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนฯ และจัดทำแผนพัฒนาด้านเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม อาทิเช่น การวิจัยผลิตกระชายขาว เป็นต้น
      4. การสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงด้านวิชาการและการวิจัย เช่น วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Quang TriMedical College, Hue University, The University of Danang

2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Social Enterprise
1.1 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      – โครงการพัฒนาศักยภาพจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2570

2. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
2.1 Inclusiveness
      – โครงการปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง/ ผู้สูงอายุ
      – โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
2.2 Capacity Building
      – งานประชุมวิชาการสาธารณสุข ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2565 The 3rd inter-institutional public health conference “Innovation and research for public health development under challenging era”
2.3 Sustainable City & Community (Climate change)
      – ติดตั้งสถานีวัดฝุ่นขนาดเล็ก เพื่อใช้ติดตามและประเมินสถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ

3. โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย
3.1 การศึกษา ภาพรวมของหลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่สอดคล้องกับ SDGs อาทิ
SDG 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี : หลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต เช่น โครงการปันยิ้ม
SDG 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
      – หลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต เช่น การจัดสัมมนาวิชาการเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้ในหัวข้อเกี่ยวกับรายวิชาที่เปิดสอน
      – หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มีการศึกษาดูงานในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง
SDG 6 น้ำสะอาดและสุขอนามัย
      – หลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต เช่น โครงการลงพื้นที่ต่าง ๆ
      – หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น งานวิจัยของนักศึกษาในหัวข้อเกี่ยวกับการจัดการน้ำ
SDG 7 พลังงานสะอาด ราคาถูก : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น รายวิชา อจกษ 331 (ระบบชลประทาน เกษตรกลวิธานและพลังงาน เพื่อการเกษตร)
SDG 8 งานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น จัดกิจกรรมงานเศรษฐกิจชุมชน
SDG 13 แก้ปัญหาโลกร้อน
      – หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น รายวิชา อจกษ 264/374 การออกแบบภูมิทัศน์และวัสดุพืชพรรณ
      – หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ดูงานการเปลี่ยนแปลงด้านระบบนิเวศ
SDG 15 ชีวิตบนบก
      – หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ เช่น รายวิชา อจกษ 351 ความหลากหลายทางทรัพยากรพืชและการประยุกต์ใช้สมุนไพรทางการเกษตร
      – หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาระบบนิเวศเขาใหญ่ สำรวจภาคสนามด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

3.2 การวิจัย
โครงการสนับสนุนทุนวิจัยจากโจทย์วิจัยในพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง จำนวนทั้งสิ้น 6 โครงการย่อยที่สอดคล้องกับ SDGs ดังนี้
      – SDG 4 โครงการการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
      – SDG 4 โครงการการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนอนุเฉทของนักศึกษา ที่ไม่ได้เรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ:การวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเทศไทย จีน เวียดนาม ลาว
      – SDG 3 โครงการความสัมพันธ์ระหว่างความชุกของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ส่วนบนกับฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 6 และเขตสุขภาพที่ 10
      – SDG 2 โครงการการผสานความร่วมมือกับพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานของผู้ผลิต รายย่อยในระบบอาหารท้องถิ่น: กรณีศึกษาอาหารประเภทผัก บ้านหนองเม็ก ต.คึมใหญ่ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
      – SDG 2 โครงการ การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของมันพื้นบ้านเพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าวและบรรจุภัณฑ์
      – SDG 15 โครงการการวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลผังบริเวณพื้นที่สีเขียว โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ

3.3 บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement
      – โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
      – Day Care Center โครงการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุ ในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน พื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการ “การพัฒนากลไกสานเสริมพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนพื้นที่รูปธรรมสุขภาวะ ภาคอีสาน (โครงการสาน เสริมพลังภาคี)
      – โครงการศึกษาดูงานและฝึกประสบการณ์การเยี่ยมบ้านบูรณาการสหวิชา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต
      – หน่วยบริการตรวจวิเคราะห์คุณภภภาพน้ำและอาหาร บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์และห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์

3.4 Campus Operations
      – SDG 6 ผลิตน้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบตามธรรมชาติ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร เข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในการอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืน
      – SDG 12 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
      – SDG 15 กิจกรรมปลูกป่าในวันสำคัญต่าง ๆ ณ พื้นที่ตำบลสร้างนกทา