คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 26/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 26/2566 ของโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารโครงการฯ เข้าร่วมประชุม ณ โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2

1.1 พัฒนาแผนธุรกิจ และวางระบบบริหารจัดการโครงการจัดตั้งฯ ให้สามารถรองรับการดำเนินการตามแผนธุรกิจได้อย่างให้ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง คล่องตัว รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

1.2 พัฒนาและบริหารสินทรัพย์ (พื้นที่/อาคารสถานที่) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างรายได้ให้โครงการจัดตั้งฯ ตามแผนธุรกิจได้

1.3 พัฒนาสวนและภูมิทัศน์ให้สวยงาม มีการปลูก/ขยายพันธ์/ดูแลพืชสมุนไพรที่เป็นระบบ ถูกต้องตามหลักวิชาการและเกษตรอินทรีย์ ฟื้นฟูระบบนิเวศของอุทยานฯ ให้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

1.4 พัฒนาศูนย์อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์พืชสมุนไพรและเครื่องยาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เชื่อม Functions ของพิพิธภัณฑ์พืช ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อาคารเพาะชำ และการปลูกพืชสมุนไพรในอุทยานฯ ให้ทำงานได้ครบวงจร)

1.5 สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ (เน้นการ Pool Resources เพื่อสร้าง Shared Value) เพื่อให้โครงการจัดตั้งฯ สามารถดำเนินงานภายใต้ความจำกัดของทรัพยากรได้ อย่างยั่งยืน

 

2.โครงการของส่วนงานที่ร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit ของมหาวิทยาลัย

1.การศึกษา

  1. การพัฒนาอุทยานฯ ให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ Inspire Change towards SDGs (SDG 3, SDG 4)

2. การวิจัย

  1. โครงการพัฒนาต้นแบบโปรแกรมการเรียนรู้แบบรวมในสวนประสาทสัมผัสเพื่อสุขภาวะของเด็กพิการ (SDG 3, SDG 4, SDG 10, SDG 17)
  2. โครงการศึกษา Systematics and Taxonomy of Zingiberaceae (SDG 15, SDG 17)

3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement

  1. กิจกรรมสาธิตต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีของทุกชีวิต เน้นการ Apply & Translate Knowledge ให้กับคนทุกกลุ่มใน
  2. ชุดกิจกรรม DIY ด้านสมุนไพรและพฤกษศาสตร์ แบบ ‘Inclusion for All’ เพื่อการเรียนรู้เชิง Authentic Learning สำหรับทุกคน (SDG 4, SDG 10)
  3. ศูนย์อ้างอิงทางพฤกษศาสตร์พืชสมุนไพรและเครื่องยา (การจัดการตัวอย่าง/ข้อมูลพรรณไม้แห้งและเครื่องยา,​ การอบรมเชิงปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร, สิรีพฤกษศิลป์) (SDG 4, SDG 15)
  4. ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยมหิดล (สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน & ฐานทรัพยากรท้องถิ่น) (SDG 15, SDG 17)
  5. การพัฒนากลุ่มเยาวชนและกลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (นำร่องเทศบาลนครอ้อมน้อย และเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน) (SDG 3, SDG 4, SDG 17)
  6. 6. กิจกรรมงานวันเด็ก และกิจกรรมงานวันแม่แห่งชาติที่เน้น Partnership ภายใต้ Themes ด้าน SDGs (SDG 3, SDG 4)

4. Campus Operations

  1. การพัฒนาอุทยานฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนตามแนวคิด SDGs (รวม Universal Design & Inclusion) ในด้านสมุนไพร ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พฤกษศาสตร์ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ (SDG 3, SDG 4, SDG 10, SDG 15, SDG 17)
  2. การจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 แห่ง พ.รบ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (สนับสนุนโดยกลุ่มเซ็นทรัล) (SDG 8, SDG 10, SDG 17)