คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 29/2566 ของมหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 3) ครั้งที่ 29/2566 ของมหาวิทยาลัยมหิดล และรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 530 ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายและแผนการดำเนินการที่ส่วนงานได้เสนอไว้ใน University Council Visit ครั้งที่ 2
      1. ผลักดันอันดับ Ranking ของมหาวิทยาลัยระดับโลก อยู่ในอันดับ 1-100 ของ Subject Ranking สาขา Medicine และ Pharmacy & Pharmacology อยู่ในอันดับที่ 101-200 ของ THE Impact Rankings
      2. สนับสนุนให้กลุ่มนักวิจัยสำเร็จรูปผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสูง และได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Q1
      3. สนับสนุนผลงานวิจัยตีพิมพ์ทางด้านสังคมศาสตร์ฯ
      4. ผลักดันให้หลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
      5. การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ตามเกณฑ์ MUPSF
      6. มาตรฐานที่ถูกสร้างโดยมหาวิทยาลัย
      7. การดำเนินการ Central Operating System
      8. ข้อมูลด้านการเงินแบบ Real time
      9. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Talent Management)
2. เป้าหมายที่คาดว่าจะดำเนินการของส่วนงานที่สอดคล้องกับ Super Cluster : การระดมสมอง MU The Way Forward 2022
1. Global Health
1.1 Global Health Governance
      – คณะกรรมการดำเนินงานด้าน Global Health: มีการประชุมหารือเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 โดยมีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการ คือการที่นานาชาติได้เห็นบทบาทความเป็นผู้นำด้านการจัดการปัญหาด้าน Global Issue โดยเริ่มจากกลุ่มประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งประเด็น Global Issue ที่น่าสนใจมี 2 เรื่อง คือ  Climate Change และ PM2.5
2. Health & Wellness
2.1 กำหนด Concept ของหลักสูตร Health & Wellness
1. การกำหนด Concept ของหลักสูตร
      – คณะกรรมการอำนวยการพัฒนาหลักสูตร Health and Wellness กำหนดแนวทาง และขอบเขตของหลักสูตร Health and Wellness ของมหาวิทยาลัยมหิดล
2. การจัดทำหลักสูตร Higher Education sandbox
      – หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานวัตกรรมสุขภาพและสุขภาวะองค์รวม) (หลักสูตรไทย และนานาชาติ ภาคพิเศษ)
      – หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาการขั้นสูงทางชีวการแพทย์และการสร้างสรรค์ธุรกิจสุขภาพ) (หลักสูตรไทย และนานาชาติ ภาคพิเศษ)
3. อยู่ระหว่างจัดทำ Platform ของหลักสูตร non-degree ที่เชื่อมโยงกับ Flexible Education
3Structure & HR Resource
3.1 การปรับโครงสร้าง
1การรวมวิทยาลัยราชสุดาให้เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และยุบเลิกวิทยาลัยราชสุดา
      1) การตั้ง “ศูนย์วิทยาการราชสุดา” สังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
      2) การโอนย้ายบัญชีและทรัพย์สินของวิทยาลัยราชสุดาไปยังคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
      3) การยุบเลิกวิทยาลัยราชสุดาอย่างเป็นทางการ เมื่อ 1 มิถุนายน 2566
      4) เปลี่ยนชื่อ ศูนย์วิทยาการราชสุดา เป็น “สถาบันราชสุดา
2. การพิจารณาทบทวนโครงสร้าง พันธกิจ และการบริหารงานของส่วนงานต่าง ๆ
3.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      
1. โครงการ Flagship Global Talents Platform: การจัดทำหลักเกณฑ์/แนวทางการบริหาร Global Talent สายวิชาการ และสายสนับสนุน
      2.โครงการ Flagship MU Academic Position Promotion Sandbox: การเพิ่มประสิทธิภาพในการเสนอขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
      3.การทบทวนหลักเกณฑ์การบรรจุบุคลากร ในส่วนคะแนนภาษาอังกฤษ สำหรับตำแหน่งสายวิชาชีพ
4. Social Enterprise
4.1 จัดตั้งบริษัทรูปแบบ Social Enterprise และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน
      – โครงการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อชุมชนและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ทางการเกษตร
4.2 ดำเนินการโดยเน้นจุดเด่นของวิทยาเขต
      1.โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์
      1) โครงการพัฒนา MUNA Farm ต้นแบบการทำเกษตรเชิงระบบ และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตอาหารปลอดภัย และพืชสมุนไพร
      2) การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยมหิดลในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ควบคู่กับการมีระบบ “Smart บึงบอระเพ็ด” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนโครงการนโยบายชี้นำสังคม
      2. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ เป็นพื้นที่ขยายผล โครงการร่วมขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการณ์ตายในเด็ก ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนโครงการนโยบายชี้นำสังคม
5. แผนโครงการขับเคลื่อน Sustainable Development Goals: SDGs
5.1 Healthy Foods
      Healthy University: Low Sodium Policy
      – การสร้างพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเป็น Sandbox: Social Innovation Laboratory ที่มุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมของผู้คนภายในมหาวิทยาลัย
      1) การจัดทำประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบลดการบริโภคโซเดียม
      2) โครงการอบรมผู้ประกอบการร้านค้า เพื่อขับเคลื่อนนโยบายลดการบริโภคโซเดียม
      3) งาน Kickoff Day: Less Sodium Let’s Start
      4) Video Competition: Low โซ(เดียม) No โทรม Bootcamp
      5) Low Sodium Hackathon
      6) Low Sodium Inno Funding
5.2 Inclusiveness
การให้ทุนสนับสนุนโครงการนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusiveness) เพื่อสร้างสังคมที่เพิ่มโอกาสให้กลุ่มเปราะบาง (Vulnerable groups) เข้าถึงบริการทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเปราะบาง
5.3 Capacity Building
      
1. MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub
      2. Capacity Building for Sustainable Future in Developing Regions
      3. Mahidol-Norway Capacity Building Initiative for Myanmar
      4. Short Training Programs for Myanmar Medical Professionals along the Borders
3. โครงการของส่วนงานร่วมผลักดัน SDGs และการจัดตั้ง SDGs Unit มหาวิทยาลัย
1. การวิจัย “World class research on health & well-being and environment”
      1. สร้างระบบนิเวศงานวิจัยคุณภาพสูงด้วย AXiiS Platform (SDG3, 17)
      2. ทุนสนับสนุนนักวิจัยเฉพาะสาขา (Specific League Funds) (SDG3, 4)
      3. เพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยเพื่อรองรับศาสตร์ในอนาคต (SDG3, 4, 17)
      4. Deep Tech Accelerator Platform and Commercialization (SDG3, 9, 17)
      5. โครงการกองทุนพัฒนานวัตกรรม และผู้ประกอบการเพื่อไปสู่เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (SDG3, 9, 17)
      6. Fostering Quality Research (SDG3, 9, 11, 17)
2. การศึกษา “Through curriculum and extra-curriculum”
      1. ทุน Scholarships for Ph.D. Student (SDG1, 4, 10)
      2. การศึกษาแบบยืดหยุ่นและระบบคลังหน่วยกิต (หลักสูตรแบบ Non-Degree, Degree และรายวิชา MAP-C) (SDG4)
      3. Learning Management System ภายใต้กลยุทธ์การพัฒนา Mahidol Continuing Education เพื่อรองรับการเรียนรู้และฝึกอบรมระยะสั้น (Non-degree program) และการเก็บสะสมหน่วยกิตเพื่อปริญญา และการออกแบบระบบให้มีความเชื่อมโยงกับรายวิชา MAP-C (SDG4)
      4. MUx for Flexible Education: Micro credential to degree (SDG 4)
      5. การพัฒนาอาจารย์ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล (SDG 4)
      6. โครงการ Mahidol University Careers Support Services (SDG 1,4)
3. บริการวิชาการ และส่งเสริม Community Engagement “Community & Social engagement”
3.1 MU Social Engagement Platform
      1) ทุนสนับสนุนโครงการ Policy Advocacy (SDG3, 4, 17)
      2) MUSEF Virtual Platform เป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และองค์ความรู้ต่อชุมชน (SDG17)
      3) Super collaboration projects: Healthy Foods Healthy University: Low Sodium Policy (SDG3, 17)
3.2 MU-SDGs Policy Platform (SDG3, 10, 11, 16, 17)
4. Campus Operations “Operate the University in a sustainable manner”
      1. Global Talents Platform (SDG8)
      2. MU Academic Position Promotion Sandbox (SDG8)
      3. IAO for Strategic Internationalization (SDG8, 17)
      4. Marketing Drive and Endowment Funding (SDG8)
      5. MU Digital Transformation (SDG8, 9)
      6. Sustainable Development Operation: To achieve Net Zero Emissions by 2030 (SDG2, 6, 7, 11, 12, 13)