คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๓ ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓–๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้ ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของวิทยาลัยนานาชาติ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ได้รับการจัดอันดับที่ ๑ (ด้านสิ่งแวดล้อม) ของประเทศไทย จาก Times Higher Education
๒. พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียง
โดยได้รับความสนใจจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ
๓. วารสาร Environment and Natural Resources Journal (ENRJ) ได้รับการบรรจุในฐานข้อมูล Scopus Quartile ๔ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๖๐
๔. ห้องปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีได้รับมาตรฐาน ESPReL รวมทั้งได้รับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001:2004, ISO14001:2015 มาตราฐานคาร์บอนฟุตพรินทร์ขององค์กร  มาตราฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ISO 45001 และมาตรฐานสีเขียว เช่น Green Meetng และ Green Office
๕. บุคลากรและนักศึกษาของคณะฯ สร้างชื่อเสียง และได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น
การค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก รางวัลเหรียญทอง “ระบบตรวจวัดและควบคุมการสังเคราะห์แสงของพืชอัจฉริยะ” ในงาน “Seoul International Invention Fair” (SIIF) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น
๖. การพัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ Shanghai Jiao Tong University, Tsinghua University, Nagasaki University และ Fukuoka Women’s University
จัดตั้งศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ม.มหิดล กับ GISTDA
๗. การมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปรับปรุงคุณภาพน้ำคลองเต่า วัดบวรนิเวศวิหาร (ได้รับรางวัล นำร่อง Social Engagement ม.มหิดล) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน (5) ในพื้นที่ ม.มหิดล ศาลายา

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. นักศึกษาระดับปริญญาตรีสอบผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. พัฒนาวารสาร ENRJ (Environment and Natural Resources Journal) ในฐานข้อมูลสากล Scopus เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล Science Citation Index Expand (SCIE) ซึ่งอยู่ใน Web of Science Core Collection (2019-2020)
๓. พัฒนาศักยภาพของ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ ณ จังหวัดลำปาง โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Based Research Approach)
๔. การรับรองมาตราฐานสากลในการประเมินความสามารถทางวิชาการของห้องปฎิบัติการ ISO/IEC 17025 ในส่วนของโลหะหนัก