วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยคณะเภสัชศาสตร์มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้
ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะเภสัชศาสตร์ ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. ผลงานวิจัยเติบโตอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่องทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ (Paper/Faculty: ๑.๒ คน/ปี Quartile 1 & 2 รวมกันร้อยละ ๘๓.๖) และนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิงของ International Practice Guidelines จากองค์กรต่างประเทศหลายองค์กร
๒. การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยกับเอกชน นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของเงินทุนวิจัยในภาพรวมอย่างก้าวกระโดด
๓. วารสารของคณะฯ (Pharmaceutical Science Asia) ได้รับการคัดเลือกเข้าฐานข้อมูล SCOPUS ในปี ๒๕๖๑
๔. คณะฯ เป็นแกนนำในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร Health Technology Assessment (HTA) ให้กับมหาวิทยาลัยร่วม ๖ ส่วนงาน ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับ World-Class และทำให้มหาวิทยาลัยมี International Visibility ด้าน HTA ที่โดดเด่น
๕. บริการวิชาการของคณะฯ ทำประโยชน์ให้สังคม และผลดำเนินงานที่ดี ทั้งการสร้างรายได้และการได้รับการยอมรับระดับชาติและนานาชาติ เช่น ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (Center of Analysis for Product Quality – CAPQ) ซึ่งได้รับการรับรอง ISO 17025/2017
เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. เปิด Joint Unit ร่วมกับ Institute of Aging and Chronic Disease, U. of Liverpool เพื่อสร้างความเป็นผู้นำการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ การชะลอวัยระดับภูมิภาค
๒. ขยายผลความร่วมมือด้านการวิจัยกับภาคเอกชนสู่การนำความรู้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์
๓. ผลักดันวารสารของคณะฯ เข้าสู่ฐานข้อมูล Web of Sciences
๔. นำหลักสูตรปริญญาตรีเข้าสู่การรับรองทั้งระดับภูมิภาค (AUNQA) และระดับโลก (Accreditation Council of Pharmacy Education – ACPE) เป็นหลักสูตรแรกของไทย
๕. เปิดหลักสูตร PharmD (International) เพื่อขยายการศึกษานานาชาติในประเทศและภูมิภาค และซึ่งจะนำไปสู่ International Visibility และความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
๖. เป็นผู้นำทางวิชาการด้านการพัฒนามาตรฐานคุณภาพยาร่วมกับองค์กรระดับโลก (United States Pharmacopoeia–USP) ในโครงการ Promoting Quality Medicine Plus ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจำนวน ๑๖๐ ล้านเหรียญสหรัฐจาก USAID
๗. จัดตั้ง ASEAN PharmNet Secretariat Office เพื่อเป็นผู้นำทางเภสัชศาสตร์ระดับภูมิภาค และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายในการผลักดันให้เกิดความสำเร็จในการสร้างงานวิจัยที่มี Impact ระดับโลก รวมถึงการดึงแหล่งทุนระดับโลกเข้าสู่เครือข่ายและคณะฯ