คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมชมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๓ ณ คณะกายภาพบำบัด

วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.กภ.จารุกูล ตรีไตรลักษณะ คณบดีคณะกายภาพบำบัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ โดยคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของคณะกายภาพบำบัด ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรนานาชาติ ได้รับการรับรอง AUN-QA
๒. เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรนานาชาติ ในปี ๒๕๖๑ เป็นที่แรกในประเทศไทย
๓. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากิจกรรมบำบัด ได้รับการรับรอง WFOT และ AUN-QA
๔. บัณฑิตกายภาพบำบัดสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพสูงกว่าเป้าหมายทุกปี และสอบผ่านร้อยละ ๑๐๐ ติดต่อกัน ๓ ปี (๒๕๖๐-๒๕๖๑)
๕. บัณฑิตกิจกรรมบำบัดสอบผ่านใบประกอบโรคศิลปะ ในอัตราที่สูงกว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทุกปี (พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงปัจจุบัน)
๖. ศูนย์กายภาพบำบัด ได้รับการรับรองมาตรฐานบริการทางกายภาพบำบัดระดับดีเยี่ยม จากสภากายภาพบำบัด
๗. จำนวนชุมชน ผู้รับบริการในจังหวัดนครปฐมและความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๘. คุณภาพของงานวิจัยและทุนภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๙.จำนวนผลงานพัฒนาและ Team good practice เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
๑. ผลักดันหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด ให้ได้รับ International Accreditation จาก World Confederation for Physical Therapy (WCPT)
๒. ปรับปรุงและบูรณาการหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางคลินิก และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัดคลินิก
๓. จัดตั้ง “ศูนย์ฝึกอบรมกายภาพบำบัดในภาวะกระดูกสันหลังคด” “ศูนย์ Active Aging” “ศูนย์ Women Health”
๔. Tele-physical therapy ผ่าน health app.
๕. Innovative learning platform เช่น E-learning, short-course, module, credit bank
๖. Innovation and high impact research ร่วมมือกับชุมชนและภาคธุรกิจ