วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้
ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา
๑. การตรวจวิเคราะห์หาสารต้องห้ามในนักกีฬาทั้งระดับประเทศและภูมิภาค อาทิ Asian University Games, Asian Beach Games, Asian football Confederation
๒. ได้รับมาตรฐานสากล ISO/IEC ๑๗๐๒๕ จาก NATA, Australia และ WADA Laboratory Accreditation
๓. เปลี่ยนสถานะ จาก “ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา” เป็น “สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ Global Research and Innovation เป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในสังคมและประเทศชาติ เช่น โครงการวิจัยศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาร่วมกับ WADA Accredited Laboratory โครงการร่วมวิจัยกับองค์การสุรา กรมสรรพสามิต
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ Academic and Entrepreneurial Education เป้าหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องสารต้องห้ามมีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการผลิตตำราเรื่องสารตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ Policy Advocacy and Leaders in Professional /Academic Services เป้าหมายเพื่อยกระดับห้องปฏิบัติการให้อยู่ระดับแนวหน้า และคงไว้ซึ่งการรับรองมาตรฐานสากลมีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการพัฒนาบุคลากร ด้านระบบคุณภาพ NDCC โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ (LIM) สำหรับห้องปฏิบัติการ NDCC โครงการยกระดับห้องปฏิบัติการ NDCC สู่ระดับแนวหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization เป้าหมายเพื่อการบริการจัดการที่ยั่งยืน
มีโครงการที่สนับสนุน เช่น โครงการปรับปรุงกระบวนการทำงานของสถาบัน