วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๔ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์
การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. การพัฒนาศูนย์วิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓
๒. การพัฒนา “Health Literate Faculty” พญาไท ศูนย์วิจัยสูงเนิน Health Literate District and Healthy District” เพื่อเป็น Inter Professional Education
๓. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมด้าน Implementation Sciences เพื่อพัฒนางาน Megacity Health and Global Health เพื่อการอบรมและปฏิบัติการจริง ปี ๒๕๖๓
๔. การจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบ และกลุ่มพระสงฆ์ เป้าหมาย เปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
๕. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรมด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป้าหมาย เพิ่มร้อยละ ๑๐
๖. การพัฒนานักศึกษา MUHIDEF (Health Literacy, English) อย่างน้อยร้อยละ ๘๐
เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า ได้แก่
๑. การพัฒนา Flexi Education หลักสูตร MD MPH ออนไลน์ (ปีการศึกษา ๒๕๖๕)
๒. การพัฒนาศูนย์บริหารจัดการสร้างสุขภาพและควบคุมโรคในชุมชนเขตพญาไท ราชเทวี ร่วมกับย่านนวัตกรรมโยธี(เดือนพฤษภาคม – กันยายน ๒๕๖๔)
๓. การพัฒนาโครงร่างวิจัยที่เป็น Frontier and Digital Public Health (เดือนพฤษภาคม.- กันยายน ๒๕๖๔)
๔. การพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ Health Literate and Healthy District สู่การเป็น Balancing Public Health (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๕. การพัฒนาศูนย์วิจัยฝึกอบรมนานาชาติที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ ด้าน Megacity Health and Global Health (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๖. การเพิ่มรายได้ด้วยการจัดบริการวิชาการสร้างสุขภาพแรงงานนอกระบบ และกลุ่มพระสงฆ์ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๗. การเพิ่มจำนวนนวัตกรและนวัตกรรม ด้านสาธารณสุข และสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพิ่มร้อยละ ๑๐ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
๘. การพัฒนานักศึกษาให้ได้คุณภาพเพื่อเป็นบัณฑิตพร้อมใช้ และผ่าน MUHIDEF (Health Literacy, English) อย่างน้อยร้อยละ ๘๐ (ปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕)
ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในแนวทางการดำเนินงานทั้งในระดับพื้นที่และการสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติ จากสถานการณ์ COVID-19 คณะฯ ได้จัดทำโครงการที่ชี้นำสังคมและร่วมมือกับทุกภาคส่วนด้านสาธารณสุขในการป้องกันลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 พัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสามารถสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา โดยสนับสนุนให้คณะฯ ในการทำงานกับชุมชน การทำงานเชิงพื้นที่ Area Based Approach และการพัฒนาต่อยอดศูนย์วิจัยสูงเนินฯ ทั้งนี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์สามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ได้แก่ เป้าหมายที่ ๙ Industry innovation and infrastructure เป้าหมายที่ ๑๑ Sustainable cities and communities เป้าหมายที่ ๑๒ Responsible consumption and production และเป้าหมายที่ ๑๓ Climate action และขอให้คณะฯ จัดทำ Clip Video เพื่อนำเสนอระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน (Home Isolation-Community Isolation) เพื่อเผยแพร่ Health Literacy เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการสร้าง Model สร้างเสริมสุขภาพที่มีความชัดเจนโดยใช้รูปแบบ ชุมชน +Knowledge Management+ Digital โดยร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีความโดดเด่นและแตกต่างในด้านสาธารณสุขศาสตร์