นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๔ ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๗/๒๕๖๔ ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. พัฒนาระบบบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดให้ทัดเทียมกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
๒. มุ่งสู่การรับรองมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001: 2015 และมาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001: 2015 ภายในปี ๒๕๖๓
๓. ขยายงานด้านพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ได้ผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้สมรรถนะหลักขององค์กร
๔. Reskill – Upskill บุคลากรให้มีสมรรถนะและทักษะทางวิชาชีพได้มาตรฐานสากล และพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีให้สามารถรองรับกับแพลตฟอร์มการเรียนรู้ระบบดิจิทัล (Digital Learning Platform)
๕. พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล คลังสารสนเทศสถาบัน คลังข้อมูลจดหมายเหตุ ให้ได้มาตรฐานสากลตามหลักการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และมีความยั่งยืนในการเก็บรักษาข้อมูลระยะยาวตามหลักการของ Data Curation

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. จัดตั้ง Analytic Research Center เป็นศูนย์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ ISO 11620
๒. สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ ๒๑
๓. โครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ที่สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการให้บริการห้องสมุดสู่สถาบันการศึกษาทุกระดับในประเทศไทย (Library to Classroom) และ Library Digital KM
๔. โครงการส่งเสริมการเข้าถึงผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยสื่อวีดิทัศน์ ผลิตรายการ The Author
๕. โครงการ Mahidol Historical Learning Experience “เด็กไทย ใจมหิดล” จัดทำ Games Application เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยมหิดล และใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนสำหรับสถานศึกษาเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและกรุงเทพฯ
๖. โครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลให้กับโรงเรียนในชุมชนโดยรอบ และเผยแพร่เรื่องราวเชิงประวัติและผลงานของมหาวิทยาลัยไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ
๗. ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ กับสมาชิกภาคี ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค PULINET Plus และกิจกรรมความร่วมมือกับ AUNILO: Libraries of ASEAN University Network ในการร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญ และพัฒนากิจกรรมวิชาการ รวมถึงการลงนามในหนังสือเก็บบันทึกข้อตกลงความเข้าใจที่ตรงกัน (MOU) กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยระดับสากล

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชม หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เป็นศูนย์รวมข้อมูล ความรู้ของมหาวิทยาลัย พร้อมให้ข้อเสนอแนะ อาทิ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ ๒๑ สร้างความร่วมมือกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างความร่วมมือกับหอสมุดของมหาวิทยาลัยในประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน เสนอให้หอสมุดฯเป็นศูนย์กลางจัดเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและสืบค้นข้อมูลได้ง่าย เพิ่มเติมการจัดเก็บ VDO ในหอสมุดฯ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์วิธีการเข้าใช้งาน E-Journal สำหรับอาจารย์เพื่อเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สร้างความแตกต่างจากห้องสมุดอื่น เช่น การเป็น Personal Library และ Library Ecosystem จัดพื้นที่การเรียนรู้ของหอสมุดฯ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน เช่น มีพื้นที่ให้นักศึกษาสามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัย ทั้งนี้ ขอให้กำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจน เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบัน เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็น ดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. ผู้นำตั้งเครือข่ายด้านวิชาชีพการถ่ายทอดเทคโนโลยีของประเทศไทย เพื่อพัฒนามาตรฐาน ในระดับสากล
๒. ตั้งศูนย์ University – Industry Collaboration สร้างความร่วมมือในงานวิจัยกับภาคเอกชน
๓. ตั้งศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ (Startup Incubator) เพื่อให้มีธุรกิจเกิดใหม่ จากนวัตกรรมมหาวิทยาลัย
๔. ตั้งบริษัทร่วมทุนของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกลไกในการนำผลงานวิจัย – นวัตกรรม ออกสู่สังคมได้อย่างยั่งยืน
๕. สร้างอาคารศูนย์กลางงานวิจัย และนวัตกรรม แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. เป็นผู้นำร่วมกับเครือข่าย TRUST (Thailand Research University Society for Technology Transfer) ในการพัฒนาศักยภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีของนักวิจัยและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
๒. สร้างรายได้จากผลงานทรัพย์สินทางปัญญา ให้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๓. สนับสนุนการดำเนินการด้านการบริการวิจัย และบริการวิชาการ ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๔. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) กับภาคอุตสาหกรรม ให้มีโครงการวิจัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๕. พัฒนาศูนย์บ่มเพาะ (Incubation) และศูนย์เร่งสปีด (Accelerator) เพื่อผลักดันให้เกิดบริษัท Startup จากนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
๖. บริหารงานบริษัท M Venturer ให้มีอัตราการเติบโตของผลประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมและสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ประเทศชาติ โดยในที่ประชุมได้เสนอ ให้ทำการประชาสัมพันธ์สถาบันฯ ให้เป็นที่รู้จัก ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเพิ่มโอกาส ในการใช้ประโยชน์ และการสร้างความร่วมมือ ด้านเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เสนอให้มีการบูรณาการศาสตร์ในงานวิจัย เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ในการแสวงหาวิธีการลดต้นทุน ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และประสานความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันเจรจากับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ในการจดสิทธิบัตรให้นักวิจัยได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ภายหลังสถานการณ์ COVID – 19 สถาบันฯ ควรมีแผนดำเนินการมหกรรม ROADSHOW และ WORKSHOP เพื่อสื่อสารกับนักวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม อีกทั้ง ขอให้สถาบันฯ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๔ คณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๕/๒๕๖๔ ของคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meetings โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑.พัฒนาบทเรียนออนไลน์ในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในรายวิชาการพยาบาล ใช้การเรียนการสอนผ่านระบบ Online ๒๕% ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ และ ๑๐๐% ในปีการศึกษา ๒๕๖๔
๒.รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (TQC) ปี ๒๕๖๓
๓.พัฒนาศูนย์การพยาบาลผู้ป่วย NCDs ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ร่วมกับ Johns Hopkins University ปี ๒๕๖๓

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ขยายความร่วมมือและผลักดัน The MU-JHU NCDs Research Collaborative Center NCDs เป็นศูนย์ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒. เปิดให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร่วมเป็นเครือข่ายร่วมให้บริการของ สปสช. ในปี ๒๕๖๕
๓. หลักสูตรบัณฑิตศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากลอย่างน้อย ๒ หลักสูตร
๔. พัฒนาห้องปฏิบัติการเสมือนจริง
๕. พัฒนาหลักสูตร double/multiple degree
๖. ขับเคลื่อนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สู่ TQC+

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะพยาบาลศาสตร์ ในการสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติจำนวนมาก การได้รับรางวัลการบริการสู่ความเป็นเลิศ (TQC) รวมถึงการให้บริการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีงานวิจัยในด้านปัญหาสุขภาพจิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความร่วมมือกับ Johns Hopkins University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และมีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการดำเนินงานได้อย่างดี ที่ประชุมได้เสนอแนะให้คณะจัดทำหลักสูตร Flexible Education การพยาบาลเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้สูงอายุให้กับประชาชนทั่วไป ตั้งเป้าหมายเป็น ๑ ใน ๑๐ ของเอเชีย ประสานความร่วมมือกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงวัยอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม (ACAI) เพื่อรับมือกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และขอให้กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๔ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๔/๒๕๖๔ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อกำหนดเป้าหมายแผนดำเนินการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สร้างศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย
๒. เปิดหลักสูตรร่วม รามา-วิทยาลัยการจัดการ (MD – MM) ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๓. เปิดศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธยา
๔. ร่วมกับบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) พัฒนา Edu-town และ Medi-town ในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (RAMA – Frontier)
๕. ดำเนินการด้าน Green Campus (Solar Roof) ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และนำมาพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วย

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. โครงการ Wellness Residence Complex ที่ดิน ๓๐๐ ไร่ & Transportation
๒. เปิดหลักสูตรร่วม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
๓. ยื่นสมัครขอรับรางวัล TQC Plus และ TQA
๔. เปิดอาคารปรีคลินิกและศูนย์วิจัย เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอน
๕. การก่อสร้างอาคารกายวิภาคทางคลินิก
๖. การก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในการบริหารจัดการได้อย่างดีเยี่ยม มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และมีผลงานและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ อีกทั้ง ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับส่วนงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านการศึกษา วิจัย งานบริการวิชาการ และโครงการต่างๆ รวมทั้งมีเป้าหมายและแผนการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน นอกจากนี้ สภามหาวิทยาลัยฯ ได้เสนอแนะให้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมีการวางระบบการบริหารจัดการของคณะฯ (Succession Plan) เพื่อให้เกิดการบริหารงานที่มีความต่อเนื่อง และสามารถรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๔ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์

วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๔ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสัตวแพทยศาสตร์ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. สนับสนุนการผลิตสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ให้กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
๒. โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร และ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน มุ่งสู่มาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๓. หลักสูตรทุกหลักสูตรได้ประกันคุณภาพระดับ AUN-QA และมุ่งสู่การได้รับ AVBC
๔. การเปิดหลักสูตร Residency Training ทางด้าน Veterinary Medicine
๕. สนับสนุนงานวิจัยที่มี Impact ในทุกมิติ
๖. การดำเนินโครงการ OIE Twinning Program ร่วมกับ The USGS-National Wildlife Health Center
๗. โครงการพัฒนาด้าน Infrastructure

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. ผลักดันหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา อย่างน้อย ๑ หลักสูตรให้ได้การรับรองตามมาตรฐาน AUN-QA
๒. ส่งเสริมความเป็นนานาชาติผ่านกิจกรรมทั้งรูปแบบ online และ onsite ให้แก่นักศึกษา
๓. โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร และ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน มุ่งสู่มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 และมาตรฐานสถานพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย
๔. ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ และศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025
๕. พัฒนาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลและเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (I-med) เพื่อเชื่อมข้อมูล ๒ โรงพยาบาลสัตว์ และ ๒ ศูนย์
๖. พัฒนาการใช้พื้นที่และเพิ่มศักยภาพบริการวิชาการเพื่อเพิ่มรายได้ และสนับสนุนงานวิจัยและการเรียนการสอน

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมแนวทางการดำเนินงานของคณะสัตวแพทยศาสตร์ในด้านต่างๆ ซึ่งมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และมีเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ อาทิ สร้างความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์เพื่อเพิ่มบทบาทด้าน One Health ในระดับนานาชาติ กำหนดยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลสัตว์ให้ชัดเจน เพื่อสร้างรายได้ และเป็นแหล่ง Training Program ทั้งในระดับประเทศและอาเซียน ดำเนินการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เกี่ยวกับสัตว์ และการทดลองในสัตว์ใหญ่ รวมถึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ให้ชัดเจน เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา พร้อมด้วยผู้บริหารวิทยาลัยฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco Webex Meetings โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. ผลักดันหลักสูตรของวิทยาลัยฯ ให้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล (AUN-QA) ภายใน ๒ ปีข้างหน้า
๒. พัฒนาการบริการวิชาการ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง
๓. เน้นการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Quartier 1 ที่มี Impact factor สูง
๔.พัฒนาระบบประกันคุณภาพ MU EdPEx ให้ได้มากกว่า ๓๐๐ คะแนน

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. เปิดหลักสูตรร่วมกับสถาบันที่มีชื่อเสียง ทำความร่วมมือทางวิชาการกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีตามโครงการวิทยาศาสตร์การกีฬา–จฉพ. (เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์)
๒. ผลักดันหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น
๓. สร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติ ด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม
๔. งานวิจัยมุ่งเป้า เพื่อความเป็นเลิศเฉพาะทางแต่ละประเภทกีฬา เพิ่มศักยภาพทางการกีฬา–นักกีฬา และลดการบาดเจ็บสุขภาวะของประชาชน
๕. จัดตั้งคลินิกการกีฬาให้ผู้มาตรวจรักษาสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลมาได้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
๖. ปรับโครงสร้างทางกายภาพห้องเรียน รองรับการเรียนการสอนรูปแบบ Online และสนามกีฬารองรับการออกกำลังกาย เพื่อนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก ได้ใช้สถานที่ออกกำลังกาย

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ในการทำงานเชิงรุกและความก้าวหน้าของวิทยาลัยฯ พร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ต่างๆ โดยผสานความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร(SI) คณะเทคนิคการแพทย์สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และวิทยาลัยราชสุดา เป็นต้น เพื่อสร้างจุดเด่น และมุ่งเป้าหมายการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาระดับประเทศและนานาชาติ สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ฯ การกีฬา หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น และเพิ่มกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ผู้ฝึกสอนกีฬา เด็กและครอบครัว ผู้สูงวัย ผู้พิการ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของสังคม สร้างความร่วมมือในการวิจัยกับภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป และขอให้วิทยาลัยฯ กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ ของคณะศิลปศาสตร์

วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๔ ของคณะศิลปศาสตร์ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐพงศ์ จันทร์อยู่ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์ โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. จัดทำหลักสูตร Double Degree B.A. in Chinese ร่วมกับ Shanghai Jiao Tong University
๒. เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม
๓. นำหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (นานาชาติ) เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน AUN-QA
๔. ร่วมกับ Beijing Language and Culture University ในการจัดตั้งสถาบันขงจื่อ ในมหาวิทยาลัยมหิดล
๕. MOU ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ๑๐๐ อันดับแรกของโลก ได้แก่ Fudan University (อันดับที่ ๔๐ ของโลก)
๖. พัฒนาบทเรียนออนไลน์ MOOC จำนวน ๕ รายวิชา และจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพออนไลน์

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. นำหลักสูตรบันฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ เข้าสู่การรับรองมาตรฐาน AUN-QA
๒. พัฒนาและเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวิทยาเสรี (Liberal Studies)
๓. เพิ่มกิจกรรมความร่วมมือกับ Hankuk University of Foreign Studies, Republic of Korea
๔. ยกระดับการทำกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับ Fudan University
๕. ร่วมมือกับ Macquarie University เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อดำเนินการกิจกรรมทางการศึกษาร่วมกัน เช่น Double Degree และ Cotutelle Programs
๖. พัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
๗. เพิ่มสัดส่วนผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติให้สูงขึ้น
๘. เพิ่มจำนวนบุคลากรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของ คณะศิลปศาสตร์ ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และมีการสร้างรายได้ให้กับคณะฯ เพื่อที่จะพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน สนับสนุนการจัดทำหลักสูตร Double Degree เพื่อผลิต Global Talent ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน และเพิ่มขีดความสามารถบัณฑิต อีกทั้ง ในที่ประชุมเสนอให้คณะฯ มีความร่วมมือกับส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมากขึ้น และแนะนำโจทย์วิจัยและการสร้างองค์ความรู้เพื่อชี้นำสังคม เช่น รูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษของคนในภูมิภาคอาเซียน การสอนและอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ในระดับประถมศึกษา และการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว เพื่อรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง หลังสถานการณ์ COVID-19 เพิ่มเติมกลยุทธ์และการหารายได้ จากการดำเนินงาน เช่น รายวิชาออนไลน์ (MOOC) บนระบบ MUx และการยกระดับมาตรฐานการวัดความรู้ภาษาอังกฤษ (MU-ELT) ให้เป็นที่ยอมรับระดับประเทศและนานาชาติ แนะนำให้จัดสัดส่วนบุคลากรให้ชัดเจน เช่น ด้านวิจัย เพื่อมุ่งเป้าหมายการเพิ่มผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติให้สูงขึ้น และควรต่อยอดความเชี่ยวชาญ ด้านวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทั้งระดับจุลภาคและมหภาค และขอให้คณะฯ เป็นแก่นกลาง ในการพัฒนาแผนงานการทำ Liberal Arts ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมหาวิทยาลัยพร้อมสนับสนุน และคณะฯ ควรกำหนดแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจน ในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๔ ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ -๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันฯ เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ณ ห้องประชุมเจริญคุณธรรม ชั้น ๓ อาคารปัญญาวัฒนา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดําเนินงานตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑.การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดนโยบายระดับประเทศ ในการแก้ไขจุดอ่อนของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
๒.การขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายระดับประเทศ และท้องถิ่นในการเพิ่มพื้นที่เล่นสู่การเรียนรู้สำหรับเด็กและครอบครัว (CFS)
๓.พัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสมองเด็กจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ๔ เรื่อง ได้แก่ ความยากจนเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เทคโนโลยี IT และอุบัติเหตุ-ความรุนแรง-ภัยพิบัติ
๔.ขยายผลการเรียนต่อเนื่องตลอดชีวิตของสังคมไทย ในรูปแบบหลักสูตรการเรียนร่วม การเรียนนอกระบบ การเรียนตามอัธยาศัย การเรียนต่อเนื่องตลอดชีวิตของเด็กและผู้ดูแลเด็ก

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑.จัดทำแผนงาน “การปฏิรูปการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัย” จำนวน ๔ โครงการ เพื่อนำสู่ผลลัพธ์นโยบายระดับประเทศ
๒.พัฒนาต่อเนื่อง “พื้นที่เด็กและครอบครัว” จำนวน ๓ โครงการ เพื่อผลลัพธ์ทางด้านนโยบายระดับท้องถิ่นและประเทศ
๔.ดำเนินการตามแผนงาน “การเฝ้าระวังผลกระทบต่อสมองเด็กจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี” ๔ โครงการ ได้แก่ ความยากจนเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เทคโนโลยี IT และอุบัติเหตุ-ความรุนแรง-ภัยพิบัติ
๕.ขยายผลการเรียนตลอดชีวิตของสังคมไทย อย่างน้อยให้ได้ ๒๐ หลักสูตร และครอบคลุมผู้เรียน ๒๐,๐๐๐ คน พร้อมทั้ง สนับสนุนการพัฒนา “ธุรกิจเพื่อสังคม” ที่มีผลประกอบการที่ดีขึ้นตามลำดับทุกปี

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ในการขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ เช่น “การพัฒนาทักษะ EF” ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ซึ่งควรขยายไปสู่คนทุกวัย ตลอดจนสนับสนุนการขยายแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมเสนอแนะให้หาความร่วมมือเพิ่มเติมจากส่วนงานภายในและองค์กรภายนอก เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๙/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยราชสุดา

วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๙/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยราชสุดา เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ คณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. โอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับคนพิการบนพื้นฐานทางปัญญา
๒. 2-Year Pilot Project of Flexible Education: 1-Year Non-Degree Program
๓. ยกระดับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเห็นให้เป็น “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเห็น”
๔. จัดตั้งศูนย์บริการล่ามภาษามือไทย
๕. พัฒนาเครือข่าย “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป”

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก ๒ ปีข้างหน้า
๑. RSMU Excellent Independence Living Center เป็นการบูรณาการเชิงระบบของพันธกิจด้านการวิจัย การศึกษา การบริการวิชาการ ที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมของคนพิการ โดยเริ่มที่สามประเภทความพิการด้านกาย (ทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว)
๒. RSMU Green สร้างการเรียนรู้และปฏิบัติการให้เกิดพื้นที่สีเขียว

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของวิทยาลัยราชสุดา และขอให้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเสนอให้เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานด้านผู้พิการทุกประเภท โดยหาความร่วมมือกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย เช่น โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเภสัชศาสตร์ และสถาบันนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ฯลฯ เพื่อสร้างผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรมและชี้นำสังคมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งเสนอให้วิทยาลัยฯ เปิดหลักสูตรที่รองรับผู้พิการทุกประเภท นอกจากผู้พิการทางการมองเห็นและผู้พิการทางการได้ยิน เช่น ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผู้ป่วยออทิสติก เป็นต้น เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา และพัฒนาล่ามภาษามือไทยไปสู่ล่ามภาษามือในระดับสากล

นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๘/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยการจัดการ

วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล รับฟังผลการดำเนินงานของส่วนงาน (University Council Visit : 2) ครั้งที่ ๘/๒๕๖๔ ของวิทยาลัยการจัดการ เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนการดำเนินงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔-๒๕๖๕ และรับฟังผลสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา รวมทั้ง การพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารวิทยาลัย เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ผ่านการประชุมออนไลน์โปรแกรม Zoom Meeting โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

การดำเนินการตามเป้าหมายที่ผ่านมาและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
๑. วิทยาลัยได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 300 อันดับแรกของสถาบันที่จัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject : Business & Management Studies
๒. ยื่นขอประเมินและได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)
๓. ดำเนินการศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นศูนย์หลักแห่งหนึ่งของประเทศในการกระตุ้น studies และ dialogue ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับประเทศอื่น
๔. เพิ่มสาขาวิชาที่ทันสมัย และร่วมมือจัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับส่วนงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
๕. การเพิ่มจำนวนกลุ่มงานวิจัย (Research Clusters) ที่น่าสนใจ และมีผลกระทบต่อภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ Innovation and technology, Supply chain analytics, Global future skills

เป้าหมายที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในอีก 2 ปีข้างหน้า
๑. พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ และร่วมมือจัดทำหลักสูตรร่วมที่เป็น Interdisciplinary กับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ทั้งในมหาวิทยาลัยมหิดลและกลุ่มธุรกิจชั้นนำ
๒. เพิ่มจำนวนกลุ่มวิจัย (Research Clusters) ร่วมกับพันธมิตรในสาขาที่วิทยาลัยมีศักยภาพ อาทิ Sustainable Leadership หรือ Sustainable Supply Chain รวมถึงต่อยอดและขยายความร่วมมือด้านการเรียนรู้ตลอดจนด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่างวิทยาลัย ศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และหน่วยงานอื่นๆ
๓. เพิ่มโครงการพัฒนาองค์กรและบุคลากรตามกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มีความโปร่งใส และคำนึงถึงส่วนรวม ได้แก่ โครงการวิทยาลัยสีเขียว (Green CMMU) การพัฒนาโครงการวิจัยและบริการวิชาการที่ตอบโจทย์หรือเกื้อกูลสังคม โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร รวมถึงการสร้างสายสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือในเชิงปฏิบัติระหว่างวิทยาลัยกับทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของวิทยาลัย และ ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue : ACSDSD ที่มีศักยภาพ มีความพร้อมในการตอบรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม ทั้งด้านเทคโนโลยี รูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการและการติดต่อสื่อสารที่ชัดเจนและเป็นระบบ พร้อมนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะด้านต่าง ๆ อาทิ การเพิ่มจำนวนผู้เรียน โดยสนับสนุนหลักสูตรนานาชาติ ในรูปแบบออนไลน์ การสร้างความร่วมมือกับส่วนงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ การจัดทำงานวิจัยชี้นำสังคมในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อความยั่งยืน การสร้างหลักสูตร Flexible Education และการเปิดหลักสูตรระยะสั้น ความเข้มแข็งของศิษย์เก่าที่มีความหลากหลายจะช่วยเสริมให้การดำเนินการด้านต่าง ๆ ของวิทยาลัยเป็นไปได้อย่างยั่งยืน รวมถึง การกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการดำเนินงานด้าน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน