เสวนา MU-New Normal วิถีปกติใหม่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อเรื่อง IT วิถีปกติใหม่กับการเว้นระยะห่างทางสังคมในมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MU-New Normal วิถีปกติใหม่ ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ “IT วิถีปกติใหม่กับการเว้นระยะห่างทางสังคมในมหาวิทยาลัยมหิดล” วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MU-New Normal วิถีปกติใหม่ ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ “IT วิถีปกติใหม่กับการเว้นระยะห่างทางสังคมในมหาวิทยาลัยมหิดล” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดรธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี และ รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมการเสวนา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญยศ ปลื้มปิติวิริยะเวช และอาจารย์ ดร.วันวิสาข์ ศรีสุเมธชัย สมาชิกสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ร่วมรับฟังการเสวนาในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม 411 ชั้น 4 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ศาลายา

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า เนื่องจากระบบ IT มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นรูปแบบ New Normal ทางด้าน IT จึงมีอายุไม่นานมาก ซึ่งเป็นรูปแบบนี้มาหลายปี จะเห็นได้จากปัจจุบัน สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ถูกแทนที่ด้วย สื่อดิจิตอล ซึ่งข้อมูลเปิดเผยว่า สมาร์ทโฟน และโน๊ตบุ๊ค เป็นอุปกรณ์ลำดับต้นๆที่ถูกนำมาใช้ในช่วงวิกฤตนี้ เพราะสามารถใช้แทนอุปกรณ์ได้หลายอย่าง ทั้งยังสามารถสร้างความเป็น Social Distancing ได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลมีความพร้อมที่จะสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรนำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 และช่วงที่เกิดภาวะคุกคาม โดยมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระเบียบ ครอบคลุมทั้งในเรื่องการเรียนการสอน รวมถึงสภาพความเป็นอยู่ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นการเป็น Digital University จึงมีการวางกรอบในการใช้ระบบ IT เข้ามาสนับสนุนการทำงาน การเปลี่ยนแปลงด้าน IT ภายในมหาวิทยาลัยจึงมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ระบบที่มหาวิทยาลัยวางแผนไว้ถูกนำมาใช้เร็วขึ้น และเกิดการยอมรับในเทคโนโลยีทั้งในกลุ่มนักศึกษาและบุคลากร มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะไม่ย้อนกลับไปใช้วิธีการเรียนการสอนและปฏิบัติงานแบบเดิมๆ ซึ่งความท้าทายของมหาวิทยาลัย คือการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานทางด้าน IT เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถใช้งานได้แบบ Anywhere Anyplace Anytime ด้วยการเร่งสร้าง Platform ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การเรียนการสอน ให้ครอบคลุมและตอบสนองยุทธศาสตร์ต่างๆของมหาวิทยาลัยให้มากที่สุด

รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่ส่วนกลางภายในมหาวิทยาลัยนั้น กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รับผิดชอบ และพื้นที่ของส่วนงานก็จะเป็นหน้าที่ของส่วนงานนั้นๆรับผิดชอบเป็นหลัก ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการตามคำสั่งของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) อย่างเคร่งครัดในการควบคุมระยะห่าง ทั้งนี้ ในส่วนของห้องเรียนและบริการต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยมีบริการให้นักศึกษาและบุคลากร ได้มีการดูแลเรื่องการเว้นระยะห่าง สุขอนามัย และการรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด โดยมหาวิทยาลัยได้ทำเป็นคู่มือเพื่อให้ส่วนงานต่างๆได้นำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ ได้รับ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

ขอแสดงความยินดี แด่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓

เสวนา MU-New Normal วิถีปกติใหม่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อเรื่อง วิถีปกติใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคลและการวิจัย

วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MU-New Normal วิถีปกติใหม่ ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ “วิถีปกติใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคลและการวิจัย” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คุณมนูญ สรรค์คุณากร กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นพ.วชิร คชการ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเสวนา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นริศรา จันทราทิตย์ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรพล เปียฉ่ำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น.สพ.ดุสิต เลาหสินณรงค์ และอาจารย์ ทพญ.ปนิดา ภาวิไล สมาชิกสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ณ ห้องประชุม 411 ชั้น 4 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ศาลายา

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://mahidol.ac.th/th/2020/mu-new-normal3/

เสวนา MU-New Normal วิถีปกติใหม่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อเรื่อง การศึกษาวิถีปกติใหม่กับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนา “MU-New Normal วิธีปกติใหม่ในมหาวิทยาลัยมหิดล” ในหัวข้อ “การศึกษาวิถีปกติใหม่กับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล” ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ประธานกรรมการการอุดมศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. ภก. เนติ สุขสมบูรณ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท.ทพ. ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเสวนา โดยมีอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา สมาชิกสภาคณาจารย์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ณ ห้องประชุม 411 ชั้น 4 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ศาลายา

รายละเอียดเพิมเติมที่
https://mahidol.ac.th/th/2020/mu-new-normal2/

เสวนา MU-New Normal วิถีปกติใหม่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อเรื่อง การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้วิถีปกติใหม่

วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด“เสวนา MU-New Normal วิถีปกติใหม่ ในมหาวิทยาลัยมหิดล” ได้รับเกียรติจากวิทยากรดังนี้ ดร. โชค บูลกุล กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน ร่วมเสวนาในหัวข้อ “การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้วิถีปกติใหม่” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธิ์ภักดี เลขาธิการสภาคณาจารย์ จากสถาบันโภชนาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สันติ มณีวัชระรังสี สมาชิกสภาคณาจารย์ จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ณ ห้องประชุม 411 ชั้น 4 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ศาลายา

การเสวนาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้บริหารกับประชาคมชาวมหิดลได้รับทราบเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัย ที่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด -19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่มีการปรับเปลี่ยน และต้องนำไปปฎิบัติให้เป็นปกติสุข ที่เรียกว่า วิถีชีวิตปกติใหม่

รายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://mahidol.ac.th/th/2020/mu-new-normal/

Mahidol Virtual Run โครงการหนึ่งใน Mahidol Channel ระดมทุนให้นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลที่เรียนดีเเต่ขาดเเคลนทุนทรัพย์

วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการเเทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มอบเงินในโครงการ Mahidol Virtual Run วิ่งส่งน้องเรียน โดยมี พลตำรวจเอก นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายกสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ
เป็นผู้รับมอบ ทั้งนี้โดยมีศาสตราจารย์ คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาธร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อระดมทุนเงินบริจาคให้นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่เรียนดีเเต่ขาดเเคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งสร้างการรับรู้ เเละการมีส่วนร่วมกับมหิดลเเชนเเนล

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานหน้ากากผ้าฝีพระหัตถ์ พระราชินี แก่นายกฯ ผู้บัญชาเหล่าทัพ และคณะแพทย์ ศบค.

วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓ คุณจันทนี ธนรักษ์ ผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เชิญหน้ากากผ้าฝีพระหัตถ์
ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทานแก่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา, พล.อ. อภิรัชต์
คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก, พล.ร.อ. ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และพล.อ.อ. มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ
พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะแพทย์ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีวางศิลาฤกษ์หอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ และพิธีเททองหล่อพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ

วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และที่ปรึกษาโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษาฯ ดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และประธานอุปถัมภ์โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษาฯ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ที่ปรึกษาโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษาฯ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ถวายการต้อนรับเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคมผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์หอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ และพิธีเททองหล่อพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ ณ มณฑลพิธีสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับพระราชทานให้ดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสเจริญพระชนมายุ ครบ ๖๕ พรรษา วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๓ โดยกิจกรรมสำคัญในโครงการฯ ประกอบด้วย การจัดสร้างพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ และการจัดสร้างหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป การดำเนินการจัดสร้างพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณขนาดหน้าตัก ๖๕ นิ้วและหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิดร.เทียม โชควัฒนา ผู้บริหารและพนักงานในเครือสหพัฒน์ โดยการนำของดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานประธานกรรมการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และประธานอุปถัมภ์โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษาฯ ทั้งนี้ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถติดต่อร่วมการบริจาคเพื่อสนับสนุนโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๖๕ พรรษาฯ โดยผู้บริจาคตั้งแต่ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป จะได้รับมอบ “พระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ” จำลอง ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว (มีจำนวนจำกัด ๒๘ องค์) และได้รับการจารึกบนด้านหลังหอพระฯ ด้านล่างจากตำแหน่งการประดิษฐานแผ่นศิลาฤกษ์หอพระฯ ผู้บริจาคตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ขึ้นไป จะได้รับมอบ “ชุดเหรียญพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ ๑ ชุด ประกอบด้วย เหรียญทองคำ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ เหรียญเงิน และเหรียญทองคำ ๔๕ เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนจำกัด ๖๕ ชุด สามารถติดต่อได้ที่มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ สำนักงานอธิการบดี ชั้น ๒ ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐๒-๘๔๙-๖๓๕๙ , ๐๒-๘๔๙-๖๑๑๑

แสดงความยินดี พลตำรวจเอก นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ ได้รับรางวัลคนดีศรีแพทย์ทหาร ประจำปี ๒๕๖๒ จากสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย (ในพระบรมราชูปถัมภ์)

วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล แสดงความยินดี พลตำรวจเอก นพ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ เนื่องในโอกาสที่ได้รับรางวัลคนดีศรีแพทย์ทหาร ประจำปี ๒๕๖๒ จากสมาคมแพทย์ทหารแห่งประเทศไทย (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๕๕๕ ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ครั้งที่ ๓๘/๒๕๖๓ ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการสภามหาวิทยาลัย เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ ๓๘/๒๕๖๓ (Council Visit) ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี ​มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธัชวีร์ ลีละวัฒน์
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี
พร้อมด้วยผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยมีประเด็นดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา

  • การจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ ๑๒
  • พิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการผลิตผลงานวิจัย
  • การบริการวิชาการเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม เช่น หลักสูตรฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา กิจกรรมพัฒนาทักษะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา การผลักดันการเป็นชุมชนต้นแบบ และพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม
  • การมุ่งสู่การเป็น Eco & Smart Campus เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาและชุมชนอย่างต่อเนื่องในเชิงสร้างสรรค์ (พิพิธภัณฑ์ธรณีและพิพิธภัณฑ์พืชความหลากหลายทางชีวภาพ)

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

  • ผู้สำเร็จการศึกษารหัส ๖๓ เป็นต้นไป มีคุณสมบัติเป็น Global Citizen ตาม Mahidol HIDEF ร้อยละ ๑๐๐
  • ส่งเสริมและพัฒนาผลงานวิจัยสู่ระดับสากล โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ใน Q1 เทียบกับผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในแต่ละปี  ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ 
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศมากขึ้น : Kyoto University , เมียนมาร์, Russia และเพิ่มจำนวน Inbound และ Outbound
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานในประเทศ เช่น จัดตั้งศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ประจำภาคกลางตอนล่าง ๑, จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม และจัดตั้งศูนย์ GLOBE เป็นต้น
  • พัฒนา ECO & Smart Campus ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันโดยการใช้พลังงานทางเลือกและเน้นการนำเอา IoT, QR Code, RFID, AR/VR มาใช้